นาซาโวยอินเดียยิงทำลายดาวเทียม ก่อขยะอวกาศคุกคาม ISS


เพิ่มเพื่อน    

ผู้อำนวยการนาซาตำหนิอินเดียยิงทำลายดาวเทียมก่อขยะอวกาศ 400 ชิ้นที่เป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส)

จรวด PSLV-C45 ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ทะยานจากฐานปล่อยของศูนย์อวกาศสาทิสธวันเพื่อส่งดาวเทียม 28 ดวงของหลายประเทศ ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 / AFP

    จิม ไบรเดนสไตน์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) กล่าวกับเจ้าหน้าที่ขององค์การนาซาเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2562 โดยระบุว่าการยิงทำลายดาวเทียมของอินเดียนั้นเป็นเรื่องที่แย่มาก

    อินเดียประกาศความสำเร็จในการยิงมิสไซล์ทำลายดาวเทียมดวงหนึ่งของตนในวงโคจรต่ำเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ซึ่งทำให้อินเดียเป็นชาติที่ 4 ในโลกที่มีขีดความสามารถดังกล่าว ต่อจากสหรัฐ, รัสเซีย และจีน อินเดียอ้างว่าเลือกทำลายดาวเทียมในวงโคจรต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของขยะอวกาศ ซึ่งจะถูกเผาไหม้หมดไปเป็นส่วนใหญ่ แต่ไบรเดนสไตน์ระบุว่า ดาวเทียมดวงนี้กลายเป็นขยะอวกาศกว่า 400 ชิ้น และไม่ใช่ทุกชิ้นที่มีขนาดใหญ่พอที่จะติดตามได้

    "สิ่งที่เรากำลังติดตามดูในตอนนี้ คือวัตถุที่มีขนาดใหญ่มากพอต่อการติดตามรอย ซึ่งก็คือวัตถุที่มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตรขึ้นไป ที่มีราว 60 ชิ้น" เขากล่าว

    ดาวเทียมที่โดนยิงทำลายนั้นโคจรที่ระดับความสูง 300 กิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าวงโคจรของไอเอสเอส และดาวเทียมส่วนใหญ่ แต่ผู้อำนวยการนาซาระบุว่า มีขยะ 24 ชิ้นที่อยู่เหนือวงโคจรสูงสุดของไอเอสเอส ซึ่งเป็นเรื่องที่แย่มากๆ

    "กิจกรรมลักษณะนี้เข้ากันไม่ได้กับการเดินทางสู่อวกาศของมนุษย์ในอนาคต...เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และนาซาจำเป็นต้องกล่าวให้ชัดเจนอย่างมากเรื่องผลกระทบที่เกิดกับเรา" เขากล่าว

    กองทัพสหรัฐติดตามร่องรอยของวัตถุในอวกาศเพื่อทำนายความเสี่ยงที่จะเกิดการชนกับไอเอสเอสและดาวเทียม ปัจจุบันกองทัพสหรัฐกำลังติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ 23,000 ชิ้นที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร ในจำนวนนี้ เป็นขยะอวกาศประมาณ 10,000 ชิ้น ซึ่งเกือบ 3,000 ชิ้นนั้นเป็นผลพวงจากการยิงทดสอบจรวดทำลายดาวเทียมดวงหนึ่งของจีน ที่ระดับความสูงประมาณ 853 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก เมื่อปี 2550  

    ไบรเดนสไตน์กล่าวอีกว่า ผลของการยิงทำลายดาวเทียมล่าสุดของอินเดีย ทำให้ความเสี่ยงที่วัตถุในอวกาศจะชนไอเอสเอสนั้นเพิ่มขึ้น 44% ในช่วงเวลา 10 วัน กระนั้นความเสี่ยงนี้จะลดน้อยลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา เนื่องจากเศษซากวัตถุส่วนใหญ่จะเผาไหม้เมื่อตกสู่ชั้นบรรยากาศ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"