โรงเรียนสาธิต มธ. เคลื่อนไหวแล้ว หลังสังคมข้องใจ 'บิดเบือนประวัติศาสตร์'

โรงเรียนสาธิต มธ.6 ก.พ.2565 - จากกรณีมีการตั้งข้อสังเกตว่า หลักสูตรของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (โรงเรียนสาธิต มธ.) อาจมีการบิดเบือนประวัติศาสตร์และสถาบัน และต่อมาเมื่อ 4 ก.พ.ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์ว่า กำลังให้หน่วยงานเกี่ยวข้องไปดูเรื่องนี้อยู่นั้น

ล่าสุดวันนี้เฟซบุ๊กเพจ "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อสาธารณะ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ตามที่มีกระแสข่าวในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสน คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ลดทอนคุณค่าและความมุ่งมั่นอันแท้จริง โรงเรียนฯ จึงขอชี้แจงและทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับการเคารพความหลากหลายทางความคิดและมุมมอง โดยโรงเรียนฯ ร่วมทำงานกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาอาชีพ เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ช่วยเตรียมความพร้อมเยาวชนสำหรับการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่พร้อมใช้วิจารณญาณในการเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทัน

2.. โรงเรียน ฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนบนฐานความรู้ที่ทันสมัย ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น และมีความเหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน นอกจากวิชาสาระหลัก โรงเรียนฯ ยังได้จัดให้มีการสอนในวิชาต่าง ๆ เพิ่มเติม อาทิ วิชาอยู่รอดปลอดภัย วิชาว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด วิชาวัยรุ่นศาสตร์ วิชารู้ทันการเงิน วิชาเสพศิลป์และกลิ่นเสียง วิชาผู้ประกอบการ วิชารู้เท่าทันสื่อ วิชาวิถีศรัทธา (ครอบคลุมเนื้อหาทุกศาสนา) เป็นต้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

3.โรงเรียนฯ มีเป้าหมายในการบ่มพาะเยาวชนให้เป็นผู้มีจิตสำนึกพลเมืองที่เข้มแข็ง เป็นพลเมืองโลกที่ยึดโยงกับบริบทของสังคมไทย มีทักษะและสมรรถนะแห่งอนาคต รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการกำกับตนเอง เข้าอกเข้าใจผู้อื่น และสามารถทำงานเป็นทีม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณลักษณะดังกล่าว

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โรงเรียนฯตระหนักดีว่า การบุกเบิกสร้างการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลา มีข้อจำกัดต่างๆ มากมายในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจ โรงเรียนฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจตนารมณ์ในการสร้งและพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนฯ จะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนให้สามารถขยายผลได้ต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็

มธ.จัดงาน 'วันสัญญา ธรรมศักดิ์' เปิดวงเสวนายกเคส ชั้น 14 สะเทือนกระบวนการยุติธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัด “งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2567” มอบรางวัลนักศึกษากฎหมาย-เรียนดี สืบสานปณิธานปูชนียบุคคลด้านนิติศาสตร์ พร้อมจัดวงเสวนา “กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนบังคับคดีอาญา” ยกเคสตัวอย่าง “คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ” บนขั้นตอนที่ผิดเพี้ยน สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบยุติธรรม-กฎหมายไทย

“รมช.สุรศักดิ์” ร่วมถก การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ฯ

เมื่อวันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2567 ที่

“รมช.สุรศักดิ์” เปิดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

"รมช.สุรศักดิ์" ลงพื้นที่เมืองเชียงราย​ ลุย​ รับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานทางการศึกษา​ ก่อนนำข้อมูลเสนอต่อ​ที่ประชุม​ ครม.

เมื่อวันจันทร์​ ที่ ​18 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์​เจริญ​ว​ร​กุล​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ก่อนการประชุม​ ครม.สัญจร​ ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง จ.เชียงราย​ โดยมี​ นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)