'พท.' ชูจุดยืน 'สสร.' แก้รัฐธรรมนูญมาจากเลือกตั้งทั้งหมด เมินหมอวรงค์ร้องล้มล้างการปกครอง


เพิ่มเพื่อน    

15 ธ.ค.63 - เวลา 10.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย มีการประชุมคณะกรรมการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำโดย นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการการเมือง นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ในฐานะคณะกรรมการผลักดันการพิจารณารัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายสมคิด เชื้อคง, นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว, นายโกศล ปัทมะ และน.ส.จิราพร สินธุไพร กรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม รัฐสภาฯ

นายชัยเกษม แถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า พรรคเพื่อเห็นความสำคัญของการแก้รัฐธรรมนูญ และต้องได้ผลออกมาดีต่อประเทศชาติ พรรคเพื่อจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งชื่อ คณะกรรมการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีหน้าที่ติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการจะมาจากกรรมการการเมืองของพรรคชุดหนึ่ง และกมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม รัฐสภาฯ ในส่วนของพรรคเพื่อไทยชุดหนึ่ง ทำงานร่วมกันในนามคณะกรรมการนี้

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการชุดนี้ โดยเราติดตามเรื่องราว และประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นกมธ. ที่ประชุมได้ขอความคืบหน้าจาก กมธ.ส่วนของพรรคเพื่อไทย โดยสรุปได้ว่าประเด็นที่ยังมีปัญหาขัดแย้ง และยังเห็นไม่ตรงกัน ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญควรแก้ไขได้ยาก หรือง่ายกว่ากฎหมายธรรมดา โดยพรรคฝ่ายค้านเสนอว่า ควรใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทั้ง 2 สภา เป็นหลัก ขณะที่รัฐบาลเสนอว่า ต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของทั้ง 2 สภา ซึ่งเรามีข้อสรุปว่า รัฐธรรมนูญที่ดีในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศจริงอยู่ว่าควรแก้ไขได้ยาก แต่การใช้ที่ประชุมร่วมกันของ ส.ส. และส.ว.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ก็ทำให้แก้ไขยากอยู่แล้ว ดังนั้นการใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทั้ง 2 สภาจึงสมเหตุสมผล แต่การจะใช้เสียง 3 ใน 5 ของสองสภาอีกก็เท่ากับจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้เลย

นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นที่ 2 ควรมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยตรงจากประชาชน หรือควรมีการแต่งตั้งด้วย ซึ่งฝ่ายค้านมองว่าควรเลือกตั้งทั้ง 200 คน แล้วค่อยไปแต่งตั้งกมธ.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป โดยกำหนดว่า กมธ.ต้องมาจากส.ส.ร.ส่วนหนึ่ง และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถส่วนหนึ่ง แต่ร่างรัฐบาลเห็นว่าควรมีการแต่งตั้งผสมเข้ามาด้วย ทั้งนี้เราเชื่อว่าระบบที่ดีควรให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้เลือกตั้ง ส.ส.ร. เข้ามาโดยตรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กว่า และสะท้อนความต้องการประชาชนได้ดีกว่า

และประเด็นที่ 3 ประเด็นเรื่องการทำประชามติ โดยฝ่ายค้านเสนอว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมผ่านวาระที่ 3 แล้ว ให้นำร่างนั้นไปขอมติจากประชาชนอีกครั้งหนึ่งว่าเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากร่างรัฐบาล ที่หาก ส.ส.ร. ยกร่างเสร็จแล้วให้นำเสนอรัฐสภาแล้วทูลเกล้าฯได้เลย เว้นแต่สภาไม่เห็นด้วยจึงเอามาทำประชามติถามประชาชน ซึ่งหมายความว่า ถ้าสภา และรัฐบาลเห็นชอบร่างนี้จะไม่มาถึงมือประชาชนอีกเลย ตรงนี้เราไม่เห็นด้วย

ขณะที่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญมีเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้เสร็จภายใน 8 ม.ค.2564 ซึ่งมีการเพิ่มวันประชุม 2 วัน เพื่อเร่งรัดการทำหน้าที่ โดยในส่วนของข้อเสนอคณะกรรมการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย ทาง กมธ.ก็จะรับไปนำเสนอ เมื่อมีการพิจารณาเข้าสู่มาตรานั้นๆ อย่างไรก็ตามมีประเด็นที่กมธ.ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลเห็นตรงกัน อาทิ การตัดเสียงเสียงข้างน้อย ทั้งกรณี เสียง ส.ว. 1 ใน 3 ในชั้นรับหลักการ รวมทั้งตัดเสียงฝ่ายค้านร้อยละ 20 ในชั้นลงมติด้วย เพราะเห็นว่าไม่ควรใช้เสียงข้างน้อยมาปกครองเสียงข้างมาก ซึ่งขัดกับหลักการทั่วไป นอกจากนั้นร่างรัฐบาลและร่างพรรคฝ่ายค้านไม่มีแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งในญัตติเรายืนยันว่าจะไม่มีการแก้ไขใน 2 หมวดดังกล่าว เว้นแต่ทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความสมบูรณ์มากขึ้น

เมื่อถามถึงกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มไทยภักดี ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าการตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เขาอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เหมือนคำร้องที่เคยร้องไปแล้วเมื่อปี 2555 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยแล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขจะออกมาอย่างไรยังไม่มีใครรู้เลย ครั้งนี้เองก็เหมือนกัน

ทั้งนี้ หากเนื้อหาที่ร่างออกมาเข้าข่ายว่ามีการล้มล้าง ค่อยสามารถร้องต่อไปได้ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญปี 2560 ยังไม่ได้มีมาตราใดระบุข้อห้ามในการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้เลยด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทยมีกฎหมายมากมายหลายร้อยฉบับ แล้วมีการประกาศยกเลิกกฎหมายนั้น กฎหมายนี้ แล้วใช้ร่างที่ยกร่างขึ้นมาใหม่ ถ้าเป็นแบบที่ร้องประเทศต้องหยุดนิ่ง แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอมตะต้องใช้ตลอดไป ซึ่งตนมองว่าไม่ใช่วิธีการทางกฎหมาย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"