“ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” ปีที่ 5 รวมพลังคนรุ่นใหม่ สร้างสรรค์อัตลักษณ์ผ้าขาวม้าทอมือ ต่อยอดตลาดชุมชน สู่ตลาดสากล

“โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าขาวม้า ทำให้สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้อย่างยั่งยืน จากอดีตที่ชาวบ้านไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะไม่รู้วิธีการปรับเปลี่ยน หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของดีของชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ของตน ซึ่งในปีนี้ได้สร้างความมีส่วนร่วมและดึงคนรุ่นใหม่มาร่วมกันสร้างสรรค์ และพัฒนาสินค้าผ้าขาวม้าทอมือของชุมชน โดยผสานความร่วมมือกับ 6 สถาบันการศึกษา ในโครงการ eisa (Education Institute Support Activity) ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับชุมชนขับเคลื่อนโครงการ “Creative Young Designers” อย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือ ทั้งในเรื่องเทคนิคการทอผ้า การย้อมสีธรรมชาติ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและพัฒนาต่อยอดด้านการตลาด เป็นการนำความรู้และทักษะของคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

อีกทั้งยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่และชาวบ้าน โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่าน 4 มิติ คือ สร้างความตระหนักรู้และความสนใจในผ้าขาวม้าทอมือในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ สร้างนวัตกรรมการผลิตและแปรรูปสินค้าจากผ้าขาวม้าทอมือ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างชุมชนและผู้เชี่ยวชาญ และผลักดันการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนทั้งในด้านลิขสิทธิ์ลายผ้า เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร                      

น.ส.เขมอักสรณ์ ศุภกิจโยธิน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาออกแบบแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ “โครงการ Creative Young Designers เป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ เป็นการเติมเต็มความรู้เพิ่มมากขึ้น โจทย์ที่ได้รับคือการยกระดับผ้าขาวม้าทอมือ ได้ลงพื้นที่ เห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน เห็นการเย็บปักถักร้อยจริง ทำให้เราได้เข้าถึง เข้าใจกระบวนการผลิตผ้าขาวม้า รู้จักผ้าขาวม้ามากขึ้น และมีแรงบันดาลใจในการต่อยอดนำผ้าขาวม้ามาประยุกต์ออกแบบชิ้นงานในคอนเซ็ปต์ชุดปลาทอง เนื่องจากทางบ้านประกอบธุรกิจปลาทอง และในอำเภอมีการเลี้ยงปลาทองกันเยอะ จึงอยากนำเสนอเรื่องราวความสวยงามของปลาทอง ผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายครีเอทีฟแวร์ ซึ่งทั้งชุดของหนูเป็นแบบสม๊อค เป็นการนำผ้าขาวม้าผสมกับผ้าอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงชูความเป็นผ้าขาวม้า ให้มีความโดดเด่น ทั้งเรื่องของสีสัน ลวดลาย

คุณธนิดา คุณณัฐณิชา เจ้าของแบรนด์นุชบา อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ให้สัมภาษณ์ว่า “แบรนด์นุชบา  เริ่มก้าวสู่ตลาดเมื่อตอนได้รับเชิญให้ไปออกร้านที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม หลังจากนั้นมีการเชื่อมโยงกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับโจทย์ที่ท้าทายให้ตัดเสื้อผ้าขาวม้า 700 ตัวภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน คนในชุมชนมาวางแผนและทำงานร่วมกัน สุดท้ายใช้เวลาเพียง 45 วัน สามารถส่งงานได้ครบถ้วน การที่มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับบริษัทประชารัฐ และเอกชนใหญ่ๆ ทำให้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมการทำงาน รวมไปถึงคอนเนคชันทางธุรกิจที่ภาคเอกชนมี และหากเราส่งเสริมให้ผ้าขาวม้าอยู่กับชีวิตประจำวันของคนแค่ 1 ชิ้นต่อคน ดิฉันว่าสินค้าชุมชนอย่างผ้าขาวม้าก็มีโอกาสที่จะยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืนค่ะ”

ด้านคุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย เปิดเผยว่า “ความพิเศษของโครงการ Creative Young Designers คือความคิดสร้างสรรค์ของน้องๆ นักศึกษา ในการนำผ้าขาวม้าสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานต่างๆ ซึ่งน้องๆ มีความคิดสร้างสรรค์มีเทคนิคใหม่ๆ ที่จะมาทำงานกับวัตถุดิบของเราได้ เช่น การเอาลูกปัดมโนราห์มาปักอยู่บนผ้าขาวม้า หรือการใช้เทคนิคนาโนเทคโนโลยีทำให้ผ้าขาวม้ามีกลิ่น เช่น กลิ่นกาแฟ กลิ่นใบเตย เราก็จะเห็นว่าไม่มีข้อจำกัดการทำงานของน้องๆ Young Designer และยังสามารถขยายกรอบความคิดออกไปได้อีกมากมาย สำหรับกิจกรรมการประกวดลายผ้าขาวม้า นวอัตลักษณ์ ประจำปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทุกอย่างจึงต้องทำงานผ่านระบบ Online ทั้งหมด โดยหลักเกณฑ์การประกวดในปีนี้เน้นใช้สีธรรมชาติ เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากสารเคมี รวมไปถึงอยากให้ค้นหาสีธรรมชาติใหม่ๆ  โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 2 สาขาคือ สาขาอัตลักษณ์ประจำชุมชน และสาขาความคิดสร้างสรรค์  

ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ได้สร้างรายได้แก่ชุมชนแล้วกว่า 173 ล้านบาท ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ ที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนให้เกิดแพลตฟอร์มวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่สามารถช่วยเหลือและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ทำให้ชาวบ้านมีความสุข โดยที่บริษัทไม่ได้หวังผลกำไรจากชุมชน                      

“โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ได้ขับเคลื่อนการทำงานและผนึกกำลังร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ นำโดย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ภาคเอกชน นำโดย คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนให้ชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และสร้างความภาคภูมิใจในชุมชนผ่านการสร้างสรรค์ผลงานและการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของผ้าขาวม้าทอมือ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักถึงคุณค่า ในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างยั่งยืนสืบไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คิง เพาเวอร์ ส่งเสริมสินค้าไทยสู่เวทีโลก ครั้งแรก!! ที่ลายสุนัขจิ้งจอกและผ้าขาวม้าทอมือมาประชันกัน ภายใต้ชื่อ LCFC BAN KHAO TAO COLLECTION

การเปิดตัวครั้งแรกของ LCFC BAN KHAO TAO COLLECTION บนมินิรันเวย์ที่ถูกเนรมิตขึ้น ณ ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปรากฏตราสัญลักษณ์“สุนัขจิ้งจอก”ของสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์

ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจยั่งยืน สานต่อสู่คนรุ่นใหม่

“ผ้าขาวม้า” ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีมายาวนานกว่า 500 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นของลายผ้าตาหมากรุกหรือลายทาง ตัดกับการเล่นสีสันสดใสฉูดฉาด  เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้ในชีวิตประจำวัน และมีหลายชุมชนทั่วประเทศที่ยึดอาชีพทอผ้าขาวม้าสร้างรายได้ ผ้าขาวม้าแต่ละท้องถิ่น

ก้าวสู่ปีที่ 8 การดำเนินงานของเครือข่ายประชารัฐรักสามัคคี 76 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 2,141 ล้านบาท

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด “งานสัมมนาประจำปีคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก”

Win Win WAR Thailand เปิดรับสมัครซีซั่น 4! ตอกย้ำความสำเร็จ รายการประกวดแข่งขันธุรกิจแบ่งปัน

Win Win WAR Thailand รายการเรียลริตี้โชว์เฟ้นหาสุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดทำโดยศูนย์ C asean

พลังจิตอาสาสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกฝันชุมชนดีมีรอยยิ้ม@ปราจีนบุรี

มีคำกล่าวว่า “งานจิตอาสา” คือ งานแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข