เตือนหนี้ครัวเรือนพุ่ง! กระตุกรัฐขยับความสามารถการผลิต


เพิ่มเพื่อน    

5 ก.ย.64 - ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงธนาคารแห่งประเทศไทยเตือนหนี้ครัวเรือนสูงมาต่อเนื่องตลอด 3 เดือนตั้งแต่กรกฎาคมว่า เดือนกรกฎาคม 2564 ธปท.เตือนว่าในไตรมาส 1 ของปีนี้ หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไปถึง 14.1 ล้านล้าน เท่ากับ 90.5% ของ GDP เพราะประชาชน “รายได้หด ภาระหนี้ท่วม” โดยเฉพาะผลกระทบจากไวรัสโควิดระรอก 2 ผลที่ตามมาคือไม่สามารถชำระหนี้ให้ธนาคารได้ตามกำหนด ส่งผลให้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) ในไตรมาส 2 สูงขึ้นไปอีก อยู่ที่ 545,460 ราย คิดเป็น 3.09% ของสินเชื่อทั้งหมด

 ศ.ดร.กนก  กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากและทำให้เกิด NPL คือ 1.) กลุ่มค้าส่งและค้าปลีก 127,338 ราย (23.35% ของจำนวนสินเชื่อ), 2.) กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต 121,150 ราย (22.21% ของจำนวนสินเชื่อ) , 3.) กลุ่มการบริโภค ส่วนบุคคล 150,369 ราย (27.57% ของจำนวนสินเชื่อ), 4.) กลุ่มที่อยู่อาศัย 94,250 ราย (17.28% ของจำนวนสินเชื่อ) แสดงว่ากำลังซื้อของประชาชนที่ลดลงส่งผลโดยตรงต่อสถานะทางการเงินและสินเชื่อของผู้ประกอบการ นี่คือสัญญาณอันตรายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเดือนมาอย่างต่อเนื่องด้วยเสียงที่ดังขึ้นตลอดเวลา

ศ.ดร.กนก  กล่าวว่า ธปท. พยายาม กำหนดแนวทางช่วยแก้ปัญหาทั้งการให้ความรู้ประชาชนไม่ให้ก่อหนี้เกินตัว , การออกมาตรการกำกับดูแล วางกฎเกณฑ์ควบคุมดูแลเจ้าหนี้ , การวางโครงสร้างพื้นฐาน กลไกการแก้ปัญหาหนี้ จนถึงการลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลลดลงอีก 2-4% ซึ่ง ธปท. พยายามแก้ไขปัญหาด้านการเงินตามอำนาจหน้าที่ของตน แต่ปัญหาหนี้ไม่ใช่เป็นปัญหาการเงินอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับรายได้และความคิดของประชาชน ซึ่งเกินกว่าหน้าที่ของ ธปท.ที่จะรับผิดชอบ

ศ.ดร.กนก กล่าวต่อว่า ดังนั้นคำถามคือ กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของประชาชน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , กระทรวงพาณิชย์ , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนถึงสำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานหลักเหล่านี้จะสร้างรายได้ ให้ประชาชนอย่างไร และในเวลาเท่าไร ที่สำคัญคือรายได้จำนวนเท่าไรจะเป็นฐานให้ ธปท.ไปช่วยเจรจากับธนาคารพาณิชย์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของประชาชนและผู้ประกอบการได้ และกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมประชาสัมพันธ์ และกลไกการสื่อสารของรัฐทั้งหมด จะช่วย ธปท. สร้างความเข้าใจ ควบคุมการก่อหนี้และสร้างรายได้ของประชาชนอย่างไร โดยเฉพาะการสร้างความรับผิดชอบต่อหนี้ที่ก่อ มีหนี้แล้วต้องใช้ ไม่รอไม่ขอรัฐมาช่วย แต่ต้องยืนได้ด้วยตนเอง

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ย้ำว่า นั่นหมายความว่าการแก้ไขวิกฤตนี้ไม่ใช่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินเท่านั้น การแก้ไขด้านรายได้ต้องทำควบคู่ไป ถ้าหนี้ลด แต่รายได้ไม่เพิ่ม สุดท้ายจะกลับไปเป็นหนี้อีก การแก้ปัญหาด้วยมาตรการทางการเงินเป็นเพียงการให้โอกาสกับประชาชนและผู้ประกอบการ  แต่วิกฤตโควิด- 19 นี้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตอย่างมาก ดังนั้น   การปรับขีดความสามารถทางการผลิตที่แข่งขันได้ในอนาคต จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการสร้างรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการ รัฐบาลต้องมองปัญหาหนี้และรายได้ให้ทะลุ รีบลงมือปฏิบัติด้วยทีมงานที่รู้จริงและตั้งใจจริง ไม่เช่นนั้นจะต้องมาเสียใจกันทั้งประเทศ เมื่อมันสายเกินไปแล้ว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"