
5 ธ.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิดน่าจะดีขึ้นจริง
1.แม้ว่าการติดเขื้อจะเข้มข้นหนาแน่นในหลายประเทศและในไทย
2.แต่ข้อสำคัญ ต้องดูอัตราเข้า รพ. และเสียชีวิต
3.และสาเหตุที่เข้า รพ. และตาย เป็นสาเหตุตรงจากโควิดหรือมีโรคอื่นเป็นตัวการอยู่ แต่ตรวจเจอโควิด?
4.ทั่วโลก ในข้อ 2 ดีขึ้นมาก และมาตรการผ่อนคลายจนเกือบหมดแล้ว ยกเว้น ญี่ปุ่น ที่เข้า รพ. และเสียชีวิตมาก และ เยอรมัน ที่เสียชีวิตมาก แต่คงต้องดู ข้อ 3 ประกอบ ว่าเป็นสาเหตุตรง?
5.จีน ประชากร 1,600 ล้านคน แต่จำนวนเข้า รพ. ไม่ได้มาก และตายน้อยมาก จากข้อมูลจากรัฐบาลจีนที่ตรวจใช้ พีซีอาร์แบบถี่ยิบ
6.ดังนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่น่าอธิบาย
แอฟริกาใต้ วัคซีนน้อยมาก โรคสงบมานาน
ยุโรป เรียบร้อยหมด
อังกฤษ สงบ
จีน วัคซีนเชื้อตาย 2 – 3 เข็ม ฉีดให้ประชากรมากกว่า 70% และตายน้อยมากในสถานการณ์โอมิครอนปัจจุบัน ที่อาจมี BF.7 ด้วยซ้ำ
ญี่ปุ่น เยอรมัน mRNA วัคซีน กันหลายเข็มด้วยซ้ำทั้งประเทศ
ญี่ปุ่น กับ อเมริกา เชื้อดูจะใกล้กัน ด้วยแต่ อเมริกากลับดีกว่า
7.เพราะฉะนั้น ต้องให้ความสำคัญกับ “คน “ด้วย อาทิ มีธรรมชาติภูมิดี เช่น จาก HLA class 1 ที่จำเพาะ, เคยได้เชื้ออื่นคล้ายโควิดมีภูมิข้ามเชื้อฝังตัวอยู่, เคยติดโควิด ที่ผ่านมาบวกวัคซีน และต้นทุนสุขภาพแข็งแรงหรือไม่?
8.ภูมิไม่ได้ดูแต่แอนติบอดีในเลือดที่ยับยั้งไวรัสอย่างเดียว ที่ส่วนมากทำหน้าที่ในการกันติด แต่เมื่อเจอโอมิครอนสายย่อยต่างๆ กันติดได้ไม่มาก และไม่นาน (จนแอนติบอดี ที่ใช้รักษาและป้องกันในสหรัฐใช้ไม่ได้แล้ว)
5 หรือ 6 เข็มแล้ว +1 หรือ 2 พบบ่อยมาก
ภูมิระดับเซลล์สำคัญยิ่ง อาจจะมากกว่าแอนติบอดีด้วยซ้ำ โดยอยู่ทนนานกว่า โดยเฉพาะถ้าเกิดจากติดตามธรรมชาติ (ไม่ผ่าน T follicular helper cell) และทำงานหลักโดยมีแอนติบอดี เข้าประสาน และเป็นเซลล์นักฆ่าไวรัสแบบต่างๆ
9.แต่ถ้าไม่สบาย อย่าประมาท 2 ขีดขึ้นช้า เลยกินยาช้า ไม่สบาย แยกตัว ฟ้าทะลายเลย ไม่ดีขึ้น หาหมอ
ขีดเดียว ไวรัส Ct 20 คือจำนวนยังเยอะ เจอบ่อย
10.จากนี้ ไทยและทั้งโลก ควรสดใสขึ้น มีข้อแม้ ทุกคนต้องเร่งสร้างต้นทุนสุขภาพเพื่ิอสู้กับโรคได้ทุกชนิด อาหารใกล้ มังสวิรัติ ลดแป้ง ออกกำลัง แดด ต้องผอม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 472 ราย ดับ 29 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 22 – 28 มกราคม 2566 พบผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 472 ราย
'หมอยง' เปิดผลวิจัยติดโควิดซ้ำ เทียบกับป่วยครั้งแรก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การติดเชื้อซ้ำความรุนแรงของโรคลดลง
'หมอศิริราช' ถึงกับร้องไอ้หยา! ตัวเลขฝุ่น PM2.5
'หมอนิธิพัฒน์' ถึงกับผงะฝุ่นพิษไทย เตือนคนกรุงอย่าปลดหน้ากากในช่วงนี้แม้โควิดเบาบางลง เรียกร้อง 4 ข้อ โดยเฉพาะพรรคการเมืองให้เสนอนโยบายแก้ไขไม่ใช่มุ่งแต่เพิ่มเงิน
ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ 627 ราย ดับ 44 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 15 - 21 มกราคม 2566 พบผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 627 ราย
โควิด 'XBB.1.5' จ่อขยับสายพันธุ์หลัก ในอเมริกา-ยุโรป ก.พ.นี้
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 128,373 คน ตายเพิ่ม 635 คน รวมแล้วติดไป 673,294,559 คน เสียชีวิตรวม 6,746,068 คน