ชุดเครื่องมือเสริมพลังครอบครัว


เพิ่มเพื่อน    

    การทำงานร่วมกับครอบครัวของเยาวชนผู้เคยก้าวพลาด ถือเป็นการทำงานที่ท้าทายและสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการฟื้นฟูเยาวชนผู้เคยก้าวพลาดได้สามารถพลิกฟื้นตัวเองกลับมาเป็นพลเมืองของสังคม ที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเรื่องนี้อย่างมาก โดยป้ามล ทิชา ณ นคร ได้ใช้เวลามากกว่า 7 ปีในการสังเคราะห์ปัญหาที่เป็น “ปัจจัยผลักไสไล่ส่งออกจากบ้าน” และ “ปัจจัยดึงดูดจากนอกบ้าน” ที่ได้มาจากเสียงสะท้อนของเยาวชนในบ้านกาญฯ ขึ้นมาพัฒนาเป็นชุดกระบวนการและเครื่องมือการเสริมพลังครอบครัว (Empowerment) โดยชุดเครื่องมือนี้ได้ถูกนำไปใช้อย่างน้อยปีละ 6 ครั้งที่บ้านกาญจนาภิเษกฯ หลังจากที่เยาวชนได้เข้ามาอยู่ในบ้านแล้วประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งเยาวชนทุกคนในบ้านจะถูกทำงานทางความคิด เพิ่มคลังคำศัพท์ การวิเคราะห์ปัจจัยของปัญหาต่างๆ ในสังคม ผ่านการวิเคราะห์ข่าว วิเคราะห์หนัง อย่างต่อเนื่อง
    โดยก่อนจะเข้าสู่การทำงานร่วมกันระหว่างครอบครัวและลูกหลาน กระบวนการได้ออกแบบให้การพูดคุย ชวนคิด ชวนวิเคราะห์ร่วมกับครอบครัว เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจ เปิดใจ พร้อมรับฟังเสียงสะท้อนจากลูกหลาน นอกจากการชวนคิดชวนคุย ยังได้มีการออกแบบกระบวนการให้ร่วมวิเคราะห์ภาพยนตร์ร่วมกันระหว่างครอบครัวและลูกหลาน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการกระทำความผิดของคนหนึ่งคน จากนั้นการ์ด 37 ใบได้ถูกนำขึ้นมาใช้ เริ่มนำเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและลูกว่าโครงสร้างความผิดพลาดของคนคนหนึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่ผลักไสไล่ส่งลูกให้ออกนอกบ้าน และปัจจัยที่ดึงดูดนอกบ้าน ในขั้นตอนนี้ทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกันจากบัตรทีละใบว่าบัตรใดเป็นปัจจัยของช่องไหน เมื่อวางบัตรครบทั้ง 37 ใบแล้ว ชวนวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่ผลักไสไล่ส่งลูกออกจากบ้านนั้น ทุกบ้านสามารถควบคุมได้ ขึ้นอยู่กับสมาชิกในบ้าน แล้วให้ลูกตัดสินใจเลือกบัตรแต่ละบ้าน บอกเล่าเหตุผลของตนให้พ่อแม่และผู้ปกครองฟัง หลังจากนั้นจะเป็นการสะท้อนความเห็นและความรู้สึกของพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมีผู้นำกระบวนการคอยช่วยให้การพูดคุยเป็นไปบนพื้นฐานความเข้าใจ
    กระบวนการและเครื่องมือข้างต้น ถือเป็นนวัตกรรมทางสังคมชิ้นสำคัญในการทำงานร่วมกับครอบครัวของเยาวชน โดยในช่วงปีที่ผ่านมานักวิชาการจากไลฟ์ เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) และมูลนิธิวายไอวาย ได้เข้าไปศึกษาและร่วมต่อยอดกระบวนการและเครื่องมือให้ออกมาในรูปของชุดเครื่องมือเสริมพลังครอบครัว (Empower: The Family Toolkit) และได้มีการทำงานร่วมกับบ้านกาญจนาภิเษกฯ ในการนำเครื่องมือไปทดลองใช้ในกลุ่มนักเรียนระดับชั้น ม.2 ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการฯ ซึ่งพบว่ากระบวนการและเครื่องมือนี้มีส่วนช่วยให้เกิดการสื่อสารพูดคุย ทำความเข้าใจระหว่างเด็กนักเรียนกับผู้ปกครองอย่างมาก ช่วยให้เกิดการเปิดใจสะท้อนปัญหาภายในครอบครัวอย่างตรงไปตรงมาบนพื้นฐานความเข้าใจ นับได้ว่ากระบวนการและชุดเครื่องมือนี้ คืออีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ทำงานกับวัยรุ่น และครอบครัวของวัยรุ่น ทั้งในสถานพินิจ และโรงเรียนที่ต้องการสร้างพื้นที่การเสริมพลังและการทำงานร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและลูกหลาน ในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ให้เกิดความเข้าใจและบทเรียนร่วมกัน อันเป็นพื้นฐานของการสร้างให้ครอบครัวสามารถกลับมาทำหน้าที่เป็นปัจจัยเชิงป้องกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง.
                    จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
                    ([email protected])


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"