นายกฯ อิ๊งค์ปลื้ม 'ต้มยำกุ้ง' ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมโลก

นายกฯ ปลื้ม 'ต้มยำกุ้ง' ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรม ชี้เป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย สร้างความมั่นคงด้านอาหาร พร้อมชวนชิม

04 ธ.ค.2567 - เมื่อเวลา 02.00 น. วันที่ 4 ธ.ค. (ตามเวลาประเทศไทย) ที่กรุงอะซุนซิออง สาธารณรัฐปารากวัย ได้มีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) โดยที่ประชุมได้ประกาศขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้ง เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity)

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีผ่านระบบวีดิทัศน์ ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติในโอกาสพิเศษนี้ ในนามของรัฐบาลไทยและคนไทยทั้งประเทศ ขอขอบคุณสาธารณรัฐปารากวัยสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในครั้งนี้ รวมถึงคณะกรรมการฯ ที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ต้มยำกุ้งเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยต้มยำกุ้งของไทย เป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ มีต้นกำเนิดจากภูมิปัญญาและวิถีปฏิบัติอันประณีตของชุมชนริมน้ำในภาคกลางของไทย สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และร้านอาหาร จนกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ต้มยำกุ้งจึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างดีถึงมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย โดยอาหารไทยจานนี้ยังสะท้อนถึงความเข้าใจในการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องร่วมกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งอีกด้วย ทั้งการใช้สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำจืด การอนุรักษ์น้ำ ดิน และอากาศ การคัดเลือกและเตรียมวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน และท้ายสุดคือศิลปะการปรุงอาหารไทยที่ผสมผสานรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการอย่างลงตัว

นายกฯ กล่าวต่อไปว่า ความรู้และแนวปฏิบัติเหล่านี้ไม่เพียงช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพและความอยู่ดีกินดีของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความสมานฉันท์ในสังคมอีกด้วย ประเทศไทยจึงมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage – ICH) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติอย่างเต็มที่ และพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศเพื่อรักษา (safeguard) ICH ในฐานะทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนในทั้ง 3 ด้าน - เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นายกฯ ยังกล่าวเชิญให้ลิ้มลองต้มยำกุ้ง ที่ร้านอาหารไทยทั่วโลก หรือค้นหาสูตรอาหารออนไลน์เพื่อทดลองทำต้มยำกุ้งเองที่บ้าน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางอันแสนอร่อยและเต็มไปด้วยรสชาตินี้ด้วยกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขึ้น 'รถไฟฟ้า-รถเมล์' ฟรี 7 วัน! รัฐบาลล้วงงบกลางแก้ฝุ่น PM2.5

นายกฯ สั่งคมนาคม ให้ประชาชนขึ้น 'รถไฟฟ้า - รถขสมก.' ฟรี 7 วัน 25-31 ม.ค. แก้ปัญหา PM 2.5 เตรียมชงครม.ใช้งบกลางชดเชย 140 ล้านบาท พร้อมตั้ง 8 จุตรวจจับควันดำ

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'อำนาจนอกระบบของทักษิณ'

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “อำนาจนอกระบบของทักษิณ" มีเนื้อหา ดังนี้

บี้ 'อิ๊งค์' ปกป้อง 'เอกนัฏ' ล่าไอ้โม่งลงขันเปลี่ยนตัว รมว.อุตสาหกรรม

24 ม.ค. 2568 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ปกป้อง เอกนัฏ" โดยระบุว่า ติดตามข่าวการตอบกระทู้ถามสด ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการปิดโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี จ.อุดรธานี ถึงการเลือกปฏิบัติในการรับซื้ออ้อยเผาของ นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย รู้สึกตกใจกับคำตอบของนายเอกนัฏ ตอนหนึ่งในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่ามีการลงขันจำนวนเงิน 200- 300 ล้านบาท เพื่อย้ายนายเอกนัฎ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการเมืองไทย ที่มีกลุ่มทุนอิทธิพลเหนือการเมือง ใช้เงินลงขันด้วยเงินหลักร้อยล้านบาท เพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ขอให้กำลังใจนายเอกนัฎ ในการต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง และควรจะเปิดเผยชื่อตัวการลงทุนย้ายนายเอกนัฎออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี หากไม่สามารถเปิดเผยชื่อต่อสังคมได้ ก็ควรนำเรื่องนี้ไปเรียนให้กับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจในการปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ทราบว่ามีกลุ่มบุคคลหนึ่ง ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือการเมือง สามารถใช้เงินทุนโยกย้ายเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ หากนางสาวแพทองธาร ยังเอาไม่อยู่ เพราะไม่มีอำนาจที่แท้จริง ก็ต้องนำเรื่องนี้ให้ถึงมือของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูงสุด เป็นเจ้าของรัฐบาลตัวจริง และสามารถสั่งการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีได้แต่เพียงผู้เดียว ถ้าหากเรื่องนี้เป็นความจริง นางสาวแพทองธาร จะต้องปกป้องนายเอกนัฎ เพราะการดำเนินนโยบายห้ามไม่ให้โรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยเผา เป็นมาตรการป้องกันมลพิษ PM 2.5 ตามนโยบายของนางสาวแพทองธาร แต่ถ้าเมื่อนายเอกนัฎได้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของนางสาวแพทองธารแล้ว แต่ไปสะดุดต่อ นางสาวแพทองธารในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จะต้องรับผิดชอบ และสืบหาตัวไอ้โม่งผู้อยู่เบื้องหลังการลงขัน เพื่อเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีอุตสาหกรรมให้ได้ ขอให้สังคมเรียกร้อง กดดันให้รัฐบาล เปิดโปงขบวนการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีออกมาให้สังคมรับรู้ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลกลุ่มทุนใดๆ ทั้งสิ้น.

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย หนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-ยูเรเชีย

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย สนับสนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย พร้อมเพิ่มพูนการค้า ดึงศักยภาพ ศก. ร่วมกัน

'เท้ง' ลั่น 'อุ๊งอิ๊ง' ไปหาโอกาสใหม่ใน ตปท.ได้แต่ควรแก้ปัญหาในบ้านก่อน

'เท้ง' ชี้ 'นายกฯ' ไปหาโอกาสใหม่ต่างประเทศทำได้ แต่ควรแก้ปัญหาฝุ่นในไทยก่อน เชื่อ ปชช.เรียกร้อง-รอคอยอยู่ เผย 'ปชน.' เตรียมเสนอ มาตรการที่เป็นรูปธรรม หวังรัฐบาลรับไปดำเนินการ

นายกฯ ยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย

นายกฯ แสดงความยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ สร้างความเท่าเทียมให้ทุกเพศ เคารพในความแตกต่างทั้งเพศสภาพ เพศวิถี เชื้อชาติ ศาสนา