
ระอุแล้ว! สว.สีน้ำเงิน ท้ารบ ‘ทักษิณ’ ยื่นญัตติอภิปรายนักโทษเทวดา ชั้น 14 รอกระชวก ‘ทวี รมว.ยุติธรรม’ กลางห้องประชุม 4 มี.ค. ตะลึงระดับบิ๊กเนม ‘ปธ.กมธ.’ ลงชื่อเพียบ พี่ชาย ‘มท.2’ เอาด้วย ศึกนี้จบไม่ง่าย
28 ก.พ. 2568 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภาวันอังคารที่ 4 มีนาคมนี้ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้บรรจุญัตติเรื่อง ขอเสนอญัตติให้วุฒิสภาพิจารณาปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายที่มี พลตำรวจตรี ฉัตรวรรษ แสงเพชร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ซึ่งเป็นแกนนำ สว.สีน้ำเงิน เป็นผู้เสนอ
โดยญัตติดังกล่าวระบุว่า กระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมา ยังขาดประสิทธิภาพ มีความล่าช้าในการดำเนินคดี อีกทั้งยังมีการแทรกแซงและครอบงำจากฝ่ายการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะการดำเนินคดีพิเศษ ของกระทรวงยุติธรรมโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีความผิดอาญา ที่มีความซับซ้อนหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นคดีทุจริตคอรัปชั่น คดีฟอกเงิน การกระทำความผิดข้ามชาติ โดยในการดำเนินคดีพิเศษที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึง กระบวนการยุติธรรมที่ยังขาดประสิทธิภาพ มีการดำเนินคดีที่ล่าช้า รวมทั้งไม่สามารถป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดรวมถึงปกป้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และประชาชนที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของสังคม ว่ากระบวนการยุติธรรมไม่อาจเป็นที่พึ่งได้ เช่นการดำเนินคดีกับนายทุนชาวจีนสีเทา ในข้อหายาเสพติด ฟอกเงิน และการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมาเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
”นอกจากนี้ ในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมยังมีปัญหา ในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ อย่างเช่นการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังในการได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเทียมกัน ซึ่งที่ผ่านมา มีการดำเนินการที่มีการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส ไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยผู้ต้องขังบางคนได้รับสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาล ที่พิเศษกว่าผู้ต้องขังคนอื่นๆ จึงสมควรที่วุฒิสภาจะได้มีการอภิปรายระดมความคิดเห็น เพื่อพิจารณาปัญหากระบวนการยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมายและเสนอไปยังรัฐบาล เพื่อพิจารณาดำเนินการ” เนื้อหาตอนท้ายที่ระบุไว้ในญัตติ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในญัตติไม่ได้มีการระบุชื่อผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลที่พิเศษกว่าผู้ต้องขังคนอื่นว่าหมายถึงบุคคลใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าคือนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บิดาของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยญัตติดังกล่าวซึ่งเป็นญัตติเพื่อขอให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมวุฒิสภาเพื่อมาตอบญัตติ มี สว.ลงชื่อครบตามจำนวนคือสิบคน
ที่น่าสนใจพบว่า สว. ที่ร่วมลงชื่อในญัตติดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็น สว.สีน้ำเงิน ที่เป็นกลุ่มสีน้ำเงินแท้ เช่น นายพรเพิ่ม ทองศรี ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน วุฒิสภา พี่ชายของนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย หรือ มท.2 จากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นญาติห่างๆ กับนายเนวิน ชิดชอบ , พลเอกสวัสดิ์ ทัศนา ประธานคณะกรรมาธิการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา , นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา, นายเอนก วีระพจนานันท์, นายวิวัฒน์ รุ่งแก้ว, นายอภิชา เศรษฐวราธร, นายชวภณ วัธนเวคิน เป็นต้น
ทั้งนี้ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาสั่งบรรจุญัตติแล้ว จะถอนชื่อหรือถอนญัตติได้ต่อเมื่อที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบ
อนึ่งก่อนหน้านี้ นางอังคณา นีละไพจิตร สว. ได้เคยเสนอญัตติที่ขอให้วุฒิสภาพิจารณาหาแนวทางปฏิบัติในการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังในการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน ที่ก็คือญัตติกรณีนายทักษิณ ชินวัตร พักรักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจเช่นกัน แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงตอนประชุมวุฒิสภา วันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา นางอังคณาได้ขอถอนญัตติดังกล่าว กลางห้องประชุมวุฒิสภา โดยให้เหตุผลว่ามีผู้ทักท้วงว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงต้องตรวจสอบว่าข้อกฎหมายจำกัดอำนาจของสว.ในการอภิปรายหรือไม่ จึงขอเวลาหาข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้าน
จนทำให้ สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ ที่ก่อนหน้านี้อยู่กลุ่มเดียวกับนางอังคณา เช่น ดร.นันทนา นันทวโรภาส สว. ลุกขึ้นอภิปรายในที่ประชุมวุฒิสภา ไม่เห็นด้วยกับการถอนญัตติดังกล่าวที่มีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของวุฒิสภาแล้ว และต่อมา ดร.นันทนา ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อและการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า การอ้างว่าข้อมูลไม่พร้อม ทั้งที่การที่ สว.จะเสนอญัตติได้ ต้องเรียบเรียงข้อมูล หลักการและเหตุผลทั้งหมดในญัตติ เพื่อให้ประธานวุฒิสภาเห็นความสำคัญ จึงพิจารณาบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ญัตติที่ไม่มีข้อมูลพอ ย่อมไม่ได้รับการบรรจุ และญัตติดังกล่าว ได้แจ้งบรรจุมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 กพ. เพื่อให้ สว.เตรียมหาข้อมูลมาอภิปราย แต่ข่าวลือเรื่องการล็อบบี้ให้ถอนญัตติก็มีมาตั้งแต่วันที่ประชุมร่วมรัฐสภาแล้ว แต่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นจริง สุดท้ายก็มีการขอถอนญัตติในที่ประชุมจริงๆวิญญูชนย่อมพิจารณาได้ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ การถอนญัตตินี้ คือการปัดตกการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ต้องขังทั้งหมด เบื้องหลังคืออะไร วิญญูชนควรไปสืบหากันเอง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กางตัวเลขเขี่ยภท. พท.ถูกรุมกินโต๊ะ?
กระแสข่าวปรับ ครม.เขี่ยพรรคภูมิใจไทยออกจากรัฐบาล และเตรียมดึงพรรคพลังประชารัฐมาเสียบแทน หรือสั่งสอน โดยริบโควตากระทรวงมหาดไทย
สว.ชิ่งตอบตั้ง กมธ.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯ ต่อรองการเมือง!
'แล' ปัดตอบ กมธ.เอนเตอร์เทนเมนต์ ตั้งเพื่อต่อรองการเมือง มั่นใจหากยึดหลักวิชาการ-เป็นกลาง จะเลี่ยงครรหาการเมืองเบื้องหลังได้ ชี้ควรยก ร่างกม.กาสิโน-พนันออนไลน์ พิจารณารายละเอียด
ได้เวลาปรับ 'ทักษิณ' ไปเลี้ยงหลาน หลังกลับประเทศ มีแต่ปัญหาตามมา
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ได้เวลาปรับทักษิณไปเลี้ยงหลาน
ระทึก! 'ทวี' เผยคดีฟอกเงิน 'ฮั้วเลือกสว.' คืบหน้ามาก คาด DSI สรุปสำนวนจะส่งฟ้อง จับกุม หรือไม่สิ้นเดือนนี้
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าคดีการฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ในส่วนของคดีฟอกเงิน ที่อ
งงในงง! 'ภูมิธรรม' ยันสัมพันธ์ 'พท.-ภท.' เหมือนเดิม แต่ภูมิใจไทยต้องไปถามกันเองในพรรค
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกระแสปรับค
สมัคร คตง.2 เก้าอี้คึกอดีตคนข่าว ‘สมโภชน์ โตรักษา’ ร่วมแจม
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (แทนตำแหน่งที่ว่าง) จำนวน 2 คน