หนาว! ดร.อนันต์ยกงานวิจัยต่างชาติบอก 'อัลไซเมอร์' ส่งต่อจากคนสู่คนได้แต่ไม่ง่าย

31 ม.ค.2567 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า งานวิจัยชิ้นหนึ่งเพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine เกี่ยวกับการค้นพบหลักฐานว่า โรคสมองเสื่อม Alzheimer’s อาจถูกส่งต่อจากคนสู่คนได้ผ่านทางการได้รับโปรตีนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งนับว่าเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานานว่า โรค Alzheimer's มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของผู้ป่วยเอง หรือ อาจมีปัจจัยที่ได้รับมาจากภายนอกคล้ายๆกับโรควัวบ้าที่สามารถรับโปรตีน Prion แล้วมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสมองได้

งานวิจัยนี้พบว่าในอดีตมีการเก็บชิ้นส่วนของสมองเรียกว่า ต่อม Pituitary จากผู้เสียชีวิตและบริจาคอวัยวะเพื่อนำมาผลิตฮอร์โมน ชื่อว่า Growth hormone (c-hGH ย่อมาจาก GH ผลิตมาจาก cadaver (ผู้เสียชีวิตที่บริจาคอวัยวะ)) โดยฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจะถูกฉีดรักษาให้กับผู้ป่วยที่ต่อม Pituaitary ทำงานบกพร่อง ทีมวิจัยพบว่า ฮอร์โมนดังกล่าวอาจจะถูกสร้างมาจากต่อม Pituitary ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรค Alzheimer's ทำให้มีโปรตีนชื่อว่า Aβ ปนเปิ้อนมากับฮอร์โมนดังกล่าวด้วย เนื่องจากโปรตีน Aβ พบได้ในปริมาณสูงในสมองของผู้ป่วย Alzheimer's และ การจับตัวกันของโปรตีนดังกล่าวในสมองเป็นปริมาณมากเชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรค ทำให้มีสมมติฐานว่าการมี Aβ ปนเปื้อนในฮอร์โมนที่สร้างขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนดังกล่าว มีอาการของโรค Alzheimer's ในอนาคต งานวิจัยที่ตีพิมพ์นี้ระบุว่า การติดตามผู้ที่ได้รับฮอร์โมน c-hGH มาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีอาการของ Alzheimer's อย่างมีนัยสำคัญตามที่คาดไว้จริงๆ แต่เนื่องจากจำนวนของตัวอย่างที่ติดตามยังมีอยู่ไม่มากนัก ทำให้ข้อสรุปที่ว่า โปรตีน Aβ ที่ปนเปื้อนมากับ c-hGH เป็นสาเหตุ ยังมีคนตั้งคำถามอยู่พอสมควร

งานวิจัยนี้จึงให้หลักฐานสำคัญที่อาจจะช่วยให้เราเข้าใจกลไกการเกิดโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ได้ดีขึ้น แต่การได้รับ โปรตีน Aβ เข้าสู่ร่างกายไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เหมือนการติดเชื้อโรคติดต่อทั่วไป และ ปัจจุบัน chGH ที่ผลิตจากต่อม Pituitary ก็เลิกไปแล้ว ทำให้โอกาสการได้รับ โปรตีน Aβ ปนเปื้อนเหมือนในอดีตคงจะไม่เกิดขึ้นแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์