‘หมอธีระ’ อัปเดตโควิดทั่วโลก ติดเชื้อเพิ่ม 50,331 คน เสียชีวิต 211 คน

13 มี.ค.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2566 ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 50,331 คน ตายเพิ่ม 211 คน รวมแล้วติดไป 681,528,196 คน เสียชีวิตรวม 6,811,893 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย ไต้หวัน เม็กซิโก ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 77.07 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 72.98

อัพเดตความรู้โควิด-19 1. ระยะเวลาที่เพาะเชื้อเจอไวรัส และระยะเวลาตรวจ PCR พบผลบวก หลังติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron

Wu Y และคณะ จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ทำการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน พบว่า หลังจากที่ติดเชื้อ ระยะเวลาเฉลี่ยในการเพาะเชื้อจากสิ่งคัดหลั่งในทางเดินหายใจส่วนบนแล้วเจอไวรัสราว 6 วัน (5.16 วัน) (ภาพที่ 1) โดยระยะเวลานานสุดที่สามารถเพาะเชื้อไวรัสได้คือ 15 วัน ในขณะที่ระยะเวลาเฉลี่ยที่สามารถตรวจ PCR ได้ผลบวกคือ 11 วัน (10.82 วัน) (ภาพที่ 2) โดยระยะเวลานานสุดที่สามารถตรวจพบผลบวกได้คือ 23 วัน

ผลการศึกษานี้ช่วยให้เราทราบธรรมชาติของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ซึ่งในแง่ของการเพาะเชื้อเจอนั้นย่อมสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่คนที่ติดเชื้อนั้นจะสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้ สอดคล้องกับคำแนะนำก่อนหน้านี้ที่ให้แยกตัวจากผู้อื่นราว 7-10 วัน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะแพร่ไปสู่ผู้อื่น

ส่วนเรื่องการตรวจ PCR เป็นบวกนั้น จะพบว่าปัจจุบันทุกคนใช้ชุดตรวจไวหรือ ATK ซึ่งจะมีความสามารถในการตรวจได้ผลบวกน้อยกว่า PCR และต้องอาศัยปริมาณไวรัสที่สูงกว่า PCR กว่าจะได้ผลบวก และในทางกลับกัน เมื่อบวกแล้วมักจะกลับเป็นลบเร็วกว่า PCR

2. การฉีดวัคซีนเพื่อลดเสี่ยงป่วยรุนแรงและเสียชีวิต Maltezou HC และคณะจากประเทศกรีซ ศึกษาติดตามบุคลากรทางการแพทย์ราว 6.500 คนในช่วงปี 2021-2022 พบว่า คนที่ฉีดวัคซีนครบจะช่วยลดเสี่ยงในการป่วยรุนแรงจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ ทั้งนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดติดเชื้อขึ้นมาหลังได้รับวัคซีน (Breakthrough infection) นั้น มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นราว 4 เดือน (16.2 สัปดาห์) เมื่อวิเคราะห์เรื่องโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ เฉลี่ยแล้วจะเพิ่มขึ้นราว 7% ในแต่ละสัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนในการลดเสี่ยงป่วยรุนแรงหากเกิดติดเชื้อขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การป้องกันด้วยวิธีอื่นๆ จำเป็นต้องทำ เพื่อลดเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อแพร่เชื้อในยามที่การระบาดทั่วโลกยังไม่สงบ

สำหรับไทยเรา ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวเสมอ ปรับสภาพแวดล้อมให้มีการระบายอากาศให้ดีขึ้น ทั้งที่ทำงาน ที่เรียน ที่กินดื่ม ที่เที่ยว การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM2.5

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

ปรบมือรัวๆ ‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาด ‘โควิด’ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง

อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง แต่ขอให้ตระหนักว่าการติดเชื้อในระหว่างใช้ชีวิตประจำวันยังมีกันอยู่ต่อเนื่อง การเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องที่น่าพิสมัย ไม่ประมาท

สยอง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยพบแท่งย้วยสีขาว คล้ายหนวดปลาหมึก ในคนที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อ

‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว