เตือนอย่าเชื่อ! ข่าวปลอมเป็นตะคริวบ่อย จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต

3 ธ.ค.2566-เพจAnti-Fake News Center Thailand  โพสต์ข้อความ “ข่าวปลอม อย่าแชร์! เป็นตะคริวบ่อยจะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้” ระบุว่า ตามที่มีข้อมูลในสื่อโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับเรื่องเป็นตะคริวบ่อยจะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้ให้ข้อมูลด้านสุขภาพโดยระบุว่า เป็นตะคริวบ่อยจะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ตะคริวเป็นโรคของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทส่วนปลาย ไม่เกี่ยวกับหลอดเลือดโดยเฉพาะและไม่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองที่จะเป็นเหตุให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ดังนั้นจึงไม่ได้สัมพันธ์หรือเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองแต่อย่างใด

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ตะคริวเป็นโรคของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทส่วนปลาย ไม่เกี่ยวกับหลอดเลือดโดยเฉพาะและไม่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองที่จะเป็นเหตุให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.พัฒนาเครือข่ายภาคใต้รู้ทัน Fake News

7 มี.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมค่ายครอบครัวคุณธรรม นำสังคมเป็นสุข ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2567 โดยมีนายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกระบี่ วัฒนธรรมจังหวัดพื้นที่ภาคใต้

'นักวิชาการ' ยกรายงานสศช.ชี้คนหลายสิบล้านที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือเหยื่อที่ถูกล่า

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ผลกระทบของ "อินฟลูเอนเซอร์" 2 ล้านคนที่มีต่อสังคมไทย มีเนื้อหาดังนี้

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างกฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดเปลี่ยนฟรี เตือนอย่ากดลิงก์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบ 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ คนสนใจสูงสุด มิจฉาชีพแอบอ้าง“กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุด คิดค่าไฟเกินจริง เปลี่ยนมิเตอร์ฟรี พร้อมรับเงินคืน”– หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่าน Pages DTL Noline” ยังมาแรง เตือนเช็คให้ดี อย่ากด อย่าส่งต่อ

ระวัง โจร อ้างตัวเป็นสถาบันการเงิน ออกเอกสารยืนยันตัวแก้ไขข้อมูลธนาคาร โดยการฝากเงินเข้าระบบกระเป๋าตังค์ 30,000 บาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบมิจฉาชีพแอบอ้างสถาบันการเงิน ออกเอกสารรับรองให้ยืนยันตัวตนเข้าระบบ เพื่อแก้ไขข้อมูลธนาคาร โดยการฝากเงินเข้าระบบกระเป๋าตังค์ 30,000 บาท ขึ้นแท่นอันดับ 1 รองลงมาเป็นเพจปลอมกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดรับสมัครงานแพ็กของ Giftshop เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อจนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ไม่แผ่ว! ดีอี เผยข่าวปลอม ‘กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’ ถูกปล่อยไม่หยุด

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สรุปข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดเป็นอันดับ 1 พบว่าเป็นเรื่องเพจปลอม “กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน” รับสมัครพนักงาน แพ็กของ รายได้เฉลี่ย 450 บาท/ต่อวัน รองลงมาเป็นข่าวปลอม “สินเชื่ออเนกประสงค์กรุงไทย 5 พลัส วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท ผ่านเพจ Loan Versatile 5 Plus” ยังระบาดหนัก เตือนเช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ หรือแชร์ข้อมูล

รัฐบาลย้ำเฟกนิวส์! รับสมัครทำเกษตรเกาหลีใต้ แนะเช็ก 'ไทยมีงานทำ'

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำเตือนแรงงานอย่าหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ กรณีมีเผยแพร่ว่ากระทรวงแรงงานเปิดรับสมัครแรงงานภาคเกษตร