เมื่อลูกเกิดบาดแผลทางใจ


เพิ่มเพื่อน    

    ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เด็กหรือลูกเราก็มีความรู้สึก เมื่อมีอะไรมากระทบความรู้สึกย่อมรู้สึกเจ็บ ไม่ต่างจากการที่เขาหกล้มเกิดบาดแผลทางกาย เราในฐานะคนเป็นพ่อแม่ก็ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลเยียวยาทำแผลให้ เมื่อลูกเกิดบาดแผลทางใจเราควรปฐมพยาบาลอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ลูกมาบอกว่า “วันนี้หนูตอบคำถามในห้องแล้วคุณครูบอกหนูว่า ใช้สมองบ้างสิ ชอบทำตัวเป็นคนเจ้าปัญหา เพื่อนๆ ก็มองแล้วหัวเราะหนูใหญ่เลยค่ะ” เราจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และคุณจะตอบลูกว่าอย่างไร คุณคิดว่าความรู้สึกเจ็บหรือเสียใจเมื่อไม่มีคนฟัง ไม่สนใจ หรือไม่เข้าใจความรู้สึกของเราจะแตกต่างกันไหมระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
    มาลองคิดตามกันดูว่าในสถานการณ์เช่นนี้คุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไร คุณเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม 10 โมงเช้าของวันพรุ่งนี้ให้หัวหน้าจนถึงตี 3 แต่ยังไม่ได้ถ่ายเอกสารเนื่องจากห้องถ่ายเอกสารปิด ตอนเช้าคุณมาถึงที่ทำงาน 6 โมงเช้าต้องรอห้องถ่ายเอกสารเปิดตอน 08.30 น. คุณพยายามทำอย่างเร็วที่สุดแต่เครื่องถ่ายเอกสารมีปัญหา จน 10.00 น. เอกสารก็ยังไม่เสร็จ เมื่อหัวหน้ารู้จึงเดินมาต่อว่าคุณว่า “ความสามารถน่ะคุณไม่มีบ้างเลยเหรอ แค่ให้เตรียมเอกสารแค่นี้คุณยังทำให้เสร็จตามเวลาไม่ได้ คุณคิดว่าพวกเราทุกคนต้องรอคุณคนเดียวใช่ไหม” หลังจากนั้นเพื่อนร่วมงานหลายคนก็เข้ามาคุยกับคุณเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้
    “มันไม่ได้แย่ขนาดนั้น ก็แค่เตรียมเอกสารไม่ทัน”
    “ชีวิตมันก็อย่างนี้แหละ มีทั้งวันดีและวันไม่ดี”
    “สิ่งที่คุณควรทำก็คือต้องขอกุญแจห้องถ่ายเอกสารไว้แล้วทำให้เสร็จตั้งแต่เมื่อคืน”
    “ก็รู้ว่าเครื่องมันเสียบ่อยทำไมไม่เผื่อเวลาหรือมีแผนสำรองไว้”
    “ต้องมองในมุมของหัวหน้าบ้างนะว่าจะเดือดร้อนขนาดไหนที่เอกสารไม่พร้อม”
    “มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลย คุณนี่ช่างโชคร้ายแท้ๆ เชียว”
    คุณอาจจะรู้สึกว่าคำปลอบข้างต้นไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นเลย เหตุการณ์มันเกิดขึ้นไปแล้วคงย้อนเวลาไปแก้ไขไม่ได้ แล้วหากมีเพื่อนร่วมงานที่แสดงความเข้าใจความรู้สึกของคุณแล้วพูดว่า “โอ้ ฟังแล้วเข้าใจเลยว่าทำไมเธอถึงโกรธ” คุณจะรู้สึกดีกว่าคำปลอบใจและการแสดงความเห็นข้างต้นหรือไม่ จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราทุกคนต้องการก็คือ ใครสักคนที่เข้าใจความรู้สึกของเราในขณะนั้น ผิดหรือถูกยังไม่ใช่ประเด็น ความรู้สึกที่คุณได้รับจากเหตุการณ์นี้ก็ไม่ต่างจากความรู้สึกของลูกเวลาที่ลูกเกิดบาดแผลทางใจแล้ววิ่งมาหาเรา ลูกก็ต้องการใครสักคนที่เข้าใจและรับรู้ความรู้สึกดังกล่าว  ลูกต้องการคนดูแลความรู้สึกนั้นด้วยการฟังในเนื้อหาและรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความเข้าใจ และใช้จินตนาการเติมเต็มความรู้สึกของลูกให้ดีขึ้นนั่นเอง
                จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
                ([email protected])
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"