Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP การรับรองหลักการในการนำใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปใช้ในทางปฏิบัติ การจัดทำฐานข้อมูลเอเปคเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการเดินทางเข้าเมือง และมาตรการสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเดินทาง การขยายกลุ่มผู้ใช้งานบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค แต่ผลสำเร็จที่สำคัญที่สุด แน่นอนว่าคือการที่ผู้นำจากทุกเขตเศรษฐกิจได้ร่วมรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bangkok goals on Bio – Circular – Green (BCG) Economy” ด้วยความเชื่อมั่นร่วมกันว่า เศรษฐกิจ BCG จะนำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ไปสู่การพัฒนาที่แข็งแกร่ง สมดุล ปลอดภัย และยั่งยืน

เป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่ไทยริเริ่มและผลักดันผ่านการเสนอให้มีการจัดทำเป้าหมายกรุงเทพฯ เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานของเอเปค ผ่านการใช้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาเร่งกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายกรุงเทพฯ ยังสามารถใช้เป็นแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 ได้อย่างครอบคลุม สมดุล และสร้างความเข้มแข็งให้ทุกเขตเศรษฐกิจพร้อมรับมือความท้าทายในอนาคต ทำให้มีการรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐานและระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม สร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยและภูมิภาคในระยะยาว และยังส่งเสริมความพยายามในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของโลกด้วย

เป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG มุ่งขับเคลื่อน 4 เป้าหมาย ได้แก่ 1. จัดการกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสภาพอากาศเลวร้าย และภัยพิบัติธรรมชาติ 2. ต่อยอดการค้าการลงทุนที่ยั่งยืนและครอบคลุม 3. ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมถึงยับยั้งและทวงคืนการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 4. บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการของเสียอย่างยั่งยืน

ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้จะถูกขับเคลื่อนผ่าน 4 แนวทาง แนวทางแรกคือการมีกฎในการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยและฉับไวต่อสถานการณ์ โดยการปฏิรูปโครงสร้าง การปฏิบัติตามกฎอย่างดี และความร่วมมือทางกฎระหว่างประเทศ แนวทางที่สอง คือการเสริมสร้างศักยภาพผ่านการขับเคลื่อนความร่วมมือในทางปฏิบัติและทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติ การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยสมัครใจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการส่งเสริมแรงงาน แนวทางที่สาม คือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดหาเงินทุน และการลงทุนอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และแนวทางสุดท้าย คือการมีเครือข่ายสำหรับความร่วมมือร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเงิน ภาควิชาการตลอดจนองค์การระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

เพื่อผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ ให้เป็นที่รับรู้ของทุกภาคส่วนในประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศได้จัดกิจกรรมเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum ขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากภาคเอกชน ภาคธุรกิจ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และเยาวชน ที่ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ภายในประเทศ

กิจกรรมเสวนาเริ่มต้นด้วยการสรุปผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย โดยเฉพาะการรับรองเอกสารเป้าหมายกรุงเทพฯ ตามด้วยการนำเสนอบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการนำเป้าหมายกรุงเทพฯ ไปต่อยอดสู่การปฏิบัติจริง รวมไปถึงการหารือเกี่ยวกับศักยภาพ โอกาส และความท้าทายของการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ โดยทุกภาคส่วนเน้นย้ำการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนระหว่างกันเพื่อการสร้างความตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายกรุงเทพฯ ในวงกว้าง โดยเห็นพ้องกันว่าการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความตระหนักรู้อย่างทั่วถึงจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาครัฐมีบทบาทหลักในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยการออกกฎระเบียบที่ชัดเจนและครอบคลุม การสร้างสิ่งจูงใจ อาทิ การปรับเพิ่มหรือลดภาษีในด้านที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารแนวทางการผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ ที่ชัดเจนให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่ภาคธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวทางตามเป้าหมายกรุงเทพฯ โดยตัวแทนภาคธุรกิจได้เสนอแนวทางการจัดทำธุรกิจที่มีความยั่งยืนต่าง ๆ อาทิการออกแบบธุรกิจหมุนเวียนที่จะไม่ทำให้เกิดขยะ หรือการสร้างแพลตฟอร์มอย่าง “Happy Grocers” ที่ให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์และเกษตรกรรายย่อยเข้าถึงตลาดของตนได้

ในส่วนของสื่อมวลชนและเยาวชนสามารถมีบทบาทนำในการสร้างความตระหนักรู้ โดยตัวแทนภาคเยาวชนอย่างคุณเอริกา เมษินทรีย์ เช็น ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม Youth in Charge ยืนยันจากการลงพื้นที่ว่า ได้มีการดำเนินแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ในระดับเยาวชนในภูมิภาคต่าง ๆ แล้ว ซึ่งจะนำมาสู่การผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ
แบบ
bottom up ได้ หากได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้แทนสื่อมวลชน แนะ 2 แนวทางว่าการสร้างความตระหนักรู้ให้เข้าถึงภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่การทำให้เรียบง่าย (simplification) และการทำให้วัดเชิงประมาณได้จริง (quantifiable) ซึ่งคุณทรงกลด บางยี่ขัน ผู้ก่อตั้ง The Cloud ก็เห็นไปในทางเดียวกันว่าการมีกรณีศึกษาที่เห็นภาพจะทำให้ประชาชนสนใจและเข้าถึงประเด็นนี้ได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เห็นได้ว่า หากทุกภาคส่วนร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน การผลักดันให้เป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นที่รับรู้และเกิดการขับเคลื่อนในระดับประเทศย่อมเกิดขึ้นได้

ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศนั้น ในขั้นตอนต่อไป กระทรวงฯ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการปฏิบัติตามเป้าหมายกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการใช้ประโยชน์จากกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และผลักดันการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามเป้าหมายกรุงเทพฯ อย่างบูรณาการระหว่างทุกภาคส่วน นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2566 ก็ได้แสดงความตั้งมั่นว่าจะนำเป้าหมายกรุงเทพฯ ไปสานต่อในทุกกลไกของการประชุมเอเปคอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า เป้าหมายกรุงเทพฯ จะมิได้เป็นผลสำเร็จระดับประเทศของไทยเท่านั้น แต่เป้าหมายกรุงเทพฯ สามารถนำไปต่อยอด
เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คำป่าหลายโมเดล' ตีแผ่ 'นโยบายฟอกเขียว' ขยายวงกว้างแย่งยึดที่ดินทำกินชาวบ้าน

ยกขบวนชี้หลุมพรางใหญ่ BCG นโยบายฟอกเขียว – คาร์บอนเครดิต นำไปสู่ปัญหาการแย่งยึดที่ดินในวงกว้าง ผลักประชาชนให้ตกสู่ภาวะความยากจนเรื้อรัง หนุนรัฐบาลให้อำนาจประชาชนในการจัดการทรัพยากร

เดอะมอลล์ กรุ๊ป หนุน กทม. ลดฝุ่นพิษ เพิ่มสถานีชาร์จรถEV

2 ก.พ.2567 - วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่าเดอะมอลล์  กรุ๊ป ในฐานะองค์กรแห่งความยั่งยืนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้แนวคิด ESG  ตอกย้ำการเป็นศูนย์การค้ารักษ์โลกขานรับนโยบายกรุงเทพมหานครในโครงการ“

‘สุริยะ’เล็งใช้เวทีเอเปคสหรัฐฯ 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’

‘สุริยะ’เตรียมใช้เวทีเอเปคสหรัฐอเมริกา 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’ ดึงต่างชาติร่วมลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ 1 ล้านล้านบาท คาดผลักดัน พรบ.พัฒนาพื้นที่พิเศษภาคใต้แล้วเสร็จในปี67 ก่อนเดินหน้าเปิดประมูล

ดีไซเนอร์ชื่อดังต่อยอด'บาติก'สู่แฟชั่นทันสมัยและยั่งยืน

ผ้าบาติกนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ เป็นมรดกวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้ เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นำศิลปินนักออกแบบเครื่องแต่งกายมากความสามารถจับคู่กับชุมชนผู้ผลิตผ้าบาติกส่งเสริมความสามารถ

'บิ๊กตู่' ปลื้ม 'กกพ.' ขานรับและต่อยอดแนวคิด BCG

นายกฯ ยินดี หน่วยงานขานรับแนวทาง BCG ที่รัฐบาลผลักดัน ล่าสุด กกพ. สนับสนุนใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสีเขียว แต่ยังรักษาความมั่นคงทางพลังงานในประเทศ