พบเชื้อเพลิงรั่วไหล เหตุอินเดียเลื่อนส่งยานลงดวงจันทร์


เพิ่มเพื่อน    

สื่ออินเดียเผย ต้นเหตุที่ทำให้อินเดียต้องเลื่อนการปล่อยจรวดเมื่อวันจันทร์ เพื่อส่ง "จันทรายาน-2" ไปลงจอดบนดวงจันทร์ ทั้งที่เหลือเวลานับถอยหลังอีกไม่ถึง 1 ชั่วโมง เกิดจากปัญหาเชื้อเพลิงรั่ว

นักข่าวยืนรายงานใกล้กับตัวเลขการนับถอยหลังปล่อยจรวด ภายหลังอินเดียยกเลิกการปล่อยจรวดนำส่งจันทรายาน-2 ไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 / AFP

    อินเดียคาดหวังว่าจะเป็นประเทศที่ 4 ของโลกที่ส่งยานไปลงจอดบนดวงจันทร์ต่อจากรัสเซีย, สหรัฐ และจีน แต่กำหนดการส่งยานอวกาศ "จันทรายาน-2" ขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2562 ถูกยกเลิกกะทันหันในขณะที่การนับถอยหลังเพื่อปล่อยจรวด จีเอสแอลวี-มาร์ค 3 หยุดไว้ที่เวลา 56 นาที 24 วินาที

    องค์การวิจัยอวกาศอินเดียชี้แจงเหตุผลของการยกเลิกภารกิจครั้งนี้เพียงว่าเกิดจาก "ปัญหาเล็กน้อยทางเทคนิค" จึงต้องใช้มาตรการป้องกันไว้ก่อน และไม่ได้เปิดเผยว่าจะปล่อยจรวดครั้งใหม่เมื่อใด

    อย่างไรก็ดี เอเอฟพีรายงานเมื่อวันอังคารว่า หนังสือพิมพ์ไทมส์ออฟอินเดียอ้างคำกล่าวของนักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่ไม่เปิดเผยนามรายหนึ่งว่า ปัญหาเกิดจากเชื้อเพลิงรั่วไหลในถังเก็บเชื้อเพลิงฮีเลียมของจรวด "หลังจากเติมก๊าซฮีเลียมแล้ว เราพบว่าความดันในถังลดลง ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการรั่วไหล"  เขากล่าว และเสริมว่ามีความเป็นไปได้ที่มีการรั่วไหลหลายจุดด้วย

    ฮินดูสถานไทมส์อ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่อาวุโสของ ISRO รายหนึ่งว่า โชคดีที่ภารกิจนี้ยังไม่เข้าสู่ระยะของการปล่อยจรวดแบบอัตโนมัติ มิเช่นนั้นทุกสิ่งทุกอย่างคงสูญสิ้น

ยานสำรวจดวงจันทร์ จันทรายาน-2 ติดตั้งบนจรวดจีเอสแอลวี-มาร์ค3 / AFP

    รายงานข่าวของสื่ออินเดียกล่าวด้วยว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งอุดรูรั่วให้ทันช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปล่อยจรวดช่วงปลายเดือนกรกฎาคม แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกันว่า พวกหัวหน้าจะต้องใช้ความรอบคอบในการปฏิบัติภารกิจหากจะปล่อยจรวดครั้งใหม่

    ราวี คุปตะ นักวิทยาศาสตร์ที่เคยทำงานที่องค์การวิจัยและพัฒนาด้านการป้องกันประเทศของรัฐบาลอินเดีย กล่าวว่า หากการปล่อยจรวดไม่ทันภายใน 48 ชั่วโมง ภารกิจนี้อาจต้องเลื่อนไปอีก 2  เดือน จนกว่าจะมีช่วงเวลาที่อำนวยสำหรับการปล่อยจรวด

    ภารกิจจันทรายาน-2 ของอินเดียใช้งบประมาณแค่ราว 140 ล้านดอลลาร์ (4,325 ล้านบาท) เป็นงบที่น้อยที่สุดภารกิจหนึ่งในอุตสาหกรรมด้านอวกาศที่แข่งขันกันสูง อุปกรณ์ส่วนใหญ่ผลิตเองในประเทศ

    ปีนี้มียานอวกาศถูกส่งไปดวงจันทร์มาแล้ว 2 ภารกิจ ได้แก่ ภารกิจฉางเอ๋อ-4 ของจีน ที่ลงจอดบนพื้นผิวด้านมืดของดวงจันทร์เมื่อเดือนมกราคม และภารกิจของยานเบเรชีตของอิสราเอลเมื่อเดือนเมษายน ที่ล้มเหลวเมื่อยานตกกระแทกพื้นผิว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"