มาแล้ว! กรมอุตุฯ อัปเดตล่าสุด คาดหมายลักษณะอากาศ 'ฤดูหนาว 2566' มาช้ากว่าปกติ 1 เดือน

4 พ.ย.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยปี 2566 โดยอัปเดตข้อมูลล่าสุดที่ได้ปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 2 ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ข้อมูลครั้งแรกเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน คาดหมายลักษณะอากาศฤดูหนาว 2566 ว่าจะเริ่มต้นประมาณปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 2 สัปดาห์ และจนถึงขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยายังไม่ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ

การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย เดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ฤดูหนาวของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า บริเวณประเทศไทยตอนบน จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 1 เดือนและคาดว่าฤดูหนาวจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567

อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 21-22 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียส ) และจะมีอากาศหนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 20.8 องศาเซลเซียส )

สำหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 9-10 องศาเซลเซียส ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณกรุงเทพมหานคร 17-18 องศาเซลเซียส และปริมณฑล 15-16 องศาเซลเซียส

ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 ถึงปลายเดือนมกราคม 2567

สำหรับยอดดอยและยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

ส่วนภาคใต้ จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางช่วงส่วนมากตอนบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่

สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม อาจจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ หรือเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่น 3-4 เมตร

หมายเหตุ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวล่าช้ากว่าปกติ เนื่องจากสภาวะอากาศบริเวณภูมิภาคเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิกมีความผันแปรจากปกติ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมมีกำลังอ่อน และแผ่ลงมาปกคลุมไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณภูมิลดลงเล็กน้อย และมีอากาศเย็นบางพื้นที่ ประกอบกับมีฝนตกเป็นระยะๆ ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประกาศการเริ่มต้นฤดูหนาวของประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่สามารถประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงเดือนตุลาคมได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับ 8 เตือน 22 จังหวัดรับมือพายุฤดูร้อน

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ลงนามในประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง

พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ช่วงนี้เย็นวูบวาบ ตั้งแต่ 23 มี.ค. กลับมาร้อนจัด

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 17 - 31 มี.ค. 68

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 6 เตือนอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก 17-20 มี.ค.

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง

อุตุฯ เตือนพายุฝนฟ้าคะนอง 28 จังหวัด ทั่วไทยอุณหภูมิลด 1-5 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้ว

อดทนอีกนิด! พยากรณ์อากาศ 24 ชม.ข้างหน้า ทั่วปท.อากาศร้อน จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้ว

ประกาศเตือนฉบับที่ 5 ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ ฉบับที่ 5 เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง