‘เฉลิมชัย’นำเหล่าศิลปิน วาดเพิ่ม2ภาพ‘นางนอน’


เพิ่มเพื่อน    

  "เฉลิมชัย" นำทีมศิลปินเอกด้านจิตรกรรม ร่วมกันวาดภาพ "นางนอน" เพิ่มอีก 2 ภาพ ใช้เวลา 2 สัปดาห์ เพื่อนำไปตั้งขนาบภาพ The Heroes และรูปปั้น "จ่าแซม" ขณะที่นายสมาคมขัวศิลปะเชียงรายนำทัพศิลปินไปโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ทำกิจกรรม "สอนน้องหมูป่าวาดรูป"

    เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย, อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ พร้อมด้วยศิลปินที่มีฝีมือด้านจิตรกรรมหลายคน เช่น อาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง,  อาจารย์พรมมา อินยาศรี, อาจารย์เสงี่ยม ยารังษี ฯลฯ ได้ร่วมกันนำผืนผ้าใบขนาดกว้าง 3 ยาว 4 เมตร รวม 2 ผืน ขึงไว้บริเวณหน้าขัวศิลปะ ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย
          จากนั้นเริ่มวาดภาพด้วยสีน้ำมันบนผืนผ้าใบทั้ง 2 ผืน โดยตั้งชื่อภาพเหมือนกันว่า นางนอน เพื่อจะนำไปตั้งขนาบข้างภาพ The Heroes ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 13 เมตร ที่ศิลปินร่วมกันวาดภาพเกี่ยวกับปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี จำนวน 13 คน ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 23 มิ.ย.-11 ก.ค.ที่ผ่านมา จนแล้วเสร็จและนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย ท่ามกลางประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเที่ยวชมการวาดภาพ รวมทั้งผลงานศิลปะภายในขัวศิลปะ
        สำหรับที่ภาพศิลปินวาดทั้ง 2 ภาพ มีความเกี่ยวเนื่องกัน ภาพแรกอาจารย์เฉลิมชัย ออกแบบและนำศิลปินวาด เป็นภาพดวงตาพระพุทธเจ้า และวัดสำคัญๆ ในเชียงราย ส่วนอีกใบเป็นภาพตำนานดอยนางนอน ที่วาดด้วยศิลปะล้านนา
          อาจารย์เฉลิมชัยกล่าวว่า หลังจากภาพวาดใหญ่ หรือภาพ The Heroes แล้วเสร็จ จึงได้วาดภาพเล็กอีก 2 ใบไว้ขนาบข้าง โดยภาพตำนานดอยนางนอน จะเล่าเรื่องตั้งแต่เจ้าหญิงของเมืองเมืองหนึ่งที่รักกับชายคนเลี้ยงม้า และหนีออกจากเมืองมาถึงบริเวณดอยนางนอนในปัจจุบัน จากนั้นพระบิดาก็ได้ส่งทหารได้ออกมาติดตาม และฆ่าคนเลี้ยงม้านั้นเสีย ทำให้เจ้าหญิงเสียใจ จึงใช้ปิ่นปักผมแทงตัวเองตายตาม จนเกิดเป็นเทือกเขาดอยนางนอนในปัจจุบัน ภาพนี้จะใช้ศิลปะแบบไทย
    ส่วนอีกภาพเป็นภาพที่อธิบายถึงการที่เด็กๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 คน สามารถรอดจากถ้ำหลวงได้ ก็ด้วยบุญบารมีและจบด้วยความยินดีเบิกบาน โดยด้านล่างเป็นภาพวัดต่างๆ เช่น วัดพระแก้ว วัดร่องขุ่น วัดป่าสัก ไร่เชิญตะวัน ฯลฯ
           อาจารย์เฉลิมชัยบอกว่า ทั้ง 2 ภาพนี้จะใช้เวลาในการวาดประมาณ 2 สัปดาห์ก็แล้วเสร็จ จากนั้นจะมีการนำทั้งภาพ 3 ใบ คือ ภาพ The Heroes, ภาพนางนอน 2 ภาพ และรูปปั้นนาวาตรีสมาน กุนัน หรือจ่าแซม ผู้เสียสละชีวิตในปฏิบัติการที่ถ้ำหลวง ไปติดตั้งที่ศาลาที่กำลังก่อสร้างที่หน้าถ้ำหลวง ซึ่งจะทำให้วนอุทยานถ้ำหลวงฯ กลายเป็นสถานที่ที่เก็บภาพวาด-ผลงานทางศิลปะที่งดงามและทรงคุณค่าของประเทศชาติต่อไป แต่ระหว่างนี้ ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถแวะไปชมตั้งแต่การวาดภาพ การปั้น ทั้งที่ขัวศิลปะและวัดร่องขุ่น ได้จนกว่าจะมีการนำไปติดตั้งที่ถ้ำหลวงในอีก 4-5 เดือนต่อจากนี้
    ขณะที่อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายสมาคมขัวศิลปะ จ.เชียงราย ได้นำศิลปินชาวเชียงรายเดินทางไปยังโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อทำกิจกรรม "สอนน้องหมูป่าวาดรูป" โดยมีนายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอแม่สาย และผู้บริหารโรงเรียนนำนักเรียนในโรงเรียนเข้าเรียนการสอนวาดภาพจากบรรดาศิลปินภายในหอประชุมของโรงเรียน ซึ่งผู้มีร่วมกิจกรรม นอกจากสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีที่เคยติดอยู่ในถ้ำหลวงวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย ระหว่างวันที่ 23 มิ.ย.-11 ก.ค.ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งก็เป็นสมาชิกทีมหมูป่ารุ่นต่างๆ และเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนหนังสืออยู่ในระดับชั้นต่างๆ ของโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์เข้าร่วมด้วย โดยกิจกรรมมีการสอนวาดภาพลายเส้น การใช้สีน้ำ รวมไปถึงการปั้นรูปปั้นขนาดเล็กเป็นรูปหมูป่า ซึ่งสร้างความสนใจให้กับเด็กๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเด็กๆ จากทีมหมูป่าอะคาเดมี ซึ่งได้ร่วมวาดภาพ 
    โดยบางคนยังคงวาดภาพตามจินตนาการ แต่เกี่ยวข้องกับถ้ำหลวง ที่บ่งชี้ถึงสภาพของการติดอยู่ภายใน เช่น หิวข้าว คิดถึงพ่อแม่ การปั่นจักรยานไปถ้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ กิจกรรมเป็นไปด้วยความสนุกสนานและความสุขโดยมีศิลปินแสดงตัวอย่าง สอนความรู้ และเทคนิคด้านการผลิตผลงานทางศิลปะให้กับเด็กๆ 
    อาจารย์สุวิทย์กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวมีขึ้นเพื่อใช้ศิลปะเข้ามามีบทบาทในการฟื้นฟูสภาพจิตใจของน้องๆ จากเหตุการณ์ติดถ้ำหลวงดังกล่าว ศิลปะจึงถือเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อย อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ตามความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเด็กก็เช่นกัน พวกเขาต้องการสิทธิและเสรีภาพที่จะแสดงออกซึ่งความต้องการของเขาอย่างมีความสุข พวกเขาต้องการโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเขาเองในด้านการเรียน การเล่น และการแสดงออกต่างๆ 
    "ดังนั้นศิลปะบำบัดจึงมีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสื่อสารและเสริมสร้างทักษะสังคมอีกด้วย" อาจารย์สุวิทย์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"