10 ก.พ. 2566 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 ลดน้อยลง และการให้วัคซีนประจำปี
ตามที่เคยได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งว่า หลังจากกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้วโควิด 19 จะสงบและการติดเชื้อจะลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและเมษายน เป็นเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพราะโควิด 19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว จะไประบาดอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน
การระบาดลดลง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.ประชากรไทยส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานแล้ว จากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ และฉีดวัคซีนไปแล้ว ข้อมูลการศึกษาที่ได้พบว่าเด็กและผู้ใหญ่ในวัยทำงานจะติดเชื้อไปแล้วร่วม 80% ผู้สูงอายุติดเชื้อไปแล้วประมาณ 50% แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ก็ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 หรือ 3 เข็ม และมีจำนวนมากที่ได้ 4 เข็ม
2.จะเป็นช่วงที่นักเรียนส่วนใหญ่ปิดเทอมยาว จะลดการระบาดของโรคได้มาก และจะไปเริ่มระบาดใหม่ในช่วงเปิดเทอมใหม่ โดยจะระบาดหลังจากเปิดเทอมแล้ว 2-3 สัปดาห์ คือในเดือนมิถุนายน
3.ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วและติดเชื้อ จากการติดตามพบว่า การลดลงของภูมิต้านทาน ช้ากว่าในผู้ที่ฉีดวัคซีนอย่างเดียว ดังนั้นในผู้ที่ติดเชื้อแล้ว เรียกได้ว่า ได้ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ทั้งในระดับการป้องกัน และระดับเซลล์ที่ช่วยในการหายของโรค หรือลดลงของความรุนแรงได้เป็นอย่างดีมาก การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่ความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรก (จากการศึกษาของเราในผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ 250 คน)
4.การติดเชื้อขณะนี้ส่วนใหญ่โรคจะไม่รุนแรง จะรุนแรงเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้น้อยกว่า 3 เข็ม และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เมื่อโรคไม่รุนแรง ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีความลังเล ในการที่จะได้รับวัคซีนในเข็มต่อไป
5.มีการให้ข่าวทางสื่อออนไลน์มากมาย ถึงอาการข้างเคียงของวัคซีนโดยเฉพาะ mRNA ทั้งที่จริงแล้ว วัคซีนเกือบทุกตัวมีอาการไม่พึงประสงค์ อาการไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดจากวัคซีนหรือเกิดขึ้น ต้องมีการพิสูจน์ ในรายที่พิสูจน์แล้ว จึงจะใช้คำว่าเป็นอาการข้างเคียงของวัคซีนได้ ในการให้วัคซีนเราจะคำนึงถึงผลได้และผลเสียหรืออาการแทรกซ้อนของวัคซีน ถ้าโรครุนแรงอย่างในระยะแรกของการระบาด โอกาสลงปอดเป็นจำนวนมาก การให้วัคซีนมีประโยชน์มากอย่างแน่นอน ขณะนี้ความรุนแรงของโรคน้อยลง ทำให้ผู้จะรับวัคซีน คำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น เกิดความลังเลใจในการที่จะรับวัคซีน
6.ในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วและติดเชื้อมาแล้ว มีร่างกายแข็งแรงดี การให้วัคซีนประจำปี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ไม่น่าจะแตกต่างกัน ในประสิทธิภาพของวัคซีน อาจจะต้องเอาอาการข้างเคียงของวัคซีนมาใช้พิจารณาในการตัดสินใจ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง
'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล