'วิษณุ' ย้ำหลัง 28 ก.พ.ถึงหารือ 'บิ๊กตู่' เรื่องยุบสภา!

'วิษณุ' เผยคุยกรอบยุบสภานายกฯ หลังสิ้นก.พ.นี้ บอกประเด็นศาลรัฐธรรมนูญตีความต่างด้าว กกต.แบ่งเขตได้ก่อน เพราะกระทบน้อยมาก

16 ก.พ.2566 - นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีตอบคำถามสื่อมวลชนถึงกรณีพูดคุยกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมถึงกรอบการยุบสภาผู้แทนราษฎร ว่ายังไม่ได้คุย เรื่องดังกล่าวเอาไว้คุยหลังอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152

เมื่อถามว่าเวลาที่เหมาะสมที่จะคุยนี้คือช่วงใด นายวิษณุ กล่าวว่า หลังวันที่ 28 ก.พ.ต้องรอให้การแบ่งเขตเลือกตั้งนิ่งเรียบร้อยเสียก่อน โดยขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้แจ้งเรื่องอะไรมาที่รัฐบาล ซึ่งทราบมาว่าขณะนี้ กกต.ได้ส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความนิยามของคำว่า ราษฎร

เมื่อถามว่ารัฐบาลจะมีความเห็นอะไรส่งไปยัง กกต.หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มี เว้นแต่เขาถามมา แต่เรามีเรื่องจะถาม กกต. แต่ยังไม่ถามช่วงนี้ ขอรอให้ทุกอย่างนิ่งเสียก่อนคือหลังวันที่ 28 ก.พ.

ถามว่ากระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาวินิจฉัยเรื่องนี้นานหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ โดยหลักไม่ควรจะนาน เพราะศาลรู้แล้วว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ซึ่งยื่นตามช่องทางของรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันศาลอาจไม่รับพิจารณาเรื่องดังกล่าวก็เป็นไปได้เช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่ที่ศาล

ถามต่อว่าก่อนหน้านี้ กกต.ขอเวลาเตรียมตัวเพื่อเตรียมการเลือกตั้งถึงวันที่ 28 ก.พ.แต่เมื่อยื่นศาลวินิจฉัยจะส่งผลให้ระยะเวลาเตรียมตัวเลือกตั้งของ กกต.ขยับออกไปหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ปกติเขาแบ่งตามหลักเกณฑ์ของเขาได้ ถ้าศาลออกมาแบบไหนค่อยออกมาปรับใหม่อีกครั้งก็ได้ เพราะไม่ได้กระทบหมดทุกเขตในประเทศไทย เพราะบางเขตก็ไม่มีคนต่างด้าว เท่าที่ฟังมามีอยู่ไม่กี่จังหวัด ดังนั้น 28 ก.พ.จึงแบ่งเขตออกมาได้ก่อน เช่น ประเทศไทยมีอยู่ 400 เขต ก็อาจนิ่งอยู่ 300 เขต ยอมรับว่าหากจะมีการกระทบ แต่ก็น้อยมาก และไม่เป็นสาระสำคัญ

“ที่เป็นสาระสำคัญก็คือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับราษฎร เช่น อำเภอนี้ไม่ควรอยู่ตรงนั้น อย่างเช่นบางพื้นที่ที่เขาประท้วงกันอยู่ในขณะนี้ เพราะบางพื้นที่ที่มีฐานเสียงอยู่แล้วแต่แบ่งเขตออกไป ซึ่งการแบ่งเขตถือเป็นอำนาจเด็ดขาดของ กกต. แต่ต้องรับฟังเขาก่อน โดยเมื่อฟังแล้วจะยืนยันอย่างไรก็เป็นเรื่องของคุณ ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องราษฎร”นายวิษณุ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'ก้าวไกล' งดออกเสียงญัตติส่งศาลวินิจฉัยอำนาจรัฐสภา 'ชัยธวัช' ด่าศาลรธน.

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้

'เอกนัฏ' พร้อมหนุนญัตติเพื่อไทย ถามศาลรธน. บรรจุวาระแก้รธน. แต่ต้องไม่แตะหมวด 1,2

"เอกนัฏ" หนุนถามศาล รธน. แต่ขอเพื่อไทยวางหลักประกัน ไม่แตะหมวด 1-2 แก้รายมาตรา ป้องรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ใช่ผลพลอย รปห. ชี้ หากแก้เกือบทั้งฉบับ จะเสียของดี

'รัฐสภา' ถกบรรจุวาระจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 'ก้าวไกล' หนักใจยื่นดาบให้ศาลรธน.อีกแล้ว

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ

'เศรษฐา' ขายฝัน 'IGNITE THAILAND' ให้ 'UN- ESCAP'

นายกฯ หารือรองเลขาธิการสหประชาชาติ และเลขาธิการบริหาร ESCAP ย้ำศักยภาพไทย ในการขับเคลื่อน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เสริมสร้างความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่ประชาชนในภูมิภาค