อบรมแบบไหนให้ผู้ฟังคล้อยตาม


เพิ่มเพื่อน    

    เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปบรรยายให้กับผู้ต้องขังชายจำนวน 400 คนในเรือนจำแห่งหนึ่งย่านมีนบุรี ซึ่งต่อไปนี้ขอเรียกพวกเขาว่าพี่ๆ ของผมก็แล้วกัน การเข้าไปในเรือนจำจะต้องฝากสิ่งของเครื่องใช้ทุกอย่างไว้ในตู้เก็บของ รวมถึงกระเป๋าสตางค์ด้วย คงจะเป็นเหตุผลในด้านความปลอดภัย ทันทีที่เข้าไปภายในเรือนจำ ค่อนข้างจะตื่นเต้นและกังวลเล็กน้อย เพราะเคยจินตนาการว่าบรรยากาศน่าจะน่ากลัว แต่ทันทีที่พบพี่ๆ ของผม ได้ทักทายเขาด้วยคำว่า “สวัสดีครับ” ด้วยเสียงดังพอสมควร พี่ๆ เขาขานรับด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มและเป็นกันเอง ทำให้ผ่อนคลายขึ้นเยอะเลย ผมพอทราบข้อมูลมาบ้างว่าส่วนใหญ่วิทยากรที่เข้ามาพูดที่นี่จะเป็นการบรรยายใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง วิเคราะห์ดูแล้วเราคงจะต้องปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน เพื่อให้ตรงกับจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ฟัง เพราะหลักจิตวิทยาการเรียนรู้กล่าวว่า “ในขณะที่มนุษย์ต้องการการเรียนรู้ มนุษย์ก็ต้องการความเพลิดเพลินด้วย” การที่จะพูดให้ผู้ฟังจำนวนมากๆ ในห้องที่แออัด อากาศก็ไม่ได้เย็นสบายเพราะไม่ใช่ห้องปรับอากาศ และใช้เวลานานๆ เขาคงจะทิ้งผู้พูดไปตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงแรกแล้ว ผมจึงเลือกใช้การอบรมในรูปแบบ Future Search Conference (FSC) “การเรียนรู้เพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน” ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการอบรมที่แพร่หลายเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันจะพัฒนาการมาเป็นกระบวนการอบรมแบบ Facilitator “กระบวนกร” หมายถึงผู้เรียนหรือผู้ฟังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ผู้พูดหรือวิทยากรมีบทบาทเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ หรือกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ผมใช้กิจกรรม “ถนนชีวิต” แจกกระดาษให้ผู้ฟังคนละ 1 แผ่น พร้อมด้วยสีเทียนคนละ 1 แท่ง (ไม่ใช้ปากกาหรือดินสอเพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย) แล้วให้พี่ๆ เขาเล่าชีวิตด้วยการวาดเป็นเส้น รูปภาพ ถ้าช่วงไหนของชีวิตราบรื่นมีความสุขให้เขียนเป็นถนนเส้นตรง แต่ถ้าช่วงไหนชีวิตมีอุปสรรคมากมาย มีช่วงหักเหของชีวิตให้เขียนเป็นเส้นโค้ง และในระหว่างเส้นทางเหล่านั้นถ้าช่วงไหนเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขให้เขียนเป็นรูปดอกไม้ ต้นไม้ ช่วงไหนมีอุปสรรคมีความทุกข์ให้เขียนเป็นรูปก้อนหินก้อนใหญ่ๆ และช่วงไหนที่มีปัญหามากมายให้เขียนเป็นรูปก้อนหินเล็กๆ จำนวนมากๆ อยู่ใกล้ๆ กัน เมื่อทุกคนเขียนเสร็จก็ให้ส่งตัวแทนหรืออาสาสมัครออกมาอธิบายภาพให้ฟัง ซึ่งช่วงเวลานั้นเองเขาจะพรั่งพรูเล่าเรื่องราวต่างๆ ของเขาออกมา ทำให้เราได้รู้พื้นฐานและปัญหาของแต่ละคน ในระหว่างนั้นเราในบทบาทวิทยากรก็จะมีท่าทีตั้งใจฟังเพื่อให้ความสำคัญกับผู้พูด และแทรกแนวคิดต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับเขา เช่น เราพูดเชิงอุปมาอุปไมยว่า ชีวิตก็คล้ายกับ “ถนน” มีทั้งทางตรงทางโค้ง ทางที่สับสนไม่คุ้นเคย ถ้าเราดูป้ายที่บอกทางแล้วไปตามนั้น เราก็จะไปสู่ที่หมายได้ถูกต้อง แต่ถ้ามีป้ายชี้แนะให้ เรากลับไม่เชื่อ เราอาจหลงทางหรือกว่าจะพบทางที่จะไปแต่ต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น บางเส้นทางที่เป็นสี่แยกที่ต้องวิ่งตัดกัน ถ้าเรารู้จัดเลือกไปยูเทิร์นสักนิด ไม่ต้องไปเอาทุกอย่างเข้าแลกเพื่อให้ไปได้ เราจะพบว่ามันอาจจะช้าแต่ปลอดภัย เสมือนว่าเรารู้จักหลีกเลี่ยงจากการมีปัญหากับผู้คน กับเหตุการณ์ร้ายๆ คือ ไม่จำเป็นต้องชนะในทุกๆ เรื่อง ยอมแพ้เพื่อชนะ ยอมเสียเวลาเพื่อให้ไปต่อได้ อดทนมีสติเพื่อให้เกิดปัญญา
    ตลอดระยะเวลาของการอบรมเกือบ 3 ชั่วโมงเต็ม มีบรรยากาศที่ผ่อนคลายสนุกสนานและการมีส่วนร่วม ได้ประโยชน์และความพึงพอใจกันทั้งผู้พูดและผู้ฟัง นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยที่นำมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับประสบการณ์งานอบรม ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับผู้อ่านสำหรับการนำไปปรับใช้กับการอบรมพัฒนาทีมงานในองค์กรของท่านนะครับ.
                    รังสรรค์ ปู่ทอง
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"