โรคใหม่ที่ควรใส่ใจในเด็กไทย


เพิ่มเพื่อน    

พ่อแม่ในยุคปัจจุบันไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง น้อยคนนักที่ยอมเสียสละลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลูก น้อยคนนักที่จะดูแลอบรมบ่มนิสัย และดูแลพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิดด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่จะจ้างพี่เลี้ยง ซึ่งถ้ามีเงินอาจจ้างจากศูนย์โดยมีอัตราค่าจ้างราคาค่อนข้างสูง และต้องมาวัดดวงกันว่าจะได้ที่ดีและถูกใจหรือไม่ บางครอบครัวก็จ้างแรงงานต่างด้าวซึ่งมีผลอย่างยิ่งกับการพัฒนาการทางด้านภาษาของลูก บางครอบครัวก็ส่งเข้าศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ด้วยสังคมที่เปลี่ยนไปพ่อแม่หลายคนยินดีจ่ายเงินจ้างคนมาเลี้ยงดูลูกมากกว่าลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้พัฒนาการของเด็กยุคใหม่ค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องการพูด จะพูดช้ากว่าเด็กยุคก่อนที่อาศัยปู่ย่าตายายเป็นผู้เลี้ยงดู ได้รับความรักความอบอุ่นและการดูแลอย่างใกล้ชิด อีกปัญหาหนึ่งที่พบเจอกันมากในเด็กไทยยุค 4.0 ก็คือ โรคที่เรียกว่า ความบกพร่องในการประมวลผลทางประสาทสัมผัส หรือ Sensory Processing Disorder (SPD)
    ปัจจุบันรอบตัวของเด็กมีแต่สิ่งเร้าเต็มไปหมด ทำให้เด็กปรับตัวไม่ทัน หลายบ้านที่เลี้ยงลูกด้วยการยื่นแท็บเล็ตให้ ในขณะที่สมองของเด็กจะมีกระบวนการจัดระเบียบการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งเป็นระบบประสาทที่สามารถรับรู้สัมผัสผ่านอวัยวะส่วนต่างๆ ผ่านขั้นตอนการประมวลผลภายในร่างกาย จากนั้นสมองจึงสั่งให้ตอบสนองสิ่งที่มากระตุ้นหรือสัมผัสอย่างเหมาะสม ระบบรับรู้ความรู้สึกอาจแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การรับสัมผัส (Tactile Sense) การรับความรู้สึกผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อของร่างกาย (Proprioceptive Sense) ระบบการทรงตัว (Vestibular System) ซึ่งในเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดระบบประสาทสัมผัสทุกส่วนจะพัฒนาไปตามวัย เมื่อเด็กโตขึ้นระบบการทำงานทั้ง 3 ส่วนจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสัมพันธ์กันและช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างที่เด็กประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การรับรู้ได้ถึงอวัยวะทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า การประกอบกิจกรรมเดิน-วิ่ง การทำงานร่วมกับเพื่อน การพูดคุยกับคนแปลกหน้า เป็นต้น
    กระบวนการของสมองนั้นมีหน้าที่จัดการกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกายและจิตใจ อันได้แก่ ความรู้สึกจากการสัมผัส แสง เสียง กลิ่น รสชาติ ความรู้สึกต่างๆ ต่อการเคลื่อนไหวและการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อใช้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวในแต่ละวัน ถ้าเด็กมีระบบการประมวลผลที่ดีจะส่งผลให้สมองเกิดการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมในการตอบสนองกับสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ ได้อย่างดี หากเด็กมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไวกว่าปกติ ทำให้สมองประมวลผลไม่ทัน เด็กจะมีอาการขาดสมาธิง่าย เพราะประสาทสัมผัสทั้ง 5 รับสิ่งเร้าเข้ามาหมด แต่สมองประมวลผลไม่ทัน และไม่สามารถเลือกสิ่งเร้าที่จำเป็นได้ โดยทั่วไปจะมีพฤติกรรมเหมือนโรคสมาธิสั้น แต่มาจากสาเหตุต่างกัน เพราะ SPD เกิดจากการที่สมองประมวลผลสิ่งเร้าบกพร่อง พบได้บ่อยในกลุ่มอาการ Autism Spectrum Disorders (ASD) แต่เด็กที่มีภาวะ SPD ไม่ได้เป็น ASD ทุกราย แต่อย่างไรก็ตามภาวะ SPD ส่งผลให้เด็กมีความยากลำบากในการประกอบกิจกรรมในการดำเนินชีวิต เด็กเหล่านี้ต้องการเวลาในการใช้สมาธิเพื่อประมวลข้อมูลในการตอบสนองกับสิ่งเร้า อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ มากกว่าเด็กปกติ ส่งผลให้เด็กมีปัญหาในการพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวและทักษะทางสังคม หากครูและผู้ปกครองไม่เข้าใจมักจะตัดสินเด็กจากพฤติกรรมที่แสดงออก    คำถามที่เกิดขึ้นในใจก็คือ ทำไมเด็กสมัยใหม่มีโรคอะไรแปลกๆ ที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน คำตอบก็คือ ด้วยสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวให้ทันกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปให้ทันเช่นกัน สมัยก่อนเรายังได้สมผัสกับธรรมชาติและการละเล่นที่ติดดิน ได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อตามวัย ได้รับแสงแดดและมีอากาศบริสุทธิ์สูดเข้าปอด ในขณะที่เด็กยุคใหม่อยู่กับจอสี่เหลี่ยม รับรู้ข้อมูลที่ไวทั้งแสง สี เสียง แต่ไม่ได้สัมผัสของจริง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดระบบการประมวลผลทางประสาทสัมผัสบกพร่อง พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกด้วยตัวเองและใส่ใจพฤติกรรมตลอดจนพัฒนาการตามวัยจะสังเกตเห็นได้ง่าย และปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดสิ่งเร้า และให้เด็กเรียนรู้และสัมผัสกับธรรมชาติด้วยตัวเอง ที่สำคัญคือ ยังมีน้อยคนนักที่ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ การเลี้ยงลูกในยุค 4.0 จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อีกต่อไป.

                    จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์                             

                 ([email protected])
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"