'ฟันผุ' อันตรายกว่าที่คิด! อาจส่งผลถึงปอด

26 ก.ย. 2565 – นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทุกคนต้องดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี อย่าปล่อยให้ฟันผุ มีการติดเชื้อในรากฟัน อาจส่งผลให้เกิดหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (Empyema Thoracis)

ผู้ป่วยชายอายุ 53 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการไอ เสมหะสีเขียวๆ เจ็บที่หน้าอกข้างขวาเวลาไอและมีไข้ 1 สัปดาห์ ไม่ปวดฟัน ไม่เจ็บเหงือก ไม่มีโรคประจำตัว ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่

ตรวจร่างกาย มีไข้ต่ำๆ ฟังปอดข้างขวาได้ยินเสียงลดลง เจาะเลือด พบเม็ดเลือดขาวในเลือดสูง 16,030 เอกซเรย์ปอดเห็นน้ำในปอดข้างขวา ทำคอมพิวเตอร์ปอดเห็นก้อนน้ำหลายก้อนเกาะอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา (ดูรูป)

ใส่สายระบายน้ำผ่านทางผิวหนังเข้าเยื่อหุ้มปอดข้างขวา 2 ตำแหน่ง ได้หนองสีเหลืองขุ่น มีกลิ่นเหม็น 1,200 ซีซี (ดูรูป) ย้อมเชื้อพบแบคทีเรียทั้งกรัมบวกและกรัมลบ (gram negative bacilli, gram positive cocci in pairs and chains, gram positive bacilli)

ให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดครอบคลุมทั้งเชื้อแบคทีเรียที่ต้องการและไม่ต้องการออกซิเจน

เพาะเชื้อแบคทีเรียขึ้น Streptococcus constellatus คงมีอีกหลายเชื้อ แต่เพาะไม่ขึ้น

ปรึกษาทันตแพทย์ เอกซเรย์พบฝีหนองที่รากฟัน (dental root abscess) ต้องถอนฟันทั้งหมด 9 ซี่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดฟันใดๆ

หลังให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด 1 สัปดาห์ อาการดีขึ้น เอกซเรย์ปอดดีขึ้น (ดูรูป).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว