หลังบ้านรมว.ศึกษาฯ ร่ายยาว 10 ข้อดีคนที่โตมากับเครื่องแบบนักเรียน


เพิ่มเพื่อน    

2 ธ.ค.63 - นางทยา ทีปสุวรรณ ภรรยานายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก โดบมีรายละเอียดดังนี้

#เครื่องแบบนักเรียน

ก่อนอื่นเราคงต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ในสังคมไหนตะวันตก ตะวันออก เผด็จการ หรือ ประชาธิปไตย ทุกสังคมล้วนแล้วแต่ต้องมีกฎกติกา มีระเบียบ มีวินัย

กฏกติกาที่คนในแต่ละสังคมเคารพและเห็นพ้องกัน กฏกติกาที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ขอเน้นคำว่า “คนส่วนใหญ่” เพราะคงไม่มีสังคมไหนที่ทุกคนพอใจกับกฏเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นทั้งหมด แต่เราต้องยอมรับมติของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก

ดิฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่า กฏกติกา หรือ กฏเกณฑ์ไม่ใช่สิ่งตายตัว คงต้องมีความยืดหยุ่นในแต่ละสังคม แต่ละบริบทที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อกาลเวลาเปลี่ยน โลกเปลี่ยน แน่นอนทุกสังคมก็ต้องปรับตัว 

ในกรณีที่มีน้องๆ นักเรียนส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับกฏเกณฑ์เดิมๆ ก็มีสิทธิ์ มีเสรีภาพในการแสดงออก แต่ขอให้การแสดงออกเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ สุภาพ 

เรื่องเครื่องแบบนักเรียน หากจะมีการถกเถียงกัน ทุกฝ่ายควรร่วมพิจารณาคำนึงถึงข้อดี ข้อเสียให้รอบด้าน ผลกระทบที่ตามมา แล้วฟังเสียงส่วนใหญ่ว่า คิดเห็นกันอย่างไร

โพสต์นี้ไม่ได้เขียนในฐานะ ภรรยารมว.ศึกษา แต่ขอเขียนในฐานะ “คนที่โตมากับเครื่องแบบนักเรียน” ว่าข้อดีของการใส่ชุดนักเรียน มีอะไรบ้าง

1. นักเรียนไม่ต้องกังวล ว่าในแต่ละวันจะใส่ชุดอะไรมาโรงเรียน

2. เราสามารถ identify ได้ว่า น้องๆคือ นักเรียน มาจากสถาบันไหน หากเกิดเหตุใดๆเราสามารถแจ้งเบาะแสได้ 

3. เกิดความภาคภูมิใจในสถาบันศึกษาของตนเอง

4. การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กีฬาสี ลูกเสือ เนตรนารี ก็สามารถระบุได้ชัดเจน

5. ถ้าพูดถึงเรื่องการสิ้นเปลือง น้องๆบางคนอาจบอกว่า ชุดนักเรียนราคาแพง แต่หากเทียบกับการซื้อชุดไปรเวทมาใส่ตลอดทั้งปี งบประมาณในการซื้อชุดนัดเรียนก็น่าจะน้อยกว่า ยกเว้นนักเรียนจะใส่ชุดไปรเวทซ้ำๆมาโรงเรียน

6. หากอนุญาตให้ใส่ไปรเวท ก็ยังต้องมาร่างกฏเกณฑ์อีกว่า ห้ามใส่กระโปรงสั้นแค่ไหน ห้ามสายเดี่ยวมั้ย ห้ามแต่งตัวโป๊ ห้ามใส่รองเท้าแตะหรือไม่ เป็นต้น

7. ความเหลื่อมล้ำย่อมมีมากขึ้นแน่นอน เพราะแต่ละคนกำลังซื้อชุดต่างๆก็ไม่เท่ากัน ค่านิยมที่ผิด หากเด็กบางกลุ่มมีค่านิยมที่ผิด คิดว่าการแต่งตัวไปรเวท คือการอวดการใส่เสื้อผ้าแบรนด์เนม มาโชว์กัน คนที่ไม่มีจะรู้สึกด้อยหรือไม่ บางคนอาจโดนดูถูก bully ซึ่งอาจนำมาซึ่งความ เดือดร้อนทางเศรษฐกิจของครอบครัว หากเด็กๆ เยาวชนไปหา​เงินมาซื้อด้วยวิธีผิดๆ เพียงเพื่อให้มีของแบรนด์เนมมาทัดเทียมเพื่อนๆ สังคมเราจะเป็นอย่างไร

8. ถ้าจะบอกว่าใครอยากใส่ไปรเวท หรือ ชุดนักเรียนก็ได้ ก็ยิ่งเกิดความไม่เสมอภาค แตกต่าง แตกแยกกันในสถานศึกษามากขึ้นไปอีก 

9. สิทธิพิเศษต่างๆที่ได้จากการเป็นนักเรียน สามารถ identify ได้เลย โดยไม่ต้องตรวจบัตรนักเรียน

10. การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ นอกเหนือจากการที่ต้องมาเลือกชุดในแต่ละวัน หรือไปหาซื้อชุดใหม่ๆใส่นักเรียนเอาเวลาเหล่านั้นมาขวนขวายหาความรู้ น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า อีกทั้งการใส่ชุดนักเรียน ก็จะทำให้เรารู้ว่าในช่วงนั้นเราควรทำอะไร มีขอบเขตแค่ไหน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้บอกว่า การใส่ชุดไปรเวทไม่มีข้อดีเลย เช่น เรื่องเสรีภาพในการแต่งกาย ผลการเรียนจะดีหรือไม่ดีไม่ได้ยึดโยงกับการใส่ชุดนัดเรียน เป็นต้น แต่ถ้าลองมา list ถึงข้อดี ข้อเสีย เราคิดว่า อะไรจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่ากัน

ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่สำคัญกว่าชุดเครื่องแบบนักเรียน ที่เราน่าจะชวนมาถกเถียง และให้ความสำคัญ คือ เนื้อหาหลักสูตร การเรียนการสอน ว่าควรจะมีแบบเรียนยังไงที่เหมาะกับสังคมปัจจุบันที่โลกกำลังเปลี่ยน เราจะเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษ จีนเป็นวิชาบังคับหรือไหม? โรงเรียนจะเพิ่มคุณภาพครูอย่างไร เรื่องเหล่านี้ควรมานั่งหารือกันดีกว่ามั้ย

ถ้าจะเทียบกับบางประเทศที่มี freedom สูงสุด คือ สหรัฐอเมริกา นักเรียนใส่ชุดไปรเวทตั้งแต่เด็กจนโต ทุกคนโตมากับคำว่า freedom จะเห็นว่าช่วงโควิดแรกๆ ไม่มีใครใส่หน้ากาก เพราะบอกว่าเป็นการ จำกัดเสรีภาพ แล้วดูผลลัพธ์ของประเทศนี้ว่าตอนนี้เป็นอย่างไร?!

บ้านเรายังมีวัฒนธรรมหลายอย่างที่น่าจะสืบสาน เช่น ข้าราชการยังต้องใส่เครื่องแบบ, หมอ พยาบาลอยู่ในโรงพยาบาลก็ต้องสวมเสื้อกาวน์ เพื่อแยกหมอและคนไข้ออกจากกัน, พนักงานแบงค์ยังมี uniform เพื่อให้รู้ว่าทำงานอยู่ธนาคารไหน, ทหาร ตำรวจ ก็ต้องมีเครื่องแบบ ให้ประชาชนรับรู้ว่าปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประชาชนอยู่, การเข้าเฝ้าก็ต้องใส่ชุดปกติขาว เพื่อเป็นการให้ความเคารพต่อสถาบัน...สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นความภูมิใจของคนในองค์กรหรืออาชีพนั้นๆ แล้วเราต้องเปลี่ยนด้วยงั้นหรือ? 

ถ้ามีเสียงเรียกร้องให้มีการใส่ชุดไปรเวทมากขึ้นเรื่อยๆ เราอาจเริ่มจากให้โรงเรียนจัดกิจกรรมที่เรียกว่า Mufti Day ซึ่งโรงเรียนรัฐบาล รวมถึงเอกชนหลายแห่งในต่างประเทศนั้นจัดกัน Mufit เป็นคำแสลงจากภาษาอาหรับ ที่แปลว่า "เครื่องแต่งกายพลเรือน” เราจะพบธรรมเนียม Mufti Day หรือมีอีกหลายชื่อเรียกทั้ง casual clothes day, casual Friday, own clothes day, home clothes day ในหลายโรงเรียนที่ต่างประเทศ แต่จะจัดเป็นเดือนละครั้ง หรือ เทอมละครั้ง ถ้าถี่หน่อยอาจจะสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งเราอาจจะเริ่มแบบนี้ก่อนก็ยังได้ 

สรุปแล้ว อย่างที่เขียนไปตอนต้น ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความเห็น (อย่างสร้างสรรค์) และนำไปหาข้อสรุปที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด .
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"