‘บ้านเขาวัง’ ชูแนวทางร่วมมือกับรุ่นใหม่ หัวใจการดูแลธรรมชาติอย่างยั่งยืน

การดูแลธรรมชาติที่สมบูรณ์ ไม่ใช่เพียงทำแค่ตอนนี้ แต่ต้องทำตลอดไป การสืบสานหรือการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นต้องมีแบบแผนที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นการดูและรักษาของคนในรุ่นเก่าจะไร้ประโยชน์ แน่นอนว่าที่ผ่านมามีหลายพื้นที่ที่มีแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมไว้อย่างดี มีการร่วมมือร่วมใจลงแรงอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่มีการสืบต่อ จึงทำให้งานเหล่านั้นไม่สามารถยั่งยืนได้ แต่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่ ชุมชนบ้านเขาวัง เนื่องจากแนวทางการดูแลธรรมชาติของชุมชนแห่งนี้การสืบทอดสวนสมรมจากรุ่นสู่รุ่น รุ่นใหม่ยังคงรักษาสวนดั้งเดิมที่มีความหลากหลายของพันธุกรรมพืช

การปลูกป่า รักษาน้ำ รักษาระบบนิเวศ มีแบบแผนอย่างชัดเจน และมีการทำงานร่วมกันในชุมชนสูงมาก ทั้งยังมีการส่งเสริมให้กลุ่มต่างๆ ทำงาน ทั้งด้านการแปรรูปและการตลาด ทำให้เกิดการขยายความเข้าใจกับคนในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย มาร่วมและรับรู้ ตัดสินใจในการทำงานของชุมชน จนทุกกลุ่มมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตอย่างกลมกลืน

ชุมชนบ้านเขาวัง ตั้งอยู่ที่ ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นชุมชนในหุบเขา ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่เกิดแหล่งน้ำสำคัญของลุ่มน้ำปากพนัง ก่อตั้งชุมชนเมื่อปี 2499 จากชาวมุสลิมกลุ่มแรกๆ ที่อพยพมาจากบ้านท่าชัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เดิมยึดอาชีพปลูกพืชหลากหลายแบบสวนสมรม การเดินทางเข้าออกชุมชนในยุคแรกๆ จะต้องเดินลอดถ้ำจากด้านนอกเข้าไปเท่านั้น ต่อมาชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นญาติมิตรของคนในชุมชน ซึ่งได้รับการชักชวนให้อพยพและเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกัน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงช่วยกันขุดเส้นทางเดินลัดเลาะตามความลาดชันของพื้นที่ และต่อมาชาวบ้านร่วมกันซื้อที่ดินเพื่อขยายเส้นทางบางช่วง ให้กว้างมากขึ้น

แม้ว่าในปัจจุบันชุมชนบ้านเขาวังนับเป็นแบบอย่างของการบริหารจัดการป่าในพื้นที่สูงของภาคใต้ และยังเป็นกรณีศึกษาการปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรเพื่อการอยู่รอดในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ แต่กว่าทุกอย่างจะสามารถพัฒนาและต่อยอดให้เกิดความสมบูรณ์ได้ขนาดนี้ ก็ผ่านเรื่องราวต่างๆ มามากมาย จากเมื่อประมาณ ปี 2530 ภายหลังที่มีการขยายพื้นที่การเกษตรด้วยประชากรเพิ่มขึ้น มีการโค่นไม้ใหญ่ และช่วงที่ยางพารามีราคาสูง หลายครอบครัวปรับสวนสมรมมาเป็นปลูกยางพารา และปลูกมะนาว กับทุเรียนหมอนทอง

เน้นการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตและใช้ยาฆ่าหญ้า ต่อมาประสบกับปัญหาน้ำแล้งในหน้าแล้ง คลองหลายสายแห้งขอด แต่ถึงหน้าฝนปริมาณน้ำฝนไหลแรง และดินไม่สามารถกักเก็บน้ำ เพราะต้นไม้ถูกตัดโค่นทำลายไปมาก ทำให้ชุมชนหันมาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ในปี 2548 เกิดการรวมตัวกันเป็น “กลุ่มอนุรักษ์บ้านเขาวัง” ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นๆ อายุ 40 ปีเป็นต้นไป

ทางกลุ่มเริ่มทำกิจกรรมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในชุมชน ได้แก่ การส่งเสริมระบบสวนสมรม คือปลูกไม้หลากหลายชนิดแซมในสวนยางพารา เป็นทางเลือกและทางรอดให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ยิ่งโดยเฉพาะภายหลังปัญหาราคายางตกต่ำ เพราะยังมีรายได้จากไม้ผลและพืชพันธุ์อื่นๆ ในสวน รวมถึงยังมีการคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผืนป่า ได้แก่ การปลูกป่าต้นน้ำ และรณรงค์ให้ช่วยกันรักษาต้นไม้บริเวณริมสองฝั่งสายห้วยและริมคลอง ริมฝาย ปลายไร่หัวสวน และบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์น้้าริมสองฝั่งคลองเขาวัง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น

นอกจากนี้ ชุมชนยังเป็นเอกภาพในด้านทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งไปสู่การใช้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจ ให้คนรู้จักตนเอง ตามแนวทางของศาสนาอิสลามและอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม มีกลยุทธและมีความเป็นตัวของตัวเองในแนวทางการพัฒนาและมีภาคีเชิงกลยุทธ คือ โรงเรียน ตชด.บ้านเขาวัง และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยถือว่าเป็นการส่งมอบไปสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างดีเยี่ยม โดยชุมชนมีการบริหารความร่วมมือค่อนข้างสูงของคนในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย เป็นแบบอย่างของชุมชนภายนอก องค์กรอื่นๆ กิจกรรมส่วนใหญ่เริ่มจากชุมชน จากนั้นมีหน่วยงานภายนอกมาร่วมต่อยอด สนับสนุน ขยายเครือข่ายภาคีที่เป็นกลยุทธ์และภาคีทั่วไป รวมทั้งยังให้เด็กๆ และเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากสวนสมรม ทำฝาย และให้เยาวชนเป็นผู้น้าทางในการเที่ยวในชุมชน การเชื่อมโยง บ้าน มัสยิด โรงเรียน จึงเป็นรูปแบบที่มองเห็นได้ คือ ความสามารถในการจัดการตนเองของชุมชนด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ทำให้ปัจจุบัน มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตของมุสลิมที่มี 95% ของชุมชน มีการบริหารจัดการการเงินโดยมีการกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ ในชุมชน รวมถึงยังได้รางวัลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและเป็นชุมชนต้นแบบสำหรับศึกษาดูงาน

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม อย่างไรก็ตาม พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นพื้นที่วิจัยของสถาบันการศึกษาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และส่วนราชการต่างๆ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมทั้งเขตภูเขาและลำธาร น้ำ การปลูกเสริมชายห้วย การสร้างฝาย ทำเส้นทางเดินในธรรมชาติ ปุ๋ยหมัก แปรรูปและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับของเครือข่าย ในการดูแลพันธุกรรมพืชพื้นบ้านและผืนดิน สายน้ำให้คงอยู่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เอ็กซ์เผิง’ยกทัพโชว์นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า-เทคโนโลยีสุดล้ำ! ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 7 เมษายน 2567 นี้มีหลายค่ายรถยนต์ขนทัพสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ

'พีระพันธุ์' สั่งการ ปตท. เร่งแก้ปัญหาปั๊มน้ำมัน จ่ายน้ำมันให้ผู้ใช้บริการไม่เต็มลิตร

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga” ระบุว่า เมื่อวานบ่ายๆ ผมได้รับรายงานเรื่องปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งจ่าย

กลุ่ม ปตท. จุดพลัง “สุดยอดนักขาย” และ “สุดยอดไอเดียการตลาด” มอบรางวัล Young Influencer Challenge Thailand 2023

ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา 10 มหาวิทยาลัย สร้างยอดขายสินค้าชุมชน ผ่านเว็บไซต์ ‘ชุมชนยิ้มได้’ รวมกว่า 540,000 บาท สร้างทักษะการตลาดให้ชุมชนเข้มแข็ง

ปตท. ได้รับยกย่อง “หุ้นยั่งยืน” ระดับสูงสุด AAA พร้อมคว้ารางวัลเกียรติยศด้านความยั่งยืนและนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2023

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2023 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เอ็นอาร์พีที โชว์ศักยภาพ เปิดโรงงาน Plant & Bean ผลิตแพลนท์เบส ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

“เอ็นอาร์พีที” (NRPT) บริษัทร่วมทุน อินโนบิก-เอ็นอาร์เอฟ ลุยตลาดโภชนาการเพื่อสุขภาพ เปิดโรงงาน แพลนท์ แอนด์ บีน (ประเทศไทย) ผลิตอาหารโปรตีนจากพืช