การสื่อสารที่เป็นมิตร


เพิ่มเพื่อน    

 

โดย จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์ ([email protected])

จากเหตุการณ์ระทึกขวัญที่โคราช เราจะเห็นการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายช่องทาง เท่าที่อ่านดูจากข้อความต่างๆ และภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร พอจะแบ่งได้เป็น2 ประเภทได้แก่ ประเภทที่เข้าใจ ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจและรับฟังอย่างตั้งใจ กับอีกประเภทที่ใช้ภาษาในการตำหนิ กล่าวโทษและตัดสินความผู้อื่น โดยเอาความคิด ความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ ที่เห็นได้ชัดเจนน่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นบนสังคมออนไลน์ ที่มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยทีทั้งสองฝ่ายไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่บุคคลประเภทแรกจะดูข้อความ พิจารณาข้อเท็จจริง ประเมินและตรวจสอบความคิดเห็นของตนเองและเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของแต่ละฝ่าย ไม่ใช้ความรู้สึกของตัวเองตัดสินคนอื่น ในขณะที่ผู้คนอีกประเภทจะใช้ภาษาที่ตำหนิ ต่อว่า กล่าวโทษ ตัดสิน ตีความผู้อื่น โดยใช้ความคิดและทัศนคติของตนเองเป็นบรรทัดฐาน โดยไม่สนใจบริบทที่เกิดขึ้น

 

ดร.อัลเบิร์ต เมห์ราเบียน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคร์ลิฟอร์เนีย ได้ทำการวิจัยเรื่ององค์ประกอบของการสื่อสาร พบว่า “คำพูด”  “มีความสำคัญเพียงแค่ 7% ของกระบวนการสื่อสารเท่านั้น ส่วนอีก 38% คือ “โทนเสียง” และอีก 55% คือ “ภาษากาย” การสื่อสารบนสังคมออนไลน์ที่ไม่มีการโต้ตอบแบบได้ยินเสียงหรือเห็นหน้าตา ท่าทางเวลาพูดคุยกัน จึงยากที่จะเป็นการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจ หรือรับรู้ถึงความรู้สึกและความต้องการอันแท้จริงของแต่ละฝ่ายได้ แม้เราจะรับรู้ถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความรู้สึกที่แสดงออกมานั้นมีด้วยกันสองแบบคือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง เช่น รู้สึกมีความสุข รู้สึกรัก สดชื่น เป็นต้น และความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง เช่นรู้สึกกลัว เศร้า สับสน โกรธ เหนื่อย เป็นต้น

 

เมื่อเราเข้าใจเรื่องประเภทของความรู้สึกแล้วจะเห็นได้ว่า ความรู้สึกที่น่าสนใจคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง ในหลักการสื่อสารนั้นต้องใช้หลัก Empathy คือหลักการสื่อสารที่มีความเห็นใจและเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมที่มีความขัดแย้งดังเช่นที่เป็นในปัจจุบัน  จะฟังอย่างไรให้ผู้ฟังรู้สึกได้ว่าผู้ฟัง ฟังอย่างตั้งใจจริงๆ ฟังด้วยความเข้าใจในความรู้สึกที่ผู้พูดต้องการที่จะสื่อ และจับความรู้สึกนั้นให้ได้ว่าในความรู้สึกนั้นต้องการการตอบสนองแบบไหน ส่วนใหญ่ความต้องการจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ ความต้องการด้านความสัมพันธ์ ความต้องการด้านความสุข ความปลอดภัย การหาความหมาบของชีวิตและคุณค่าในตนเอง ฯลฯ เป็นต้น

 

เมื่อผู้ฟังฝึกทักษะในการสื่อสารแบบเป็นมิตร ผู้พูดก็จะรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่จะพูดคุยด้วยแบบมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การฝึกการสื่อสารดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องลดอัตตาและทำใจให้เปิดกว้าง ต้องไม่ตัดสินคนอื่น ต้องประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลา ต้องมีความจริงใจและซื่อสัตย์ในการเก็บความลับของอีกฝ่ายหนึ่ง ลองฝึกดูนะคะแล้วทุกท่านจะมีความสุขกับคนรอบข้าง การเอาใจใส่ช่วยให้เราเชื่อมโยงกับผู้คน หากเราไม่ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเดียวดาย และรู้สึกว่าทุกคนในโลกนี้ขัดแย้งหรือต่อต้านกับเราไปเสียทุกเรื่อง เราก็ควรที่จะพัฒนาทักษะในการสื่อสารให้ดีขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"