การเรียนรู้ด้วยตนเอง


เพิ่มเพื่อน    

 

โดย Mayochili  ([email protected])

 

วันนี้อยากจะแชร์ประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมาด้วยตนเองเกี่ยวกับความเข้าใจผิดในแง่คิดของ “การศึกษาด้วยตัวเอง” ในระดับมหาวิทยาลัย ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนมีการแข่งขันกันสูง เพราะมหาวิทยาลัยของรัฐก็ต้องออกจากระบบ ในขณะที่มหาวิทยาลัยเอกชนก็มีการเกิดใหม่ขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในระยะเวลา 15 ถึง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าจำนวนประชากรหรือนักศึกษาไทยค่อยๆ ลดลง ตามอัตราการเกิดของคนรุ่นใหม่ เลยทำให้หลายๆ มหาวิทยาลัยต้องพยายามเปิดภาคพิเศษ หรือโปรแกรมพิเศษ เพื่อหารายได้ให้กับสถาบัน โดยเฉพาะการศึกษาระดับสูง เช่น ปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นต้น

 

เนื่องจากเป็นการศึกษาระดับสูง ทางคณาจารย์ก็คาดหวังให้นักศึกษาทำ ”การศึกษาด้วยตัวเอง” ซึ่งผู้เขียนก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะนักศึกษาที่มาเรียนในระดับสูงเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ชีวิตมาบ้างแล้ว ดังนั้นพวกเขาเหล่านั้นควรที่จะสามารถเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆได้ด้วยตัวเองในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีการที่นักศึกษาเหล่านี้ตัดสินใจที่จะเข้าเรียนในสถาบัน นั่นหมายความว่านักศึกษาเหล่านี้ต้องการมากกว่าความรู้ที่พวกเขาสามารถค้นหาได้ใน Google หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่อยู่บนโลกดิจิทัล นักศึกษาเหล่านี้เลือกที่จะเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเพราะต้องการที่จะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของคณาจารย์ผู้ดูแลและออกแบบวิชาหรือโปรแกรมต่างๆที่ทางมหาวิทยาลัยได้ทำขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มรายได้ให้กับคณะ ดังนั้นเมื่อนักศึกษาถูกบอกให้ไป “เรียนรู้ด้วยตัวเอง” และไม่ได้มีการชี้แนะหรือเพิ่มพูนความรู้หลังจากที่ได้หาความรู้ด้วยตัวเอง จึงทำให้นักศึกษาที่ต้องการเรียนในระดับสูงขึ้น รู้สึกผิดหวัง รู้สึกว่าไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ในระบบการศึกษาไทยขั้นสูง เพราะสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นได้เรียนรู้ มาจากความขวนขวายหาความรู้ผ่านทาง Google หรือ การอ่านหนังสือด้วยตัวเอง

 

การเรียนขั้นสูงในมหาวิทยาลัย นักศึกษามีความคาดหวังที่จะได้เรียนรู้จากต้นแบบ ซึ่งก็คือคณาจารย์ผู้สอน อาจจะเป็นความคิดไม่แฟร์สำหรับคณาจารย์นักที่นักศึกษาคาดหวังให้คณาจารย์เป็นบุคคลตัวอย่าง เพราะในความเป็นจริงแล้วคณาจารย์ก็คือบุคคลธรรมดา มีความรู้สึก มีความทุกข์สุข และมีความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ดี ความเห็นส่วนตัวในฐานะนิสิต คณาจารย์ก็ยังเป็นต้นแบบที่นิสิตหวังที่จะเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการเรียนรู้ในระดับสูง

 

สุดท้ายอยากจะสื่อสารกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาระดับสูงก็คือ อย่ามองความหมายของ “การศึกษาด้วยตนตัวเอง” เท่ากับ การปล่อยให้นิสิตไปค้นคว้าตามฐานข้อมูลดิจิทัลต่างๆ แล้วนำมาอ่าน เพื่อทำความเข้าใจ “ด้วยตัวเอง” เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาขั้นสูงกำลังไปแข่งขันกับ Google ซึ่งจะไม่มีทางที่จะแข่งขันในเรื่องข้อมูลได้ แต่จุดแข็งของมหาวิทยาลัยและการศึกษาระดับสูงในสถาบันการศึกษาคือ การมีคณาจารย์ที่เป็นมนุษย์ ที่สามารถสื่อสารและเข้าใจวิถีการเรียนรู้ที่หลากหลายของนิสิต มีความสามารถที่จะออกแบบวิธีการสอนให้นิสิตสามารถ “เรียนรู้ด้วยตัวเอง” ผ่านประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนผ่านคณาจารย์และวิธีการสอน เพราะทุกคนคงเห็นด้วยว่า การเลคเชอร์โดยมีอาจารย์เป็นผู้ป้อนข้อมูล และมีนิสิตเป็นผู้บริโภคข้อมูลไม่ใช่วิธีการเรียนรู้ที่ดีนัก แต่วิธีการสอนในรูปแบบอื่นๆ ก็ยังมีหลากหลายวิธีที่สามารถทำได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และในท้ายที่สุดนี้ก็ยังมีความหวังว่าจะมีใครสักคนในระบบการศึกษาจะสะดุงตื่นขึ้นมาและทำอะไรซักอย่างกับการแปรรูป(อย่างไม่เป็นทางการ)ของสถาบันการศึกษา จากสถานที่ให้วิชาและตัวแบบของบุคคลในวิชาชีพที่เรียน กลายเป็นสถาบันให้ความรู้เชิงพาณิชย์ที่ผลิตแค่ผู้รับปริญญาบัตรตาม KPI รายได้ของสถาบันเท่านั้น                                   


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"