เบียนนาเล่ในเอเชียกับงานอาร์ตยิ่งใหญ่ BAB2022

ช่วงวีคเอนหรือวันหยุดที่ผ่านมา เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ  บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ Bangkok Art Biennale 2022   จัดกิจกรรมส่งท้ายเทศกาลเอาใจคนรักงานศิลปะ ที่ทำให้ได้อิ่มเอมกับเรื่องราวศิลปะและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจความสำคัญของงานเบียนนาเล่ที่เกิดขึ้นในไทยและต่างประเทศ  แถมยังต่อยอดยกระดับคุณภาพชีวิต ผ่านกิจกรรมสัมมนาวิชาการ BAB 2022 Symposium : BAB, What’s Next?   ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  ซึ่งบรรยากาศสุดคึกคัก จัดโดยมูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

หนึ่งในหัวข้อทอล์คที่ได้รับความสนใจ “ว่าด้วยเบียนนาเล่ในเอเชีย : สนทนาระหว่าง อภินันท์ โปษยานนท์ และ มามิ คาตาโอกะ “ โดยมี ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมสนทนาอย่างออกรสกับมามิ คาตาโอกะ ภัณฑารักษ์และผู้อำนวยการชื่อดังจากโมริ อาร์ต มิวเซียม  ฉายภาพบทบาทและความเชื่อมโยงสำคัญของเบียนนาเล่ รวมถึงนิทรรศการขนาดใหญ่ในเอเชีย โฟกัสไปที่ ไอจิ เบียนนาเล่ 2022 และบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022

อภินันท์ โปษยานนท์ และมามิ คาตาโอกะ

ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ กล่าวว่า ในประเทศไทยมีการพัฒนาของงานเบียนนาเล่เกิดขึ้น คือ บางกอกอาร์ต เบียนนาเล่ ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิดหลัก โกลาหล : สงบสุข  (CHAOS : CALM) โดยมีแก่น คือ การค้นพบความสงบสุขท่ามกลางความวุ่นวาย การแพร่ระบาดของโควิด สามารถนำไปสู่ความรู้และโอกาสต่าง ๆ  จนถึงวันนี้โควิดก็ยังไม่หมดไป ธีมเทศกาลเหมือนตรงข้ามกัน แต่จริงแล้วเป็นพื้นที่สีเทา  โลกของเราจะสร้างความสมดุลท่ามกลางความโกลาหลได้อย่างไร  เกิดเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยกว่า 200 ผลงาน ในงาน BAB 2022  จากศิลปิน 35 ประเทศ จำนวน 73 คน โดยเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.65 – 23 ก.พ.66  เป็นเบียนนาเล่ขนาดใหญ่อีกงานหนึ่งในเอเชีย ที่มีความสนุกและไม่น่าเบื่อ ได้ทำงานกับศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับลก

“ บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่เป็นเบียนนาเล่ใหม่จัดมา 3 ครั้ง ความแตกต่างอยู่ที่มีกรุงเทพมหานครเมืองประวัติศาสตร์เป็นฉากหลัง มีกลยุทธ์และสานพลังภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อสร้างประสบการณ์ชมงานศิลป์ที่น่าสนใจ โดยจัดแสดงศิลปะตามสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม 12 แห่ง กระจายทั่วกรุง ทั้งหอศิลป์ มิวเซียม วัด ห้าง นอกจากนี้ ผู้ชมสามารถดื่มด่ำงานศิลปะในงานแบบเวอร์ชวลผ่านโลกอินเตอร์เน็ตได้ด้วย งานได้รับความสนใจมากจากสื่อในไทยและสื่อต่างประเทศ เราปักหมุดงาน BAB ในเอเชียได้สำเร็จ “  ศ.ดร.อภินันท์ กล่าว

4 เดือนชองบางกอกอาร์ต เบียนนาเล่ นอกจากได้เสพผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศที่อยู่ในธีมโกลาหล : สงบสุข ยังเปิดพื้นที่ให้ศิลปินแสดงวิสัยทัศน์ต่างๆ ศ.ดร.ภินันท์ ระบุแม้มีเสียงวิจารณ์งาน BAB ไม่สามารถสะท้อนเรื่องการเมืองได้ แต่พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ทุกครั้งที่จัดเทศกาลศิลปินร่วมสะท้อนมุมมองความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและการเมือง ใช้ศิลปะแสดงออกเรื่องการเมืองในไทย และสงครามระดับโลก  เช่น วสันต์ สิทธิเขตต์ แสดงงานเสียดสีการเมืองไทยและสงครามที่หอศิลป์ฯ กรุงเทพ หรือกวิตา วัฒนะชยังกูร ศิลปินใช้ร่างกายตัวเองสร้างศิลปะการแสดงสื่อความคิดเกี่ยวกับการเมือง มลพิษ และอุดมการณ์การเมืองที่ต่างกันในไทย

งานBAB2022 จัดแสดงงานศิลป์12 พื้นที่สำคัญทั่วกรุงเทพ

“ BAB 2022 มีผู้ชมกว่า 6.7 แสนคน ได้ชมงานตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และอีกมากกว่า 1 ล้านคน ได้ชมในโลกเสมือนจริงและทางออนไลน์  บรรยากาศคึกคัก เพราะงานจัดแสดงตรงกับช่วงเวลาที่กรุงเทพฯ เปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว งาน BAB จัดช่วงเดียวกับสิงค์โปร์เบียนนาเล่  คนมาเอเชียสามารถวางแผนเยี่ยมชมงาน ทั้ง Art Fair และ งาน BAB ส่วนปลายปีนี้จะมีมหกรรมศิลปะนานาชาติ ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย ศิลปินไทยและเทศจัดแสดงงานตามอำเภอต่างๆ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ “ ศ.ดร.อภินันท์ ย้ำสิ่งที่เกิดขึ้นในไทย

มามิ คาตาโอกะ ภัณฑารักษ์และผู้อำนวยการโมริ อาร์ต มิวเซียม

ด้าน มามิ คาตาโอกะ ภัณฑารักษ์ และ ผอ. โมริ อาร์ต มิวเซียม  กล่าวว่า วงการศิลปะในเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาตลอด ในภูมิภาคนี้มีพิพิธภัณธ์ศิลปะ มีเบียนนาเล่ และเทศกาลศิลปะต่างๆ ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาศิลปะทำหน้าประเทศอื่นๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตลอดจนมีพิพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเกิดขึ้นใหมเมืองต่างๆ เปิดโอกาสให้คนเข้าถึงงานศิลปะร่วมสมัย ในกรุงเทพฯ มีพิพิธภัณฑ์ แต่ยังไม่มี Art Fair ขณะที่สิงค์โปร์มีครบทุกมิติ จะเห็นได้ว่า ในเอเชียมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะมากมาย

ความจำเป็นของเบียนนาเล่ในทัศนะของ ผอ. โมริ อาร์ต มิวเซียม  เอ่ยว่า เป็นการนำศิลปะเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตและในพื้นที่เมือง อย่าง ไอจิ เบียนนาเล่ 2022 (Aichi Triennale 2022 )  จัดภายใต้แนวคิด STILL ALIVE โดยมีการจัดแสดงงานศิลปะใน 3 เมืองในญี่ปุ่น โดยมีแก่นนำเสนออดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยจับคู่ศิลปินกับพื้นที่

“ เบียนนาเล่ส่วนมากพูดถึงเมืองระดับโลก แต่ยังมีเบียนนาเล่ในพื้นที่ห่างไกล อย่างงานไอจิ เบียนนาเล่  ทำให้เรารู้ภูมิทัศน์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมถึงการทำงานศิลปะเฉพาะพื้นที่ งานนี้ยังเกิดประโยชน์มิติการส่งเสริมแลกเปลี่ยนศิลปะ ประวัติศาสตร๋ และสถาปัตยกรรมของเมืองเหล่านั้นอีกด้วย  นอกจากไอจิอาร์ตเซ็นเตอร์(Aichi Arts Center )  ที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ “ มามิ กล่าว

สัมมนา”ว่าด้วยเบียนนาเล่ในเอเชีย : สนทนาระหว่าง อภินันท์ โปษยานนท์ และ มามิ คาตาโอกะ “

เสน่ห์ของไอจิ เบียนนาเล่ คือ การได้เสพผลงานศิลป์ในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่เอกชน หรือแม้แต่โรงพยาบาลร้าง พื้นที่ที่ดูเต็มไปด้วยความอึมครึ่ม ซึ่งผลงานทั้งหมดจากศิลปิน 32 ประเทศ อยู่ในธีมเดียวกัน  มามิ เล่าให้ฟังว่า มีการใช้พื้นที่เล่นไอซ์สเก็ต แสดงผลงานศิลปะ สร้างประสบการณ์ยลงานศิลป์ หรือผลงาน”เขาวงกต” สะท้อนชีวิตที่ยากลำบากช่วงโควิด และหาวิธีการผ่านไปให้ได้  หรือศูนย์วัฒนธรรมพื้นถิ่น พื้นที่ที่โดดเด่นด้านสิ่งทอ เนรมิตโรงทอเก่าโชว์ผลงาน แล้วยังมีศิลปิน Shiota Chiharu แสดงงานในโรงพยายาลเก่า มีหุ่นอนาโตมีเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน  หรืองานศิลปะเฉพาะพื้นที่อย่างกระท่อมขยะ

1 ใน 3 เมืองหลักแสดงงานไอจี เบียนนาเล่ เป็นเมืองแห่งเซรามิก เปิดพื้นที่ให้ศิลปินเนรมิตโรงปั้นเก่าสร้างผลงานชุด”Listening House” ด้านบนเป็นห้องฉายภาพยนต์ จัดแสดง ปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้มีชีวิตและจิตวิญญาณ หลังขบเบียนนาเล่ ศิลปินซื้อโรงงานนี้กลายเป็นสตูดิโอศิลปะแห่งใหม่ของเมือง หรือแม้แต่โรงเตี้ยมยุคซามูไรกลายเป็นพื้นที่แห่งความคลุมเครือ เปิดให้คนเข้าไปค้นหา ผลงานจะเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม แต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีความหมายต่อเบียนนาเล่ ไอจิเบียนนาเล่ก็เหมือนงาน BAB เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เห็น ได้เรียนรู้งานศิลปะในพื้นที่ต่างๆ แม้แต่ในวัดที่มีอัตลักษณ์

กิจกรรมสัมมนา BAB 2022 Symposium : BAB, What’s Next?

มามิ เชื่อว่า เบียนนาเล่ที่เกิดขึ้นในเมืองต่างๆ จะมีงานศิลป์ที่เหมาะสมกับชีวิตคนในเมืองและเป็นวิถีทางศิลปะในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งการแสดงศิลปะในพื้นที่กลางที่ไม่มีบริบท ตนมองว่า จะเปิดโอกาสให้คนชมงานศิลป์ตีความแตกต่างกันจากประสบการณ์ ไอเดียพื้นที่กลางทางศิลปะกำลังเป็นที่สนใจและถกเถียงของวงการศิลปะในภูมิภาค ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนางานเบียนนาเล่ต่อไป

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชีวิตนี้ชะตาลิขิต'บันทึก 7 รอบนักษัตร'สุเมธ ตันติเวชกุล'

ครั้งแรกของการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รวบรวมไว้ในหนังสือ “ชีวิตนี้ชะตาลิขิต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ”

ผลงาน 15 ศิลปินอาเซียนในเวนิส เบียนนาเล่

ศิลปินอาเซียนจะได้เข้าร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia ครั้งที่ 60 แสดงศักยภาพผ่านนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร และจะมีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่

'Young Designer' พัฒนาดินเผาบ้านเชียง

เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ร่วมออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ มาผลิตของที่ระลึกโดยไม่ลืมอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชน เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุนชนบ้านเชียงให้ทันสมัยและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์

กทม. Big Trees และ ไทยเบฟ ร่วมสร้างความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟู “ต้นจามจุรี” ณ “สวนเบญจกิติ” ปอดแห่งใหม่ใจกลางกรุง

หลังจากที่ได้มีการฟื้นฟูต้นจามจุรี ซึ่งเป็นต้นไม้ดั้งเดิมภายในใจกลางสวนสาธารณะใจกลางเมืองสวนเบญจกิติ เมื่อกลางปี 2566 ที่ผ่านมานั้น ทำให้ต้นจามจุรีที่มีปัญหาเรื่องความสุขภาพ

ไทยเบฟปรับทัพผู้บริหาร เสริมแกร่งองค์กรสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่มบริษัทไทยเบฟ”) ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงตามมติของคณะกรรมการบริษั