แกนนำพท.เผยมอบ 'พรหมินทร์' เป็นผู้ดู 'เอ็มโอยู' ลั่น ม.112 สร้างความแตกแยกในสังคม

'ชูศักดิ์' เผยมอบ 'นพ.พรหมินทร์' เป็นผู้ดู'เอ็มโอยู' และประสานกับพรรคก้าวไกล ชี้ควรมีแค่หลักการ ส่วนเรื่องนโยบายไปพูดคุยกันหลังจัดรัฐบาล ลั่น ม.112 สร้างความแตกแยกในสังคม ยันยังไม่ไปไกลถึงแบ่งกระทรวง

19 พ.ค.2566 - ที่พรรคเพื่อไทย นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงการทำเอ็มโอยูร่วมรัฐบาลว่า พรรคก้าวไกลได้ส่งตัวร่างให้พรรคร่วมได้พิจารณาแล้ว ในส่วนของพรรคเพื่อไทย เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นนโยบาย จึงได้มอบหมายให้ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ดูและประสานกับพรรคก้าวไกล และเมื่อพิจารณาเบื้องต้นมีความเห็นว่าหากจะนำนโยบายมาใส่ในเอ็มโอยู ก็ควรใส่ให้ครบทุกพรรค และส่วนตัวเห็นว่า ควรทำแค่เรื่องหลักการก่อน เช่น รับหลักการที่จะร่วมรัฐบาลด้วยกัน รับหลักการว่าเมื่อเป็นรัฐบาลแล้ว จะรวมนโยบายของแต่ละพรรคมาเป็นนโยบายรัฐบาล ก่อนแถลงต่อสภาฯ

"เรื่องการบริหารจัดแบ่งผู้บริหารกันอย่างไรตามความเป็นธรรม และจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เช่นนั้นจะมัวแต่ไปยุ่งว่าจะใส่นโยบายของใคร อย่างไร เรื่องนี้ควรไปพูดคุยกันหลังจัดรัฐบาล ก่อนแถลงต่อสภาดีกว่า และในเอ็มโอยู จะยังไม่มีเรื่องมาตรา 112 ว่า เข้าใจว่าจะพูดคุยเรื่องนี้ แต่สำหรับพรรคเพื่อไทย คิดว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่สร้างความแตกแยกในสังคมมาก จึงอยากให้ไปคิดดูให้ดี"

เมื่อถามว่าขณะนี้มีการพูดคุยเรื่องการแบ่งกระทรวงกันหรือยัง นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุยเรื่องการแบ่งกระทรวง ข่าวที่ออกมาก็เป็นแค่ข่าว คนในพรรคยังไม่ได้มีการพูดกันเรื่องนี้ และไม่อยากให้ปรากฎภาพว่ามีการแบ่งเค้กกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยสงวนท่าที ไม่ทำอะไรให้ล้ำหน้าเกินไป จนให้มีความรู้สึกว่าเราแบ่งขนมกัน ซึ่งพรรคระมัดระวังมากในเรื่องนี้ และไม่ขอแสดงความคิดเห็นของกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะคุมกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เพราะไม่ใช่พรรคนำ

ขณะที่ นพ.พรหมินทร์ ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดเอ็มโอยู พูดเพียงสั้นๆว่า “กำลังดูอยู่”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไพบูลย์' เย้ยรัฐบาลไม่มีทางแก้รธน.ทั้งฉบับได้ทัน คาดอยู่ไม่ถึง 1 ปี

นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค พปชร. กล่าวถึงกรณีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะตีความเป็นกฎหมายการเงิน

ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์

'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69

นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน

'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้