ถอดระหัส'ชิมช้อปแช่ง'!ค่ายกักกันไร้รั้วล้างสมองคนในสายตา'สหายเข้ม'และครอบครัว


เพิ่มเพื่อน    

2 ต.ค.62- หลังนายสลักธรรม โตจิราการ บุตรชายนพ.เหวง โตจิราการ  หรือ สหายเข้ม แกนนำนปช. โพสต์ข้อความ โจมตีโครงการชิมช้อบใช้ของรัฐบาลว่า อันตรายคสช.ตั้งใจที่จะสืบทอดอำนาจอย่างน้อยยี่สิบปี ที่น่ากลัวและน่าเป็นห่วงคือสร้างรัฐ(ข้าราชการ)ตำรวจ เรื่อง “การจดจำใบหน้าผ่านแอปพลิเคชัน”ที่รัฐไทยพยายามสร้าง “ระบบจดจำใบหน้า” ประชาชนคือ  “หนูทดลอง”ระบบจดจำใบหน้าของรัฐไทย ระบบนี้อาจเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบรัฐตำรวจที่กล้องวงจรปิดจดจำผู้ “กระด้างกระเดื่อง”ต่อรัฐ 100% และสร้าง “ค่ายกักกันไร้รั้ว”แบบที่จีนทำในซินเจียงได้

ค่ายกักกันไร้รั้ว ซินเจียง คืออะไร?

เขตปกครองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกของจีน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม สื่อตะวันตกมักกล่าวถึงการปกครองของจีนต่อเขตปกครองซินเจียงอุยกูร์ในเชิงลบเสมอมา มองว่าจีนต้องการกลืนชาติกลืนศาสนา มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง  

จากคำบอกเล่าของ "โอมีร์ เบกาลี"  ผู้มีเชื้อสายคาซัคสถาน อดีตผู้เคยถูกจับเข้าปรับทัศนคติในค่ายกักกันชาวมุสลิมที่จีนเปิดเผยกระบวนการปลูกฝังลัทธิความเชื่อในนั้น เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้าที่มีการเปิดเพลงปลุกใจชาตินิยม มีกระบวนการให้ผู้ต้องขังวิจารณ์ตนเอง และมักจะจบลงด้วยการให้ทานอาหารที่มีแต่หมู

"โอมีร์"ถูกจับเข้าค่ายกักกันปรับทัศนคติเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ในเมืองคาราเมย์ เขตปกครองตนเองซินเจียงก่อนที่จะหนีไปตุรกีเมื่อปีที่แล้ว (2561)  ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ (UN) เคยเปิดเผยว่าทางการจีนคุมขังชาวมุสลิมราว 1 ล้านรายในค่ายกักกันในมณฑลซินเจียง มณฑลที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอุยกูร์ที่นับถือศาสนาอิสลาม ในพื้นที่นี้ยังเป็นพื้นที่ๆ รัฐบาลกลางของจีนเข้าไปใช้อำนาจควบคุมหนักมากด้วย

แม้ทางการจีนจะปฏิเสธเรื่องค่ายกักกันโดยอ้างว่ามันเป็น "ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ" เพื่อลดระดับความหัวรุนแรงของชาวมุสลิมในพื้นที่ แต่โอมีร์ก็บอกว่าข้ออ้างของทางการจีนไม่เป็นความจริง เพราะสิ่งที่เขาเผชิญมาเป็นบาดแผลทางใจมากกว่าจะเป็นการฝึกอบรมให้การศึกษา เขาบอกว่าค่ายกักกันที่เขาถูกจับเข้าไปมีเป้าหมายอย่างเดียวเท่านั้นคือการทำให้ผู้ต้องขังละทิ้งความเชื่อทางศาสนาของตนเอง

โอมีร์เล่าว่า 7.00-7.30 น. ของทุกวัน พวกเขาต้องหันหน้าเข้ากำแพงแล้วร้องเพลงชาติจีนพร้อมกันกับคน 40-50 คน ตัวเขาเองไม่ได้อยากจะร้องเพลงนี้ แต่พอทำซ้ำเดิมอยู่ทุกวันมันก็เริ่มซึมซับเข้าไปในตัว ถึงแม้ว่าจะผ่านไปแล้วหนึ่งปี เพลงชาติจีนก็ยังดังอยู่ในหัวเขา

ปัจจุบันโอมีร์อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์เรียบๆ ในอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในตอนที่เขาให้สัมภาษณ์เขาสวมหมวกสักลายซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายตามประเพณีของชาวคาซัค เขาเป็นชาวอุยกูร์ที่เกิดในซินเจียงแต่มีเชื้อสายคาซัคจากพ่อแม่ เช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยจำนวนมากในจีนเขาเดินทางไปหางานทำที่คาซัคสถานในปี 2549 และทำให้ได้สัญชาติคาซัคที่นั่น

แต่ปัญหาเกิดกับโอมีร์ในปี 2560 เมื่อเขาถูกจับกุมในซินเจียงขณะกลับมาทำธุระให้กับบริษัทท่องเที่ยวคาซัคที่เขาทำงานให้ เขาถูกขังไว้ในคุกเป็นเวลาเจ็ดเดือนในข้อหา "ให้ความช่วยเหลือการก่อการร้าย" ก่อนที่จะถูกส่งไปยังค่ายกักกัน

ในค่ายกักกันนั้นทุกคนที่เป็นผู้ต้องขังชาวมุสลิมถูกบังคับให้กินหมูในทุกวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม ในขณะที่การกินหมูนั้นเป็นสิ่งที่ศาสนาระบุห้ามไว้ โอมีร์เล่าอีกว่าเจ้าหน้าที่ในค่ายมักจะเรียกพวกเขาว่า "นักเรียน" ภาษาอื่นนอกจากภาษาจีนถูกห้ามพูด พวกเขาถูกห้ามไม่ให้ละหมาดและไว้เครา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตีความสิ่งเหล่านี้ว่าเป็น "การทำให้เป็นพวกหัวรุนแรงทางศาสนา"

หลังจากที่ต้องอยู่ในค่ายกักกันสองเดือน โอมีร์ก็สามารถออกมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากการแทรกแซงโดยทางการคาซัคสถาน ในขณะที่คนจำนวนมากพยายามไม่พูดอะไรเกี่ยวกับค่ายกักกันเพราะเป็นห่วงความปลอดภัยของครอบครัวหรือคนรู้จักที่อยู่ในจีน แต่โอมีร์เดินสายพูดถึงเรื่องนี้ไปทั่วโลก ทั้งนี้ เขาบอกว่าเขาไม่ได้ข่าวเกี่ยวกับพ่อแม่และพี่น้องเขาที่ยังอยู่ในจีนเลย แต่เขาได้ออกจากคาซัคสถานเพื่อตั้งรกรากในตุรกีร่วมกับภรรยาและลูกๆ ของเขา โอมีร์บอกว่าเขาต้องการจะสร้างระยะห่างระหว่างเขากับประเทศจีนให้มากขึ้น 

นี่คือสิ่งที่บุตรชายสหายเข้ม อดีตสมากชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นำมาเทียบว่า ไม่ต่างไปจากโครงการชิมช้อบใช้ มาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐาลพล.อ.ประยุทธ์. 

----------

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากประชาไท
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"