'สุริยะใส' เคาะสมองนักการเมือง แก้รธน.หักกระแสสังคม นำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก

สุริยะใส” เตือนสติ  นักการเมืองเฮโลโละกรอบจริยธรรม ระวังแก้รัฐธรรมนูญ หักกระแสสังคม นำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยกโดยไม่จำเป็น   ชี้เพื่อไทยหัดเรียนรู้บทเรียน ขายหุ้นชินคอร์ป – นิรโทษกรรมสุดซอย

22 ก.ย.2567 – ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ

ระวังแก้รัฐธรรมนูญ

หักกระแสสังคม!

ต้องใช้เวลาสร้างฉันทามติ

การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ในประเด็นการตีกรอบจริยธรรม ประเด็นอำนาจองค์กรอิสระประเด็นยุบพรรคและประเด็นอื่นๆนั้น

แม้เป็นสิทธิของพรรคการเมืองและสส.ที่สามารถดำเนินการได้ก็ตาม แต่หากพิจารณาความชอบธรรมแล้ว ความชอบธรรมยังต่ำอยู่

เพราะอย่าลืมว่าประเด็นที่เสนอแก้ไขกันเป็นประเด็นที่มีความล่อแหลมสูง แม้จะได้ฉันทานุมัติในสภา แต่ถ้าปราศจากฉันทานุมัติจากนอกสภาหรือจากประชาชน ก็รังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกโดยไม่จำเป็น

รัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่ถึงเดือนมีปัญหาให้แก้ไขมากมาย ยังไม่มีผลงานเชิงประจักษ์ ควรเร่งสร้าง ความเชื่อมั่นความไว้วางใจจากประชาชนมากกว่านี้ถึงจะพอมีโอกาส

พรรคเพื่อไทยควรซึมซับบทเรียนอย่างน้อยสองเหตุการณ์ คือกรณีการขายหุ้นชินคอร์เปอเรชั่นและหลีกหนีการอภิปรายของสภาเมื่อปี 2549 และการออกกฏหมายนิรโทษกรรมสุดซอยเมื่อปี 2556 ก็เป็นบทเรียนของเสียงข้างมากที่ขาดความชอบ

วิกฤติการเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาไม่ควรโยนบาปให้รัฐธรรมนูญฝ่ายเดียว เพราะวิกฤติหลักยังเป็นเรื่องของพฤติกรรมบรรดานักการเมืองบางส่วน ที่เล่นการเมืองเพื่อตัวเองเพื่อพวกพ้องและการทุจริตคอร์รัปชันที่ไม่ลดลงเลย

ความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นตัวอย่างชัดเจนที่นักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เข้ามาฉีกทิ้งความหวังของประชาชน จากนั้นมากระแสเกลียดชังนักการเมืองจำพวกนักเลือกตั้งก็สูงขึ้นเรื่อยๆ การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อปราบโกงและเอาคนดีเข้าสู่อำนาจจึงปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2560

ฉะนั้นหากจะตีโต้หรือหักกับกระแสนี้ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดถ้านักการเมืองยังไม่ปรับพฤติกรรม

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรณีนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ถูกลงโทษด้วยกลไกรัฐธรรมนูญเหล่านี้ก็เป็นปัญหาความผิดที่ก่อขึ้นจากตัวนักการเมืองด้วยส่วนหนึ่ง ยังนึกไม่ออกว่ามีกรณีไหนที่นักการเมืองตกเป็นเหยื่อ เป็นแพะหรือถูกรังแกจากกลไกรัฐธรรมนูญแต่เพียงด้านเดียว

แม้จะวางเงื่อนไขว่าจะไม่มีผลย้อนหลังกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ให้หลักประกันกับประชาชนว่าพฤติกรรมนักการเมืองจะปรับปฏิรูปตัวเองมากขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' ขอเวลาไม่เกิน 3 เดือน ตรวจสอบคำร้องถอดประธาน ป.ป.ช.

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีที่พรรคประชาชนยื่นถอดถอนนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานคณะกรรมการป้องกั

'วิสุทธิ์' เผย 'ภูมิใจไทย' ไม่ขัดข้อง ญัตติด่วนยื่นศาลตีความแก้ รธน.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 17 มี.ค.

ผู้นำฝ่ายค้าน ห่วงภาพลักษณ์ไทย ชี้ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนจะพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจ

"เท้ง" ห่วงภาพลักษณ์ไทย หลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรจำกัดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบาล ชี้หากยึดหลักสิทธิมนุษยชน ประเทศไหนก็ว่าไทยไม่ได้ เตือนอย่าใช้วิธีเจรจาหลังบ้าน หลัง “ทักษิณ” แนะคุยทูต EU

พรรคส้ม ซัด 'ทักษิณ' ทำตัวเองถูกซักฟอก แซะ 'เพื่อไทย' ตัดสินใจเองไม่ได้ต้องรอคำสั่ง

ณัฐพงษ์-หัวหน้าปชน.โต้ 'ทักษิณ' ปมบรรจุชื่อในญัตติซักฟอก ไม่ได้เกิดจากใครเลย แต่เป็นเพราะเจ้าตัวชี้นำรัฐบาลเอง แซะ 'เพื่อไทย' ยังต้องรอคำสั่งผู้มีอำนาจตัวจริง เผยถ้าเปลี่ยนสูตรเวลาอภิปราย 23+7 พร้อมเจรจา แต่ปัดตอบเปลี่ยนชื่อในญัตติเป็นอะไร บอกใบ้ 'ลองไปดูข่าวท่านประธานสภา'

แม่ยกพรรคส้ม ยก 'ระบอบนายใหญ่เหนือหัว' โต้เดือด 'ทักษิณ' พาดพิง 'ธนาธร'

'เจี๊ยบ อมรัตน์' โต้เดือด 'ทักษิณ' พาดพิง 'ธนาธร' เป็นนั่งร้าน-ชักใยพรรคประชาชน ลั่นเราเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ไม่เรียกใครว่านาย และไม่ยอมรับการเมือง 'ระบอบนายใหญ่เหนือหัว'

ถอดรหัส 'ทักษิณ' โชว์เขี้ยว! พลิกเกม-ขย้ำกลับ 'พรรคส้ม' เปิดแผลนั่งร้าน 'ธนาธร'

ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน โดยเฉพาะ “พรรคประชาชน” ไม่เพียงแค่เป็น “ศึกซักฟอก” ครั้งแรกของรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร แต่ยังถูกออกแบบมาให้กระทบชิ่งถึง “ทักษิณ ชินวัตร” โดยตรง