'ทางม้าลายกระต่ายน้อย'...สัญลักษณ์ปลุกจิตสำนึกด้านวินัยจราจรที่ดี

เพื่อเป็นการร่วมระลึกถึง “พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล” (หมอกระต่าย) ที่จากไป จากอุบัติเหตุรถชนขณะข้ามทางม้าลาย เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2565 ที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดทำโครงการ “ทางม้าลายกระต่ายน้อย” ขึ้น เพื่อเป็นการระลึกและสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ขับขี่ ล่าสุดจึงได้จัดพิธีเปิดตัวโครงการ “ทางม้าลายกระต่ายน้อย” ขึ้น ณ ลานหน้าอาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ โดยมี “รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาดชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ พร้อมด้วย “รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ” รองผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนบริการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ “นพ.อนิรุทธ์ และ นางรัชนี สุภวัตรจริยากุล” (คุณพ่อและคุณแม่ของหมอกระต่าย) นายสราวุฒิ อยู่วิทยา (ผู้บริหารมูลนิธิใจกระทิง) ฯลฯ เข้าร่วมกิจกรรมในงาน

“รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาดชาดไทย กล่าวว่า “ สำหรับโครงการ “ทางม้าลายกระต่ายน้อย” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ลดความสูญเสีย ต่อคุณหมอกระต่ายและครอบครัว เพราะคุณหมอกระต่ายเป็นหนึ่งในครอบครัวของเรา และต้องการสะท้อนว่าการสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ที่ดีนั้น ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคมบ้าง และส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเป็นจุดเริ่มต้นในการลดปัญหาอุบัติเหตุ จากการถูกรถชนขณะข้ามทางม้าลาย เพื่อให้ปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ทางม้าลาย ภายใต้ “โครงการทางม้าลายกระต่ายน้อย” ภายใน รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีด้วยกัน 2 จุดนำร่อง คือบริเวณด้านหน้าอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และอาคารรัตนวิทยาพัฒน์ และอีก 2 จุด คือบริเวณถนนด้านข้างรพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฝั่งถนนอังรีดูนัง และถนนฝั่งสวนลุมพินี รวมทั้งหมดมี 4 จุด ที่สำคัญคิดว่าโครงการฯนี้เป็นหน้าที่ ที่ทุกคนต้องร่วมกันตระหนักรู้ อีกทั้งกระตุ้นเตือนให้ทั้งผู้ที่ขับขี่รถยนต์ ใช้สติในการขับขี่ หยุดรถทุกครั้งเมื่อมีคนข้ามทางม้าลาย ที่สำคัญทุกคนควรร่วมกันดูแลอุปกรณ์ ป้องกันอุบัติเหตุให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อลดช่วยผลกระทบจากการขับขี่ไม่ปลอดภัย ให้ลดลงได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้โลโก้รูปกระต่ายประจำ “โครงการทางม้าลายกระต่ายน้อย”นี้ นพ.อนิรุทธ์ สุภวัตรจริยากุล คุณพ่อของหมอกระต่ายได้มาร่วมดีไซน์ด้วยเช่นกัน”

ด้าน “นพ.อนิรุทธ์ สุภวัตรจริยากุล” คุณพ่อหมอกระต่าย ให้ข้อมูลว่า “ จริงๆแล้วมีการรณรงค์เกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยทั้งคนใช้รถใช้ถนน ในลักษณะนี้อยู่เป็นจำนวนมาก แต่สิ่งสำคัญคือเราจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และทำให้คนมีจิตสำนักในการขับขี่ที่ปลอดภัย ดังนั้นสิ่งสำคัญผมมองว่าการรณรงค์นี้เป็นเพียงแอคชั่นที่เกิดขึ้น ภายในโรงพยาบาลฯ รวมถึงภาคประชาชน และองค์กรอิสระ ดังนั้นจึงอยากเห็นหน่วยงานอื่นๆเข้ามาร่วมกัน เช่นภาครัฐ เข้ามาร่วมผลักดันให้โครงการนี้ทำต่อเนื่องในระยะยาว ตั้งแต่ความรับผิดชอบในการใช้รถใช้ถนน การกวดขันเข้มงวดเรื่องกฎจราจร และไม่ใช่แค่มีทางม้าลายในเมือง แต่ในถนนชนบทก็ควรที่มีการพัฒนาอย่างถูกต้อง และบังคับเหมือนกัน ที่สำคัญบทลงโทษของการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น จำเป็นต้องได้รับบทลงโทษที่รุนแรง เพื่อให้คนเกิดความเกรงกลัว ในการใช้ขับขี่โดยประมาทขาดสติ เช่น การระงับใบขับขี่ของผู้ขับขี่ประมาท ที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เป็นต้น”

ด้าน “นางรัชนี สุภวัตรจริยากุล” ให้ข้อมูลว่า “ สำหรับโครงการนี้ก็เป็นอะไรที่ดี ที่ช่วยให้เราตั้งสติได้ในการขับขี่ปลอดภัย และแม้ว่าที่ผ่านจะมีการรณรงค์ในลักษณะนี้เกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่เห็นที่ชัดเจนมากนัก อีกทั้งการสูญเสียบคุลากรทางการแพทย์ในครั้งนี้ ก็ทำให้เห็นว่าแพทย์ทุกคนไม่ทิ้งกัน แต่ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เหตุการณ์สูญเสียในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ทุกคนต้องร่วมกันทุกภาคส่วน รวมถึงภาครัฐ ดังนั้นในฐานะคุณพ่อและคุณแม่ของหมอกระต่าย ที่มาร่วมในครั้งนี้ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เล็กน้อย แต่เป็นสิ่งที่เราทำได้ เราก็มาช่วยทำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระตุ้นให้ทุกคน หันมาช่วยกันรณรงค์เรื่องนี้ ทั้งในองค์กรของตัวเอง ระดับจังหวัด ไปจนกระทั่งถึงภาครัฐ เพราะเรารู้จักคำว่าทางม้าลายมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นการที่ทำอย่างไร เพื่อทำให้ถนนเป็นของรถยนต์วิ่ง และทางม้าลายเป็นของคนข้าม จึงเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทุกคน และต้องรณรงค์เรื่องนี้และบังคับใช้อย่างจริงจัง และทำต่อเนื่องในระยะยาว”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยชี้ Long COVID จะทำให้ลางานมากกว่าปกติ 1.4 เท่า

'หมอธีระ' เผยแดนกิมจิยังคองแชมป์ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อโควิดใหม่สูงสุด ชี้ผลวิจัย Long COVID เมืองผู้ดีที่ศึกษาประชากร 2 แสนรายพบผู้ป่วยจะมีปัญหาลางานมากกว่ากว่าปกติ 1.4 เท่า

'หมอธีระวัฒน์' ยันเดินวันละ 10,000 ก้าวมีประโยชน์ไม่มั่วนิ่ม

'หมอธีระวัฒน์' ยันเดินวันละหมื่นก้าวมีผลงานวิจัยยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงว่ามีประโยชน์ แม้ไม่ถึงก็ยังดี เพราะยิ่งเดินเพิ่มก็ช่วยสร้างสุขภาพให้ตัวเองโดยไม่ต้องเข้าฟิตเนส

'หมอดื้อ' ยกหลักฐานการศึกษาตั้งแต่ปี 2560 ชี้การอักเสบส่งผลต่อร่างกายและสมอง

'หมอธีระวัฒน์' ยกหลักฐานชี้การอักเสบเรื้อจะมีผลกระทบต่อร่างกายและสมอง แนะใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญคือหยุดสูบบุหรี่ไม่เช่นนั้นเมื่อรวมกับ PM2.5 จะเกิดการอักเสบเหมือนตายผ่อนส่ง

'หมอยง' ชี้หลักวิวัฒนาการทำความรุนแรงโควิด19 ลดลงแต่ มิ.ย.นี้กลับมาแน่!

'หมอยง' ตอกย้ำโควิด-19 ไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ซ้ำความรุนแรงก็ลดลงตามหลักวิวัฒนาการ แต่เชื่อเดือน มิ.ย.จะกลับมาพบผู้ป่วยมากอีกครั้งหนึ่ง

'นพ.ธีระ' แนะยังต้องป้องกันตัวเองเพราะไทยมีผู้ติดโควิดระดับเกินพันต่อวัน

'หมอธีระ' เผยตัวเลขล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก โอมิครอนยึดแล้ว 99.6% โดยสายพันธุ์ที่แรงที่สุดยามนี้คือ XBB.1.5 เผยไทยยังพบผู้ติดเชื้อใหม่ในระดับเกินพันต่อวัน

ข่าวร้าย!ผลวิจัยมะกันชี้ผู้ป่วยโควิดมีโอกาสเจอปัญหาทางเดินอาหารในระยะยาว

หมอธีระอัพเดตความรู้เรื่องโควิด-19 เผยไวรัสไม่ได้กระทบแค่ระบบทางเดินหายใจ ผลวิจัยอเมริกาชี้ชัดผู้ป่วย Long COVID จะเจอปัญหาในทางเดินอาหารด้วย