10 พ.ย. 2567 นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ระบุว่า ขณะนี้ประเทศถูกนักโทษคดีทุจริตท้าทายกระบวนการยุติธรรม สั่งการ แทรกแซงและเอื้อประโยชน์ให้องค์กรตรวจสอบละเว้นทำหน้าที่ตรงไปตรงมา ซึ่งคนไทยจะยอมและปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้หรือไม่
อีกทั้งทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงส่วน MOU 44 ไม่มีผลอะไรกับการเจรจาเขตแดนทับซ้อน แต่ตนเห็นว่า ถ้าไม่อะไร แล้วจะแบ่งประโยชน์ 50:50 ได้อย่างไร ดังนั้น จึงเป็นการพูดไม่ครบ เพราะไม่พูดกรณีสัมปทานพลังงานให้เชฟรอนและดินแดนทับซ้อนทางทะเล
นายจตุพร กล่าวว่า ในยุคของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกฯ ยกพลังงานให้เชฟรอน ยังไม่มีผลประโยชน์ดินแดน ทั้งที่มีการขีดเส้นเขตแดนและทับซ้อนกันแล้ว ดังนั้น ในกรณีรัฐบาลอุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร รีบเจรจา MOU 44 ย่อมทำให้สุ่มเสี่ยงต่อดินแดนไทย ซึ่งไม่ใช่เรื่องเขตแดนเกาะกูด แต่เป็นอาณาเขตทางทะเลอื่นๆ ส่วนเชฟรอนก็ได้ประโยชน์แหล่งพลังงานใต้ทะเลก่อน โดยแลกกับไทยได้แค่ค่าภาคหลวงเท่านั้น
"ถ้าจะเอากันให้ได้ ก็สู้กันสักตั้งย่อมไม่มีปัญหา ทำไมไม่ตกลงเรื่องดินแดนทับซ้อนให้้เรียบร้อยก่อน แล้วรื้อสัญญาเชฟรอนกันใหม่เพื่อทำให้เกิดผลประโยชน์ชาติ คนไทยจะได้ไว้วางใจ แต่คุณกลับรีบเจรจาเพื่อประโยชน์เชฟรอนอย่านั้นเหรอ วันนี้เราจะให้ผู้ต้องคดีทุจริตมากำหนดอนาคตประเทศชาติ บ้านเมือง และประเทศไทยเดินมาถึงจุดเฮงซวยได้กันขนาดนี้เหรอ”
ส่วนกรณีชั้น 14 รพ.ตำรวจ นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาส่งทักษิณ มาอยู่ รพ.ตำรวจ กลายเป็นพยาบาลเข้าเวรในเรือนจำเป็นคนตัดสินใจ โดยอ้างโทรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตาม มีความสงสัยกันว่า โรคที่ทักษิณ เป็นฉับพลันตรงกับใบรับรองแพทย์ก่อนหน้านี้หรือไม่ และเรือนจำได้บันทึกภาพอาการป่วยวิกฤตไว้หรือไม่ ดังนั้น แพทย์ รพ.ตำรวจและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควรทำหน้าที่ยึดมั่นในความจริง เพราะความจริงเท่านั้นที่จะเยียวยาทุกอย่าง
รวมทั้งกล่าวถึงการตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ว่า หลังจาก อนุ ปปช.รวบรวมหลักฐานแล้วจะตั้งกรรมการไต่สวนชั้น 14 ขึ้นในวันที่ 14 พ.ย. นี้ แต่ที่น่ากังวลคือ บางคนมีบทบาทสำคัญและถูกสงสัยการทำหน้าที่เพื่อแลกกับผลประโยชน์อื่นใด เพราะเส้นทางของคนนี้เกี่ยวข้องกับการฝากลูกทำงาน ปตท. จึงเตือนให้ทำหน้าที่สอดคล้องกับตำแหน่งได้รับโปรดเกล้าฯ ด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้ากรรมการไต่สวนเสร็จแล้วต้องส่ง ปปช.ชุดใหญ่พิจารณา ถ้าไม่มีคนบรรจุระเบียบวาระแล้ว ปปช.ก็ประชุมไม่ได้ จึงมีการสงสัยเส้นทางของใครบางคนไปฝากลูกเข้า ปตท. จึงเตือนสติว่า อย่าได้ทำ เพราะลูกไปทำงานคือหลักฐานสำคัญจะโยงถึงการทำงานกับการเอื้อประโยชน์อื่นใดด้วย
นายจตุพร กล่าวถึงการพูดติดตลกของทักษิณ กรณีชั้น 14 ว่า ใครอยากตลกก็ตลกไปถึงชั้น 14 15 16 17 ถึงที่สุดแล้ว แต่ละองค์กรต้องคิดให้ดีในเรื่องข้อที่ 1 ตามคำร้อง 6 ข้อของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร โดยเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าคนอยู่ชั้น 14 ไม่ได้รับโทษจริง เพราะ รพ.ตำรวจ ไม่ได้เป็นสถานที่คุมขังตามอำนาจของ รมว.ยุติธรรม ดังนั้น ทุกอย่างทางคดีต้องกลับเข้าสู่สถานะเดิม คือ เป็นไปตามการลดโทษจาก 8 ปีให้เหลือ 1 ปี
อีกทั้งกล่าวว่า อะไรไม่ถูกต้องกับพระบรมราชโองการลดโทษเหลือ 1 ปี และนักโทษยังบอกว่า เคารพในขบวนการยุติธรรม ยอมรับทำผิดจริง แต่ไม่ถูกขังสักวัน ดังนั้น การไม่รับโทษก็ทำลายกระบวนการยุติธรรมย่อยยับ นอกจากนี้ถ้าพิสูตรได้ว่า ทักษิณ ไม่ได้ป่วยจริงแล้ว รายชื่อทั้ง 10 คนมีสิทธิเข้าเยี่ยมต้องถูกข้อหาร่วมกันปกปิด
“สำหรับองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ไม่ทำหน้าที่และยังรับผลประโยชน์อื่นใดจนสร้างความเสียหายต่อการปราบปรามการทุจริต ดังนั้น ปปช.ที่เหลืออยู่ 6 คน ถ้าไม่ทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริต คุณควรออกไป”
พร้อมกล่าวว่า ส่วนใครไปฝากลูกเข้า ปตท. เมื่อยังเกี่ยวข่้องกับผลประโยชน์อื่นใดแล้วจะทำหน้าที่ตรวจสอบได้อย่างไร ดังนั้น ถ้าคณะกรรมการไต่สวนเสร็จ ไม่นำเรื่องเข้า ปปช.ชุดใหญ่โดยมีผลประโยชน์อื่นใดมาเกี่ยวข้องนั้น จะกระทบกับบ้านเมืองในหลายเรื่อง เพราะการปล่อยให้คนทำผิดไปทำผิดต่อสร้างความเสียหายกับชาติบ้านเมืองนั้น ต้องมีส่วนรับผิดชอบกันเต็มๆ
"ใครจะตลกก็ตาม แต่บ้านเมืองจะตลกแดกแบบนี้ไม่ได้ เพราะเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของชาติ และหลักทำนองคลองธรรม จึงเตือนเพื่อให้สติ อีกทั้งเชื่อว่าคนที่เป็นอัยการสูงสุดจะยึดสถาบันหลักของชาติทั้งสามไว้ กษัตริย์ ชาติ และประชาชน และดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม”
นายจตุพร กล่าวว่า องค์กรมีหน้าที่รักษาความยุติธรรมไม่ปฏิบัติหน้าแล้ว จะมีกระบวนการยุติธรรมไว้ทำไม โดยคำว่าผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูกต้องอยู่ตามกระบวนการยุติธรรม และที่สำคัญเรื่องกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมต้องให้ความสำคัญเป็นหลัก
วันนี้ในแต่ละส่วนสังคมเกิดความประหลาดขึ้น แม้แต่นักข่าวยังถูกคนไม่พอใจสั่งสำนักข่าวให้พ้นหน้าที่ดำเนินรายการและไม่ให้นำเทปบันทึกสัมภาษณ์ตนออกอากาศด้วย ซึ่งยังมีการสั่งการเช่นนี้รุกคืบไปอีกหลายสำนักข่าว ดังนั้น ปัญหาจึงไม่รู้กันจริงๆ หรือว่า อะไรผิด ถูก ชั่ว ดี แต่ต้องการแลกกับผลประโยชน์งบประมาณในรูปแบบต่างๆ เท่านั้นหรือ? บ้านเมืองย่อมหาหลักความถูกต้องไม่ได้
“ผมไม่ต้องการให้ประขาชนมีความยากลำบากลงถนนกันอีกรอบหนึ่ง จึงหวังให้คนมีหน้าที่ได้ทำหน้าที่ให้ตรงไปตรงมาก็รักษาความเป็นชาติ บ้านเมืองได้ ถ้าทำหน้าที่ไม่ได้ ก็จะทำหน้าที่ทำไม”
นายจตุพร กล่าวว่า วันนี้สื่อถูกรุกคืบ องค์กรยุติธรรมก็ถูกรุก และรุกแทรกแซงอีกหลายแห่ง ดังนั้นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองแต่ละส่วนต้องช่วยกันคิดอ่านว่า การที่ประเทศเดินมาถึงจุดนี้ เพราะยอมรับในสิ่งที่ผิดมาตลอด และบ้านเมืองจะอยู่แบบนี้ไม่ได้ แล้วควรมีทางออกเช่นใด
อย่างไรก็ตาม ทักษิณพูดโชว์ตลกนั้น ดูเหมือนคนในประเทศถูกทำให้โง่ ต้องเชื่อว่า ผู้นำพรรคร่วมเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้าไปกินมาม่า และเจ้าของบ้านก็เลี้ยงมาม่า ถามว่าคนไทยเชื่อหรือไม่ แล้วพูดเพื่ออะไร เพื่อตบหน้าคนไทยฉาดใหญ่หรือ? ดังนั้น เมื่อถูกไต่สวนในศาล รธน. ขอให้สู้ว่า ไปกินมาม่า แล้วศาลจะเชื่อหรือไม่ อีกอย่างไม่แน่ใจพรรคร่วมรัฐบาลที่เหลือจะพร้อมถูกยุบไปด้วยกันหรือไม่
"คนไทยถูกตบหน้า สังคมถูกท้าทาย เขาไม่แยแส คนไทยถูกทำให้เป็นคนโง่ เป็นตัวตลก บอกว่ากินมาม่าก็ต้องมาม่า มีอะไรหรือเปล่า ต้องเชื่ออย่างเดียวเท่านั้น ขณะที่องค์กรตรวจสอบก็ถูกสงสัยการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา กระบวนการยุติธรรมย่อยยับ บ้านเมืองจะอยู่กันแบบนี้เหรอ" นายจตุพร กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ไตรศุลี” พร้อมสู้ “ทักษิณ ”ช่วยหาเสียงนายกฯ อบจ.แข่งกับพ่อตัวเอง ขอให้รอดูความสามัคคีชาวศรีสะเกษเอาชนะพท.
วันที่3 ธค. ที่ทำเนียบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมืใจไทย กล่าวถึงกรณีการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งนายก อบจ. ศรีสะเกษ จะเป็นการชนระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ ว่าพรรคภูมิใจไทยไม่มีนโยบายส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งท้องถิ่นแนะนำพรรค
'นิพิฏฐ์' โพสต์ 'หน้าที่รัฐ' ความต่างระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "หน้าที่รัฐ" ระบุว่า การถือกำเนิดของรัฐ มาจากหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ “
ป.ป.ช.แจงยังไม่ชี้มูลปม 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์ชั้น 14 เผยอยู่ในชั้นตรวจสอบเบื้องต้น
กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อออนไลน์ว่า ฝ่ายตรวจสอบไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยมีนายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน
'อนุทิน' เมิน 'หมอเชิดชัย' เสนอยุบสภา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีน.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์
ดร.เสรี ถามพรรคการเมืองฝ่าย ‘อนุรักษ์นิยม’ จะรวมกันกี่โมง?
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า ส้มเลือ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น