วัยแสบสาแหรกขาด


เพิ่มเพื่อน    


    ในฐานะคนที่เฝ้าดูการแก้ปัญหาการศึกษาของไทยมาโดยตลอด อดไม่ได้ที่จะเป็นแนวร่วมของคุณหมอสุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ที่ขอเชิญชวนคนไทยกว่า 20 ล้านครอบครัวมาชมละครสะท้อนสังคมเรื่องนี้ เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวหันมาร่วมกัน “ฟังเสียงจากข้างใน เพื่อความเข้าใจกันมากขึ้น” แค่ฉากแรกที่พูดถึง “การค้นพบคุณค่าในตัวเองของเด็ก” ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ครูทรายกล่าวว่า เมื่อเด็กเจอปัญหาจะตอบโต้ออกมาใน 3 รูปแบบ ได้แก่ Fight คือการต่อสู้กลับ Flight คือการหลีกเลี่ยงปัญหา และ Freeze คือความเย็นชา เป็นการสู้ปัญหาด้วยความไม่พร้อม พ่อแม่จึงต้องใช้หัวใจฟังในสิ่งที่เราไม่ได้ยินเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากขึ้นนั่นเอง
    ในเรื่องนี้ได้สะท้อนปัญหาของเด็กถึง 5 รูปแบบ ได้แก่ “บุ๊ค” ที่มีอาการ Gaming Addiction เล่นแบบไม่ยอมหลับยอมนอน ไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะในเกม บุ๊คสามารถคุยกับคนอื่นได้ ได้ไปอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่ง ละครได้สะท้อนถึงปัญหาการหย่าร้าง และการเลี้ยงดูที่มีผลกระทบมาถึงลูก ตลอดจนขั้นตอนในการรักษาเด็กติดเกมเพื่อให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมา
    “ลูกพีท” เด็กที่มีลักษณะ Temper Tantrum แสดงอาการกรี๊ดใส่เมื่อไม่ได้ดังใจ เป็นหลานเทพที่เกิดจากการตามใจของตาและยาย ซึ่งหลายบ้านอาจมีลักษณะการเลี้ยงดูแบบที่เรียกว่า “พ่อ แม่ รังแกฉัน” ไม่ต่างจากลูกพีทในเรื่องนี้ เราจึงเห็นลูกเทพ หลานเทพ ที่เอาแต่ใจเต็มไปหมด
    “วี” เด็กที่มีลักษณะ Perfectionism ที่ต้องแบกความคาดหวังของพ่อ แม่ และคนรอบข้างไว้ตลอดเวลา ทำให้เกิดความกดดันจนหาทางออกด้วยตัวเองไม่ได้ ในขณะที่พ่อแม่และครูก็ไม่รู้ตัวว่าเป็นคนสร้างความกดดันให้เด็ก
    “ใบพัด” เด็กที่กำพร้าพ่อแม่ และมีภาวะ Autism ขาดคนเข้าใจ แต่ต้องมาเรียนร่วมกับเด็กปกติ ต้องอาศัยความเอาใจใส่ของครูการศึกษาพิเศษ ต้องการความเข้าใจและการให้โอกาสของคนรอบข้างเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้รับความเข้าใจและการยอมรับจากเพื่อนๆ และผู้ปกครองที่ไม่มีความเข้าใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    “อุ่น” เด็ก Gender Creative ที่มีปัญหาความหลากหลายในเพศตัวเอง เกิดจากการเลี้ยงดูทำให้อุ่นไม่พอใจในเพศของตัวเอง เนื่องจากเห็นความอ่อนแอของแม่ พ่อชอบต่อว่าแม่ ทำให้เกลียดความเป็นผู้หญิงซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง
    ตัวละครที่สะท้อนปัญหาใน 5 รูปแบบนั้นไม่ได้เป็นปัญหาที่ไกลตัวเลย มีให้เห็นแทบทุกโรงเรียน ผู้เขียนบทได้สอดแทรกการเรียนการสอนแบบ PBL ที่เน้นการเรียนการสอนด้วยการลงมือทำมากกว่าการวัดผลด้วยคะแนน ที่น่าสนใจคือโครงการ “ผูกสาแหรก” ที่มุ่งเน้นในการปรับพฤติกรรมและแก้ปัญหาเด็ก โดยการเยี่ยมบ้านเด็ก เพื่อเข้าไปสัมผัสและร่วมมือกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาร่วมกัน ละครเรื่องนี้เป็นละครที่นอกจากคนที่เป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครูต้องดูแล้ว อยากให้ผู้ที่มีอำนาจในบ้านเมืองนี้ได้รับชมเพื่อหาทางปฏิรูปการศึกษาให้เป็นรูปธรรมเสียที. 

                จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
              ([email protected])
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"