หมอธีระวัฒน์ เผยวิธีการตรวจ และป้องกันโรคสมองเสื่อม

5 ก.ย.66 - นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความว่า

การปฏิวัติรูปแบบการวินิจฉัยสมองเสื่อม,

“ ต้องรู้ให้ได้ก่อนที่อาการจะออก”

และนำไปสู่การป้องกัน ชะลอ รักษา

การประชุมประจำปี Alzheimer's Association International Conference (AAIC) ที่ อัมสเตอร์ดัมในเดือนกรกฎาคม 2023

ทั้งนี้ กระบวนการปฏิวัติเริ่ม ตั้งแต่ปี 2017 จนกระทั่งถึง ในปัจจุบันนี้

สมาคมโรคอัลไซเมอร์ อเมริกา และนานาชาติ เห็นพ้องที่ต้องปรับปรุงระบบในการวินิจฉัยสมองเสื่อม จากการที่ต้องทำแบบทดสอบต่างๆอย่างเดียว โดยรอจนเกิดอาการชัดเจน และแม้แต่โดยที่ใช้คอมพิวเตอร์สมองแม้กระทั่ง MRI ก็ตามยังเป็นการสายเกินไป

ทั้งนี้เนื่องจาก ถ้ารอให้ สมองเสียหายจนกระทั่งแสดงอาการ หมายความว่าจะเริ่ม “กู่ให้กลับยากขึ้น”
และเป็นที่มาที่ต้องรู้ว่ามีสมองเสื่อมปะทุ แล้วหรือยังโดยแม้ยังไม่มีอาการแสดงออกยิ่งดี

เป็นที่มาของการพัฒนาการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบแต่เนิ่นๆ โดยการตรวจนี้ พัฒนาจากคนที่ทำการตรวจ MRI และ PET scan จนกระทั่งถึงการเจาะน้ำไขสันหลัง และได้ค่ามาตรฐานว่าระดับใดถือว่าปกติหรือไม่ปกติ

โดยวิธีที่ใช้ในการครวจ เช่น ทำด้วย SIMOA single molecule assay

ทั้งนี้ด้วยการตรวจเลือดซึ่งสามารถระบุชนิดของสมองเสื่อมระยะขั้นตอนและความรุนแรงได้ ตั้งแต่ก่อนมีอาการ

การปฎิบัติตัว ตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่เดี๋ยวนี้

หมายถึงตั้งแต่ เริ่มเข้าใกล้อายุ 35

ด้วยการกินอาหารเข้าใกล้มังสวิรัติ งดแป้ง งดเนื้อสัตว์บก ทั้งหมด

หันมากิน กุ้งหอย ปูปลาได้ ไม่กินขนมหวาน ออกกำลังสม่ำเสมอตากแดด

ถ้าจะดื่มแอลกอฮอล์ต้องอยู่ในระดับพองาม 30 กรัมต่อวัน

กาแฟที่มีหรือไม่มีคาเฟ่อีนช่วยสมองได้

กินชาดำแดงเขียวชาจีนได้

ในเรื่องของยา

ยาหลายตัวที่อาจไม่มีประโยชน์เลยและเกิดผลแทรกซ้อนและ/หรือ อาจเป็นไปได้ที่เร่งให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น ควรหลีกเลี่ยง

ยาในกลุ่มที่รักษาความดันหรือเบาหวาน มียาบางตัวในกลุ่มนั้นๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการลดความเสี่ยงการเกิดสมองเสื่อมด้วย ควรเลือกใช้

ยาที่มีผลในการรักษา โดยเฉพาะ อยู่ในการศึกษาในมนุษย์ระยะที่สามอย่างน้อย 30 รายการด้วยกัน และผ่านขั้นตอนของกลไกในการออกฤทธิ์ในหลอดทดลอง

ในสัตว์ทดลองหรือใช้ สมองน้อย organoid มาในการศึกษาว่ายาดังกล่าวจะเก่งหรือไม่ จนกระทั่งผ่านขั้นตอนที่หนึ่งและที่สองใน มนุษย์ ในเรื่องของความปลอดภัยและขนาดที่ควรจะใช้ที่เก่งต่อโรค จนมาถึงระยะที่3 แล้ว
ถึงแม้รู้ว่าเริ่มมีสมองเสื่อมปะทุ ก็มีทางแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ของขึ้น เชี่ยมั้ย! ใครจะมาพูดอะไร แ-่ง ต้อง declare ผลประโยชน์ทับซ้อน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความ

สยอง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยพบแท่งย้วยสีขาว คล้ายหนวดปลาหมึก ในคนที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อ

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)