เช็กลิสต์ 8 พรรค นั่งประธานกรรมาธิการ 35 คณะ

28 ส.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ระหว่างที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯเตรียมนำรายชื่อว่าที่รัฐมนตรี ส่งไปให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นลำดับต่อไป ขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองต่างๆ ที่น่าสนใจ คือ การแบ่งสัดส่วนประธานกรรมาธิการสามัญ 35 คณะ ในสภาผู้แทนราษฎร เพราะต้องทำงานคู่ขนานกันกับฝ่ายบริหาร โดยล่าสุด เบื้องต้นได้มีการจัดทำเอกสาร คำนวนอัตราส่วน ตำแหน่งประธานกรรมาธิการฯที่แต่ละพรรคจะได้ โดยมีหลักเกณฑ์การคำนวน จากจำนวนคณะกรรมาธิการทั้งหมด(35ตำแหน่ง) คูณจำนวนสส.แต่ละพรรคการเมือง จากนั้นหารด้วยจำนวนสส.ทั้งหมด(499คน)

ทั้งนี้ พรรคที่มีสส.ถึงเกณฑ์ได้รับตำแหน่งประธานกรรมาธิการ รวมทั้งสิ้นมี 8 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคก้าวไกล 10 คณะ พรรคเพื่อไทย 10 คณะ พรรคภูมิใจไทย 5 คณะ พรรคพลังประชารัฐ 3 คณะ พรรครวมไทยสร้างชาติ 3 คณะ พรรคประชาธิปัตย์ 2 คณะ พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คณะ และพรรคประชาชาติ 1 คณะ

มีรายงานอีกว่า การจัดสรรประธานคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ พรรคฝ่ายรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน ต้องนำมาหารือเพื่อตกลงกันอีกครั้งว่า พรรคใดจะได้ประธานกรรมาธิการคณะใดบ้าง โดยเฉพาะสส. จากพรรคร่วมรัฐบาลคาดว่าจะมีผู้แสดงเจตจำนง ขอเข้าไปเป็นประธานกรรมาธิการเป็นจำนวนมาก ให้ตรงกับรัฐมนตรีของพรรค ที่ได้ทำงานในกระทรวงๆนั้น เพื่อให้เกิดการทำงานสอดประสานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพื่อไทย ดักคอฝ่ายค้านอภิปราย 152 ต้องสร้างสรรค์

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงข้อกังวลของวิปฝ่ายค้านว่ารัฐบาลจะล้มการอภิปรายตาม

แผนล่มสภาฯ! 'ก้าวไกล' แห้ว ฝ่ายรัฐบาลผนึก ผ่านรายงานเอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ครบวงจรฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการนับองค์ประชุมแบบขานชื่อ เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณารายงานผลการศึกษาเรื่องการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex

รทสช. เตรียม 18 ขุนพล ถกงบ 67 ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เปิดเผยว่า พรรครวมไทยชาติได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 20-22 มีนาคมนี้

มติเอกฉันท์ สภาฯรับหลักการร่าง พรบ.คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้ง 5 ฉบับ

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.…คณะรัฐมนตรี(ครม.) เป็นผู้เสนอ และร่างพ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย