“นิกร” ยัน พ.ร.บ.ประชามติ ไม่ใช่กม.การเงิน ชี้ หากเป็นกฎหมายการเงิน ต้องเป็นตั้งแต่ปี 64 แล้ว เหตุเงิน 3 พันล้านที่ใช้ทำประชามติ เป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว หากทักท้วงตอนนี้ถือว่าสายเกินไป หวั่น หากให้ปธ.กมธ.ทุกคณะร่วมตัดสินกับประธานสภาฯ อาจผิดรธน.ได้
25 พ.ย.2567 - ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน ว่า ตนเชื่อว่าร่างกฎหมายประชามติไม่เป็นกฎหมายการเงิน เพราะการสงสัยว่าเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทั้ง 4 ฉบับที่เสนอเข้ามาตนตรวจสอบดูแล้ว ประธานสภาฯลงนามชี้ไปแล้วว่า ไม่เป็นกฎหมายการเงิน ซึ่งหลักการในการพิจารณา ตามข้อบังคับการประชุมสภาฯหากสมมติว่ามีใครสงสัยหรือประธานมองเห็นเองว่าเป็นกฎหมายการเงิน ก็จะชี้ว่าเป็นกฎหมายการเงิน และเมื่อประธานชี้ว่าเป็นกฎหมายการเงิน ผู้ที่ยื่นอาจจะมีข้อสงสัยว่าไม่เป็นกฎหมายการเงิน เมื่อไม่เป็น ตามกลไกของสภาฯ หากตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องเชิญประธานกรรมาธิการทุกคณะมาตัดสิน ร่วมกับประธานสภาฯ แต่ขั้นตอนตรงนั้นมันเลยมาแล้ว และในระหว่างที่เราพิจารณาอาจจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จากไม่เป็นพ.ร.บ.การเงิน ก็กลายเป็นพ.ร.บ.การเงินขึ้นมา ก่อนจะโหวตวาระ 3 มีข้อสงสัยก็สามารถทำได้อีกครั้งหนึ่ง แต่สภาฯโหวตวาระ 3 ไปแล้ว ซึ่งไม่มีข้อสงสัย จึงถือว่าเลยจุดนั้นมาแล้ว และเป็นร่างกฎหมายที่พิจารณาเห็นชอบกันหมดแล้ว โดยไม่มีใครชี้ว่าเป็นพ.ร.บ.การเงิน
“จริงๆ แล้วมันไม่เป็นพ.ร.บ.การเงิน ตอนที่เราทำกฎหมายนี้ เราก็รู้อยู่แล้วว่ามันต้องใช้เงินจำนวน 3 พันกว่าล้านบาท ซึ่งถือว่ารู้อยู่ก่อนแล้ว แล้วมาแก้ว่าจะเอาสัดส่วนเกณฑ์ออกเสียงประชามติ 2 ชั้นหรือ 1 ชั้น เท่านั้นเอง และถ้าเป็นพ.ร.บ.การเงิน ก็เป็นตั้งแต่ปี 64 แล้ว ไม่ใช่มาเป็นพ.ร.บ.การเงินตอนนี้ เพราะเราแก้เพียงบางมาตรา และเมื่อเสร็จสิ้นชั้นสภาฯไปแล้ว”นายนิกร กล่าว
นายนิกร กล่าวต่อว่า ตอนที่เสนอไปวุฒิสภา ประธานสภาฯยืนยันไปยังประธานวุฒิสภาว่าไม่ใช่พ.ร.บ.การเงิน ซึ่งประธานวุฒิสภาก็นำเข้าพิจารณาในชั้นนั้น อาจจะมีข้อสงสัยได้ แต่ก็ไม่มีข้อสงสัยเพราะไม่ใช่พ.ร.บ.การเงิน เมื่อถึงตอนนี้ถือว่าเลยเวลาข้อสงสัยมาแล้ว ซึ่งในความเห็นส่วนตัว ถ้าเราไปเชิญประธานกรรมาธิการทุกคณะมาร่วมกันพิจารณาแล้วใช้เสียงข้างมาก อาจจะผิดรัฐธรรมนูญได้ เพราะไม่เป็นพ.ร.บ.การเงิน หรือแม้จะเป็นก็เลยเวลาที่จะทักท้วงไป ซึ่งถือว่าสายไปแล้ว
นายนิกร กล่าวว่า ตนมีความเป็นห่วง เพราะอยากให้พ.ร.บ.ประชามติ ออกมาเร็ว จริงๆแล้วไม่อยากให้ชะลอแม้แต่วันเดียว ถ้าเป็นแบบนี้ให้ไปตามเส้นทางดีกว่า เพราะถ้ามีปัญหาก็จะบวกอีก 180 วัน และไม่ใช่แค่นั้น เมื่อ 180 วันแล้ว ขั้นตอนการเสนอทูลเกล้าฯ ขั้นตอนการทำกฎหมายลูกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีก ต่อจากนั้นต้องใช้เวลาประมาณ 100 วัน ในการทำประชามติครั้งแรก ตนจึงประเมินว่าน่าจะทำประชามติต้นเดือนม.ค. ปี 69 เท่ากับเราหายไป 1 ปี ซึ่งตนไม่ได้ชอบแบบนี้ ถ้าแต่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายแม้ไม่ชอบตนก็ต้องยอมรับสภาพ
เมื่อถามว่า แสดงว่ามีโอกาสที่จะไปไกลกว่านี้ใช่หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตนเชื่อว่าการทำประชามติครั้งแรกอย่างไรก็ผ่านเพราะใช้รูปแบบอย่างง่ายของสส. ก็จะไปลงประชามติปลายปี 68 หรือต้นปี 69 แต่น่าจะเป็นต้นปี 69 มากกว่า ไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อพักร่างไว้ 180 วัน บวกกับทำประชามติอีก 3 เดือน รวมเป็น 9 เดือน ฉะนั้น รวมช่วงรอยต่อและการเสนอทูลเกล้าฯก็ใช้เวลาพอสมควร ก็เชื่อว่าใช้เวลา 1 ปี พอดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดชื่อ 18 กมธ.วิสามัญ แก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา 'สว.พันธุ์ใหม่' ได้ 1 ที่
จากที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 415 เสียง ไม่เห็นด้วย 185 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับการประชุม ฉบับที่ ... พ.ศ. ... จากนั้นตั้ง กมธ.วิสามัญ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็นสส.13 คน สว. 5 คน
รัฐสภารับหลักการแก้ข้อบังคับฯ เปิดทางคนนอกร่วมแก้รธน. 'หมออ๋อง' คัมแบ็ค
ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน
รัฐสภา ถกแก้ข้อบังคับ 'สว.-รทสช.' รุมค้านเปิดทาง 'คนนอก' ร่วมวงกมธ.แก้รธน.
ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บั
'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น
'สว.พิสิษฐ์' เตรียมจัดเวทีชำแหละร่างแก้รธน. หั่นเสียงวุฒิสภา ขัดปชต.-การถ่วงดุล
นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256
'วราวุธ' ย้ำแก้รธน. ไม่แตะหมวด 1,2 ตั้ง ส.ส.ร. ต้องสะท้อนถึงสังคมปัจจุบัน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคยังยืนยันจุดเดิมคือ การได้มาซึ่ง ส.ส.ร. โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ที่