'หมอยง' ชี้เปิดเทอม - เลือกตั้งปลุกโควิด - 19 ระบาดเพิ่ม

2 พฤษภาคม 2566 – นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสเฟซบุ๊ก ระบุว่า โรคโควิด 19 ได้ปรับตัวเป็นโรคประจำฤดูกาล และสำหรับประเทศไทยจะเริ่มระบาดเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก และในปีนี้ประกอบกับมีการหาเสียงเลือกตั้ง มีการรวมคนหมู่มาก โอกาสที่จะแพร่กระจายได้มาก โรคจะพบมากขึ้น ในปลายเดือนนี้หลังเลือกตั้ง และนักเรียนเปิดเทอมแล้ว

สายพันธุ์ที่พบขณะนี้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็น XBB โดยเฉพาะ XBB.1.5 ได้เข้ามาแทนที่สายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ต้นปีมาคือ BA.2.75 แล้ว แต่สายพันธุ์ทั้งหมดก็ยังเป็นลูกหลานของ โอมิครอน โดยที่สายพันธุ์ไหนติดได้ง่ายกว่า หลบหลีกภูมิต้านทานได้เก่งกว่าก็จะเข้ามาแทนที่ สายพันธุ์ดาวดวงแก้ว XBB.1.16 ก็ยังพบน้อยมาก ทุกสายพันธุ์ที่กระจายทั่วโลกขณะนี้ ความรุนแรงของโรคลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม (มากกว่า 90%) ผู้ที่เป็นรุนแรงหรือเสียชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยงหรือที่เราเรียกว่า 608

วัคซีนที่มีอยู่ขณะนี้ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ ดังนั้นกลุ่มเสี่ยง เปราะบาง ควรจะได้รับวัคซีนป้องกัน และให้ถือเป็นวัคซีนประจำฤดูกาลที่จะต้องฉีดก่อนเข้าสู่ฤดูฝนคือในเดือนนี้ เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยสามารถให้พร้อมกันได้โดยฉีดกันคนละตำแหน่งหรือคนละข้างแขน

วัคซีนที่ใช้อยู่ขณะนี้ถ้าเป็น mRNA วัคซีน จะเป็นชนิด 2 สายพันธุ์ bivalent คือสายพันธุ์ดั้งเดิม อู่ฮั่น รวมกับ โอมิครอน ที่ใช้อยู่ในบ้านเราถ้าเป็นไฟเซอร์ก็จะเป็น BA.1 ส่วนของ Moderna ก็จะเป็น BA.5 โดยของ Moderna จะมีปริมาณ RNA เพียงครึ่งหนึ่ง (50 mcg) ของวัคซีนสายพันธุ์เดี่ยวที่เราเคยใช้ในอดีต (100 mcg) ในบุคคลที่แข็งแรงดีและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี การฉีดวัคซีนเป็นไปตามความสมัครใจ เพราะความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่ากลุ่มเสี่ยง 608

ในที่สุดในระยะเวลาอันใกล้นี้เชื่อว่า องค์การอนามัยโลกคงจะเลิกนับจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ เพราะตัวเลขที่รายงานเข้าสู่องค์การอนามัยโลก ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก รวมทั้งของประเทศไทยก็ไม่ได้นับจำนวนผู้ที่ติดเชื้อแล้ว นับเฉพาะผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และผู้ที่เสียชีวิต จำนวนผู้ที่ติดเชื้อมีมากกว่าจำนวนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายสิบเท่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ชี้แบคทีเรียกินเนื้อ ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

หมอยง ชี้ โควิด 19  มีแนวโน้มขาลง อัตราเสียชีวิตใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟชบุ๊กส่วนตัว (Yong Poovorawan) 

'หมอยง' เผย 'โรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส' กำลังระบาด ส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าอาหารเป็นพิษ

นพ.ยง ภู่วรวรรณ เตือน "โรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส" ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม จะเป็นฤดูกาลระบาดของโรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส

'หมอยง' เตือน 'โนโรไวรัส' ระบาดหนัก 1-2 เดือนนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โนโรไวรัส

ตอกหน้าพวกบูลลี่! ‘หมอยง’ บอก 'วัคซีน' โควิด-19 กาลเวลาเป็นที่พิสูจน์

เมื่อผ่านมาครบ 4 ปีแล้ว ประชากรส่วนใหญ่หรือมากกว่าร้อยละ 90  ติดเชื้อไปแล้วร่วมกับได้รับวัคซีน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ จึงเป็นภูมิคุ้มกันแบบลูกผสม เป็นภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างสมบูรณ์