กรมศิลป์ฯเตรียมการป้องกันน้ำท่วม โบราณสถานอยุธยา ใช้มหาอุทกภัยปี54 เป็นเกณฑ์วัด

5ต.ค.2565- นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักทั่วประเทศจึงได้สั่งการให้สำนักศิลปากรทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน และรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ว่าจากอิทธิพลของพายุโนรูทำให้เกิดฝนตกหนัก เขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักระบายน้ำในปริมาณสูงขึ้นจนทำให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร และทางกรมชลประทานยังแจ้งเตือนว่าระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณพื้นที่อุทยานฯ จะสูงขึ้นอีกประมาณ 30-60 เซนติเมตร จึงเตรียมการรับมือดังนี้

1. ในพื้นที่เกาะเมืองขณะนี้ทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาได้ทำคันป้องกันน้ำ ซึ่งจะสามารถป้องกันโบราณสถานในเกาะเมืองได้เกือบทั้งหมด จะมีเพียงป้อมเพชรและรหัสวิดน้ำในพระราชวังโบราณเท่านั้นที่ถูกน้ำท่วม

2. พื้นที่นอกเกาะเมือง  วัดไชยวัฒนารามระดับน้ำต่ำกว่าแผงกันน้ำ 35 เซนติเมตร อุทยานฯ จึงได้ทำการต่อแผงกันน้ำ และเสริมกระสอบทรายบนกำแพงด้านทิศใต้ของวัดซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้เพิ่มอีก 40 เซนติเมตร รวมแล้วสามารถป้องกันน้ำได้อีก 75 เซนติเมตร ซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้มากกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดใน พ.ศ. 2554

ส่วน วัดธรรมาราม ระดับน้ำต่ำกว่าแผงกันน้ำ 30 เซนติเมตร อุทยานฯ จึงทำการเสริมกระสอบทรายบนแผงกันน้ำซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้เพิ่มอีก 30 เซนติเมตร รวมแล้วสามารถป้องกันน้ำได้อีก 60 เซนติเมตรซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้เท่ากับระดับน้ำท่วมสูงสุดใน พ.ศ. 2554

 โบราณสถานสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะโบราณสถานที่เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาและวัดที่อยู่กลางชุมชม อุทยานฯ ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันน้ำท่วมไว้แล้ว ซึ่งจะมีการเสริมความสูงของแนวป้องกันน้ำตามระดับน้ำที่สูงขึ้น

3. ขณะนี้ภายในพื้นที่อุทยานฯ มีโบราณสถานที่ได้ถูกน้ำท่วมแล้วกว่า 40 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่นอก เกาะเมืองด้านที่เหนือซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ แต่โบราณสถานเหล่านั้นส่วนใหญ่จะได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงแล้ว ซึ่งจะไม่ได้รับความเสียหายมาก ส่วนโบราณสถานที่ยังไม่ได้มีการบูรณะเสริมความมั่นคง อุทยานฯ ได้มีการตั้งนั่งร้านค้ำยันเสริมความมั่นคงไว้แล้ว

ทั้งนี้ ได้เตรียมความพร้อมสูงสุดในการรับมือ โดยในพื้นที่เกาะเมืองได้ประสานกับทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาทำคันดินป้องกันน้ำเข้าเกาะเมือง ซึ่งจะสามารถป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานได้เกือบทั้งหมด ส่วนพื้นที่นอกเกาะเมือง ในส่วนของวัดไชยวัฒนารามและวัดธรรมาราม ได้เสริมแนวป้องกันให้สามารถรับน้ำได้มากกว่าระดับน้ำท่วมใน พ.ศ. 2554 ส่วนโบราณสถานอื่นๆ ได้ประสานความร่วมมือกับทางวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันโบราณสถานแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเดินหน้ารับมือภัยแล้ง หลังพบ 4 แห่ง ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยขณะนี้ มีปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ 46,027 ล้านลูกบาศก์

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ เทศกาลสงกรานต์

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์สงกรานต์ กรมศิลปากรขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2567  เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

ส่งมอบเรือพระราชพิธี 16 ลำ ให้ศก.ประดับตกแต่ง

5 เม.ย. 2567 - เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี ส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 16 ลำ ที่กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเรียบร้อยให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำไปประดับตกแต่งตัวเรือ โดยมี

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมเปิดปี 68

28 มี.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็