13 ก.ย.2567 - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 45 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง คลื่นลมแรง และระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงวันที่ 13 – 18 ก.ย. 67 โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ สภาพน้ำ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทีมปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (182/2567) ลงวันที่ 12 กันยายน 2567 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 13 - 17 กันยายน 2567 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนกลาง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 14 - 17 กันยายน 2567 ทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร นอกจากนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้มีประกาศฉบับที่ 14/2567 ลงวันที่ 12 กันยายน 2567 แจ้งว่า ได้ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พบว่า มีปริมาณฝนตกหนักสะสมในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้ในช่วงวันที่ 12 - 16 กันยายน 2567 ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่แจ้งเตือนสถานการณ์ระหว่างวันที่ 13 - 18 กันยายน 2567 แยกเป็น
พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง
ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.สบเมย) เชียงใหม่ (อ.จอมทอง อ.ฮอด) เชียงราย (อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง) พะเยา (อ.ปง อ.เชียงคำ อ.จุน อ.ภูกามยาว) น่าน (อ.ทุ่งช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ปัว อ.บ่อเกลือ อ.เชียงกลาง) ตาก (อ.ท่าสองยาง อ.แม่สอด อ.พบพระ อ.อุ้มผาง) กำแพงเพชร (อ.ปางศิลาทอง อ.คลองลาน อ.โกสัมพีนคร อ.พรานกระต่าย) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ อ.นครไทย อ.วัดโบสถ์ อ.วังทอง อ.เนินมะปราง) พิจิตร (อ.โพธิ์ประทับช้าง) เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ อ.หนองไผ่ อ.หล่มเก่า อ.หล่มสัก) และนครสวรรค์ (อ.แม่วงก์ อ.แม่เปิน)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ เลย (อ.นาแห้ว อ.เชียงคาน อ.ด่านซ้าย อ.ปากชม) หนองคาย (อ.เมืองฯ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.โพนพิสัย อ.โพธิ์ตาก) บึงกาฬ (อ.เมืองฯ อ.ปากคาด อ.บุ่งคล้า อ.โซ่พิสัย อ.เซกา อ.บึงโขงหลง) หนองบัวลำภู (อ.สุวรรณคูหา) อุดรธานี (อ.นายูง อ.น้ำโสม) สกลนคร (อ.เมืองฯ อ.ภูพาน อ.สว่างแดนดิน) นครพนม (อ.เมืองฯ อ.ศรีสงคราม) ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ อ.คอนสาร อ.หนองบัวแดง) ขอนแก่น (อ.เมืองฯ อ.ภูผาม่าน อ.ชุมแพ อ.บ้านไผ่) มหาสารคาม (อ.เมืองฯ) กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ อ.ยางตลาด อ.ร่องคำ) มุกดาหาร (อ.เมืองฯ อ.หว้านใหญ่ อ.ดอนตาล) ร้อยเอ็ด (อ.เมืองฯ อ.เสลภูมิ) ยโสธร (อ.เมืองฯ อ.ป่าติ้ว อ.คำเขื่อนแก้ว) อำนาจเจริญ (อ.เมืองฯ อ.ชานุมาน) นครราชสีมา (อ.ปากช่อง อ.วังน้ำเขียว) บุรีรัมย์ (อ.เมืองฯ) สุรินทร์ (อ.เมืองฯ อ.ปราสาท) ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ อ.ยางชุมน้อย) และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ อ.วารินชำราบ อ.ตาลสุม อ.น้ำยืน อ.พิบูลมังสาหาร อ.น้ำขุ่น)
ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก (อ.เมืองฯ อ.ปากพลี) ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี อ.นาดี) สระแก้ว (อ.เมืองฯ) ฉะเชิงเทรา (อ.สนามชัยเขต อ.ท่าตะเกียบ) ชลบุรี (อ.ศรีราชา อ.บางละมุง) ระยอง (อ.เมืองฯ อ.แกลง อ.บ้านค่าย) จันทบุรี (อ.เมืองฯ อ.เขาคิชฌกูฏ อ.สอยดาว อ.โป่งน้ำร้อน อ.มะขาม อ.ขลุง) และตราด (ทุกอำเภอ)
ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (ทุกอำเภอ) พังงา (อ.เมืองฯ อ.คุระบุรี อ.ตะกั่วป่า อ.กะปง อ.ท้ายเหมือง) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อ.เมืองฯ อ.เหนือคลอง อ.อ่าวลึก อ.คลองท่อม อ.ปลายพระยา อ.เกาะลันตา) ตรัง (อ.เมืองฯ อ.ปะเหลียน อ.นาโยง อ.กันตัง อ.สิเกา อ.ห้วยยอด อ.วังวิเศษ) และสตูล (อ.เมืองฯ อ.ควนโดน อ.ควนกาหลง อ.ทุ่งหว้า อ.มะนัง)
พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์คลื่นลมแรง
ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี (อ.เมืองฯ อ.ศรีราชา อ.เกาะสีชัง อ.บางละมุง อ.สัตหีบ) ระยอง (อ.เมืองฯ อ.บ้านฉาง อ.แกลง) จันทบุรี (อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ อ.แหลมสิงห์ อ.ขลุง) และตราด (อ.เมืองฯ อ.แหลมงอบ อ.คลองใหญ่ อ.เกาะช้าง อ.เกาะกูด)
ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (อ.เมืองฯ อ.สุขสำราญ อ.กะเปอร์) พังงา (อ.เกาะยาว อ.ตะกั่วทุ่ง อ.ท้ายเหมือง อ.ตะกั่วป่า อ.คุระบุรี) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อ.เมืองฯ อ.คลองท่อม อ.เกาะลันตา อ.เหนือคลอง อ.อ่าวลึก) ตรัง (อ.กันตัง อ.สิเกา อ.ปะเหลียน อ.หาดสำราญ) และสตูล (อ.เมืองฯ อ.ละงู อ.ท่าแพ อ.ทุ่งหว้า)
พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น
ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย (อ.เชียงแสน เชียงของ)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ เลย (อ.เชียงคาน) หนองคาย (อ.เมืองฯ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.โพนพิสัย อ.รัตนวาปี อ.เฝ้าไร่) บึงกาฬ (อ.เมืองฯ อ.ปากคาด อ.บุ่งคล้า อ.บึงโขงหลง อ.เซกา) นครพนม (อ.เมืองฯ อ.บ้านแพง อ.ท่าอุเทน อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร อ.ศรีสงคราม) มุกดาหาร (อ.เมืองฯ อ.หว้านใหญ่ อ.ดอนตาล) อำนาจเจริญ (อ.ชานุมาน) และอุบลราชธานี (อ.นาตาล)
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 45 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยภัย เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนักหรือบริเวณฝนสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ สภาพน้ำ และเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบ ออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณเตือนประชาชนที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ตลอดจนแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ให้จังหวัดประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบแจ้งเตือนไปยังชาวเรือ ผู้บังคับเรือ และผู้ประกอบการเดินเรือโดยสารให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหากสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้น ให้จังหวัดพิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ให้จังหวัดติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนให้ประชาชนที่สัญจรทางน้ำและผู้ประกอบกิจกรรมบริเวณแม่น้ำโขง รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขงทราบล่วงหน้า
ทั้งนี้ หากประเมินสถานการณ์แล้ว คาดว่าสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงหรือขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ให้จังหวัดเตรียมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ เครื่องจักรกลสาธารณภัย และวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมออกช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีที่เกิดสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และแจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศ สถานการณ์น้ำ และข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ในระยะนี้ขอให้ติดตามสภาพอากาศ ประกาศการแจ้งเตือนภัย สถานการณ์น้ำในพื้นที่ และข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศปช. พร้อมรับมือฝนถล่มภาคใต้ เร่งขุดลอกวัชพืช ระดมทีมช่างช่วยฟื้นฟูบ้านเรือน
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า วันที่ 12 – 16 ธ.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น
รมว.พม.เล็งซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติเชียงรายต่อเนื่อง
'รมว.พม.' เผยเตรียมซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติเชียงรายต่อเนื่อง จ่อลงพื้นที่ เชียงใหม่-ลำปาง ดัน ศบปภ.ภาคเหนือ ช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยากลุ่มเปราะบาง หลัง คกก.บ้านมั่นคงฯ เห็นชอบกรอบงบโครงการแล้ว
DITTO มอบเงินช่วยเหลือน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายชัยทัด กุลโชควณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
12 ธ.ค. เปิดเดินรถเส้นทางรถไฟสายใต้ กทม.-สุไหงโกลก หลังน้ำท่วมหนัก
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.)
แม่ทัพทัพภาคที่ 4 มอบถุงยังชีพให้ชาวปัตตานีที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ที่ปรึกษา
ยิปซัมตราช้าง ชวนฟื้นฟูบ้าน หลังน้ำท่วมอย่างมืออาชีพ
เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วม หลังน้ำท่วมที่ผ่านพ้นไป สิ่งที่เจ้าของบ้านต้องรับมือไม่เพียงแต่การทำความสะอาดเท่านั้น แต่ภารกิจสำคัญคือการฟื้นฟูบ้านให้กลับมาน่าอยู่และแข็งแรงกว่าเดิม