สิทธิของเด็ก ในยุคโซเชียลมีเดีย


เพิ่มเพื่อน    


    ในยุคนี้คนเรามักจะโพสต์ทุกอย่างลงโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่เรื่องกิน เรื่องเที่ยว เรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และพ่อแม่ส่วนใหญ่ก็ชอบโพสต์เรื่องลูก โดยความเชื่อที่ว่าตัวเองมีสิทธิอย่างเต็มที่ในตัวลูก การที่พ่อแม่นำภาพของลูกๆ ไปเผยแพร่โดยตรงโดยลืมนึกถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างสิทธิของพ่อแม่ในการแบ่งปันประสบการณ์ตัวเองกับลูกๆ กับสิทธิในความเป็นส่วนตัวของเด็กนั้น มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และมหาวิทยาลัยมิชิแกนของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการโพสต์รูปลูกลงโซเชียล กับเด็กที่เติบโตมาพร้อมกับเฟซบุ๊กเมื่อ 12 ปีก่อน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กกับผู้ใหญ่จำนวน 249 คน ทำการสอบถามกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-17 ปี การศึกษาครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่จากหนังสือพิมพ์ New York Times ผลการศึกษาพบว่า เด็กยุคใหม่ที่โตมาพร้อมกับโซเชียลมีเดียต้องการที่จะควบคุมภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น
    ทางด้านพ่อแม่ที่โพสต์เรื่องราวและรูปภาพของลูก เพราะต้องการที่จะแบ่งปันการเลี้ยงดูลูก ความน่ารักและพัฒนาการของลูกตนให้คนอื่นได้รับรู้ ไม่ใช่ลงเพราะต้องการแกล้งลูกแต่อย่างใด ในการโพสต์แต่ละครั้งต้องหาจุดสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวของลูกและสิทธิในการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ รวมถึงไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกมากเกินไปบนสื่อออนไลน์ เพราะอาจจะถูกค้นเจอโดยคนที่ไม่รู้จัก หรือคนที่ไม่ประสงค์ดีบนโลกโซเชียลได้ ข้อมูลที่โพสต์ลงบนโซเชียลถือเป็น Digital Footprint ที่ยังคงสืบค้นหาร่องรอยส่วนบุคคลของคนนั้นได้ตลอด เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลที่เราโพสต์ลงทุกวันนั้น ในอีกสิบปี ยี่สิบปีข้างหน้าจะมีผลกระทบอย่างไรกับลูกเรา และตัวลูกเองจะอึดอัด ขัดใจ หรือรู้สึกไม่พอใจกับข้อมูลดังกล่าวเพียงใด อย่าลืมว่าการตรวจสอบประวัติการเข้าทำงานหรือศึกษาต่อนั้น ฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่ก็จะสืบค้นข้อมูลทางโลกไซเบอร์ได้ตลอดเวลา แค่ใส่ข้อมูลชื่อ นามสกุลของผู้ที่เราต้องการสืบค้นเข้าไป ก็จะพบข้อมูล รูปภาพมากมาย ในต่างประเทศถึงกับมีบริษัทรับจ้างทำ Facebook และ IG เพื่อสมัครงานโดยเฉพาะ
    ในขณะเดียวกัน การโพสต์แชร์ภาพเด็ก แม้แต่ภาพความน่ารักของเด็ก ก็อาจจะเป็นช่องทางเสี่ยงทำให้เด็กตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดีได้ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเข้ามาเกี่ยวข้องกับโลกโซเชียลเกินกว่าวัย การภาพถ่ายลูกร่วมกับเด็กคนอื่น แล้วนำลงโดยไม่ได้ขออนุญาตผู้ปกครองเด็กก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิเด็กคนอื่นเช่นกัน โดยเฉพาะการโพสต์เรื่องที่เกี่ยวกับโรงเรียนของลูก กิจกรรมในโรงเรียน หรือการแชร์โลเกชั่นโรงเรียนของลูก ข้อมูลเหล่านี้ไม่ควรเปิดเผย เพราะจะเป็นการป้องกันเหล่ามิจฉาชีพในการเข้าถึงข้อมูลเด็กได้ เป็นการป้องกันอันตรายให้ลูกได้ในเบื้องต้น จากที่เคยอบรมเรื่องสิทธิเด็กกับ UNODC มีคลิปที่ทางผู้บรรยายนำเสนอให้เห็นผลกระทบของการโพสต์ ลองเปิดดูแล้วไตร่ตรองสักนิดก่อนคิดที่จะโพสต์รูปหรือเรื่องราวของเด็กว่าจะมีผลกระทบกับพวกเขาอย่างไรในอนาคต https://www.youtube.com/watch?v=nOUu1fldBbI#action=share.

                  จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
                ([email protected])


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"