เปลี่ยนโบนัสปีนี้ ให้เป็นโบนัสตลอดชีพ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

โดย วลีรัตน์ มิ่งศูนย์

วันนี้ผู้เขียนขอถ่ายทอดการบรรยายเกี่ยวกับ Financial Literacy เรื่อง “เปลี่ยนโบนัสปีนี้ ให้เป็นโบนัสตลอดชีพ” โดย ดร.อัฉรา โยมสินธุ์ (อาจารย์รัก) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมะในการจัดการการเงิน เราเคยสงสัยไหมว่า เราใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการทำงานหาเงิน แต่ทำไมเราไม่สามารถเก็บรักษาเงินไว้ได้ ไม่ว่าเราจะหาเงินได้เก่งแค่ไหน แต่หากเราไม่สามารถ “รู้ตัวรู้ใจ” ของตนเอง เราก็ไม่สามารถที่จะชนะกิเลสในใจของเราได้ เพราะคนเราส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตแบบ Happy Moment คือ ความสุขระยะสั้น เช่น การติดหรู ใช้ก่อน ผ่อนทีหลัง เป็นต้น

 

จากสถิติ พบว่า คนไทยติดอันดับ 3 ของโลก ในการ “Shopping Online on Mobile” เพราะคนไทยส่วนใหญ่ทำงานหนัก รู้จักวิธีหาเงิน แต่ไม่รู้จักวิธีเก็บเงิน จึงทำให้เป็นหนี้รวม 2.13 ล้านล้านบาท การ “ฝึกฝืนใจอย่างมีสติ”จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเอาชนะความอยากหรือกิเลสที่เกิดขึ้นภายในใจตัวเองได้ เพราะก่อนจะใช้เงินทุกครั้ง เราต้องลองถามตัวเองว่า สิ่งที่จะซื้อนั้น เป็น Need หรือ Want ในขีวิตของเรา Need คือ ความต้องการแท้จริง Want คือ ความต้องการเกินจำเป็นเช่นโทรศัพท์เป็น Need ในปัจจุบัน แต่หากซื้อเกินราคาที่เราจ่ายไหว ก็จะกลายเป็น Want และเกิดภาระหนี้สินให้กับตัวเราทันที เพราะชีวิตของเราอยู่กับ Want เยอะ จึงทำให้เราใช้จ่ายเยอะแต่หากเราฝึกฝืนใจ ตั้งคำถามกับตัวเองว่า สิ่งที่เราจะซื้อนั้น มันคุ้ม มีคุณค่า และจำเป็นกับเราไหม ? จะช่วยให้เรามีสติก่อนใช้จ่ายเงินมากขึ้น ( inside out มากกว่า Outside in)

3 หลักควรรู้ ที่ช่วยให้เรา “เปลี่ยนโบนัสปีนี้ ให้เป็นโบนัสตลอดชีพ” คือ

1.รู้อะไรก็ไม่สู้ “รู้จักตนเอง”การที่เรารู้จัก “สินทรัพย์ หนี้สิน รายรับ ค่าใช้จ่าย” ของตนเอง จะช่วยให้เราประเมินและวางแผนการเงินของตนเองได้ ด้วยวิธีการ “จจจ : จดเจอจัดการ” ผ่านการ “ทำบัญชีรายรับรายจ่าย” จะช่วยให้เราเห็นวิธีการใช้เงินของตัวเอง และวางแผนจัดการการเงินของตนเองได้ เช่น เราไม่ควรผ่อนหนี้เกิน 40% ของรายรับ หากเรามีเงินเดือน 10,000 บาท ไม่ควรผ่อนหนี้เกิน 4,000 บาท เพราะจะทำให้เราไม่สามารถจัดการชีวิตได้ และการประเมินตนเอง ด้วยการทำ Timeline Money จะช่วยให้เรารู้ว่าตอนนี้สถานการณ์การเงินเราเป็นอย่างไร และเราจะวางแผนการเงินใช้หลังเกษียณอย่างไรบ้าง เป็นต้น

2.รู้อะไรก็ไม่สู้ “รู้จักพอ” เป็นการนำ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ( 2 เงื่อนไข 3 ห่วง 4 มิติ) ของในหลวง ร.9 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เงื่อนไขพื้นฐาน ( ความรู้และคุณธรรม) + หลักในการวางแผนและตัดสินใจ (พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน) = เป้าหมายเพื่อความสมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)เช่น หากเราจะทำธุรกิจ เราต้องมีความรู้อะไร เรามีต้นทุนเท่าไหร่ เราจะมีความซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและลูกค้าอย่างไร เราจะวางแผนทำธุรกิจด้วยวิธีการไหน สินค้านี้มีประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างไร และสินค้าที่เราทำมีผลกระทบต่อโลกใบนี้ไหม เป็นต้นซึ่งการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เราวางแผนรอบด้าน ใช้ชีวิตแบบไม่แยกส่วน จนทำให้ “เรามีความสุขแบบพอดีพอใจ” และที่สำคัญเป็นมิตรทั้งต่อตัวเอง ผู้อื่น และโลกใบนี้ ด้วย

3.รู้อะไรก็ไม่สู้ “รู้แล้วทำทันที” เป้าหมายที่เรามีจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเราไม่ลงมือ “ทำทันที” เช่น การออมเงิน 1 บาท ในระยะเวลา 21 วัน หรือ 108 วัน จะช่วยให้เราเกิดนิสัยการออม เป็นต้น และการที่เราจะมี “หัวใจเศรษฐี ได้นั้น เราต้องสร้าง “อุ อา กะ สะ” ให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา

อุ  อุฎฐานสัมปทา : ขยันหมั่นหา “ทรัพย์”และ “ความรู้”

อา  อารักขสัมปทา : รู้จักรักษา “ทรัพย์” และ “ความรับผิดชอบ”

กะ  กัลยาณมิตตา : เพื่อนดีจะทำให้รวย

สะ  สมชีวิตา  : ใช้ชีวิตพอเพียง

และสิ่งที่เราได้เรียนรู้มากที่สุดในวันนี้ คือ “การรู้จักใจตนเอง” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากเราสามารถควบคุมจิตใจ เอาชนะกิเลสได้ ไม่ว่าเราจะวางแผนการเงินหรือวางแผนชีวิต เราก็จะสามารถควบคุมจิตใจทำตามแผนได้สำเร็จ เพราะทุกอย่างสำเร็จได้ด้วย “ใจ”


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"