The Potential องค์ความรู้ใหม่ ที่ครูและพ่อแม่ต้องติดตามอ่าน


เพิ่มเพื่อน    

    ได้อ่านข้อมูลในเพจที่ชื่อว่า The Potential อดไม่ได้ที่ต้องติดตามอ่านอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกบทความมีประโยชน์และให้ความรู้มากมาย เลยต้องเข้าไปสืบค้นที่มาของเพจนี้ พบว่าจัดทำโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล คำว่า ‘Potential’ ในที่นี้ตั้งขึ้นเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่ ‘ที่พัฒนาได้เสมอ’ และเขาจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต และวัตถุประสงค์ในการทำเพจนี้ก็คือการสร้างพื้นที่สื่อสารองค์ความรู้และแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้านเยาวชนและคนรุ่นใหม่ ด้วยความรู้ที่มาจากประสบการณ์ตรงในการทำงานกับคนวัยนี้ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอเสนอทฤษฎีการเรียนรู้ยุคใหม่ให้ปรับใช้ได้จริง และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน และเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นอันนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในทุกด้านของศตวรรษที่ 21
    แต่ละบทความแค่อ่านหัวข้อก็อดไม่ได้ที่จะเปิดอ่าน ยกตัวอย่างเช่น “ความโง่ไม่ใช่สิ่งถาวร ถ้าเขามี ครู ให้พิงหลัง” “เด็กไม่ได้อยากได้แค่ความรู้ แต่ อยากให้ครูมองเห็น” หรือบทสัมภาษณ์และคลิปของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการศึกษาของไทย อันได้แก่ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ชวนไป sit in “ห้องเรียนพ่อแม่” และการให้ความสำคัญของ Executive Function ในเด็ก หรือคลิปของแจ็ก หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารอาลีบาบาที่กล่าวในการเปิดการประชุมเศรษฐกิจโลก เมื่อวันที่ 23-28 มกราคม 2018 ณ เมืองดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่กล่าวว่า “ถ้าเราสอนด้วยความรู้เดิมเมื่อ 200 ปีก่อน เราคงสอนให้เขาสู้กับเทคโนโลยีในอนาคตไม่ได้” “ครูต้องสอนสิ่งใหม่ คุณค่า ความเชื่อ อิสระทางความคิด การทำงานเป็นทีม สิ่งเหล่านี้คือความพิเศษและแตกต่างซึ่งไม่มีเทคโนโลยีใดเทียบได้”
    ที่ประทับใจมากที่สุดก็คือ บทสัมภาษณ์ครูวิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนต้นแบบที่พยายามสาธิตให้เห็นว่า โรงเรียนไม่ใช่กะลา การศึกษาไม่ใช่เรื่องของการท่องจำ การวัดประเมินผลไม่ใช่แค่ตัวเลขเกรดเฉลี่ยอันสวยหรู หรือตัดสินกันที่สอบได้หรือสอบตก แต่การศึกษาที่แท้คือกระบวนการพัฒนาตน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เผชิญปัญหา และค้นหาวิธีแก้ไขด้วยตัวของตัวเอง หลักคิดพื้นฐานของครูวิเชียรคือ การเคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์ โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้ เช่นนี้แล้ว ครูจึงมิใช่ ‘ผู้สอน’ หากแต่เป็น ‘ผู้ร่วมทาง’ ไปบนเรือลำเดียวกันกับผู้เรียน ทั้งหมดนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากครูยังไม่สามารถข้ามพ้นจากกับดักความคิดแบบ ‘Fixed Mindset’ ครูวิเชียรยังคงใฝ่ฝันที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย เด็ก ม.3 ทุกคนที่จบออกไปจากโรงเรียนนี้จะได้ใบประกาศเป็นก้อนหินที่เขียนไว้ว่า “ไม่มีหินก้อนใดโง่” และสำหรับครูวิเชียร การสอบเป็นเครื่องมือที่หยาบ เห็นตื้น เห็นไม่จริง เพราะ mindset ของคนก็ยังเข้าใจว่าครู คือ ‘ผู้สอน’ จะไปเปลี่ยนให้เขาเป็นผู้อำนวยการสอนหรือผู้จัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ยาก
    ครูวิเชียรเชื่อว่า เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทยได้ กระทั่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของโลกทั้งใบ ตราบใดที่เรายังไม่สามารถเปลี่ยนโลกทัศน์ในดวงตาเพื่อก้าวไปสู่กรอบความคิดแบบเติบโต เมื่ออ่านบทสัมภาษณ์ของครูวิเชียรจบ เริ่มมองเห็นแสงสว่างในการปฏิรูปการศึกษาไทยขึ้นมารำไร เพราะแต่ละเวทีมีแต่นักพูดมากกว่านักทำ อ้างหลักการของประเทศต่างๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักความจริงและความเป็นไปได้ แต่สิ่งที่ครูวิเชียรทำคือการลงมือสร้างโรงเรียนต้นแบบ ทำให้เห็น และเปลี่ยนแปลงให้ดู โรงเรียนที่ไม่มีเสียงระฆัง โรงเรียนที่ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง โรงเรียนที่ไม่มีดาวให้นักเรียน โรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน โรงเรียนที่ไม่มีการสอบ โรงเรียนที่ไม่จัดลำดับความสามารถของนักเรียน โรงเรียนที่ให้นักเรียนกำหนดเป้าหมายชีวิตด้วยตัวเอง โรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก และโรงเรียนที่ทุกคนต้องเรียนรู้อย่างมีความสุข ปัจจุบันมีโรงเรียนในเครือข่ายลำปลายมาศโมเดลกว่า 60 โรงเรียน พ่อแม่ทุกคนคงอยากเห็นทุกโรงเรียนในประเทศไทยเป็นแบบนี้ ก็ต้องติดตามกันต่อไป ได้แต่ฝากความหวังในการปฏิรูปการศึกษาไว้กับรัฐบาลชุดนี้ ติดตามข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้ที่ www.thepotential.org เว็บไซต์ซึ่งจะย่อยองค์ความรู้ผ่านคลิปวิดีโอ การ์ตูน และ Infographic ที่น่าสนใจ.

                จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
                ([email protected])


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"