
การเรียนรู้จากชุมชนโดยรอบบ้านยางที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านวิถี ความเป็นอยู่ อาหารการกิน ความเชื่อ ตลอดจนอาคารสถาปัตยกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด และโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) ส่งเสริมให้เกิดในพื้นที่ชุมชนบ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มาอย่างต่อเนื่อง นอกจากเปิดพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) เป็นแหล่งเรียนรู้บอกเล่าเรื่องราวโรงงานหลวงฯ วัฒนธรรมประเพณีชุมชน ผ่านคำบรรยาย ภาพถ่าย ข้าวของจัดแสดงที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และความทรงจำมากมายที่เกิดขึ้นในโรงงานหลวงฯแล้ว ยังรวมชุมชนโดยรอบ ซึ่งมี 3 ศาสนา พุทธ คริสต์ และอิสลาม
ชาวจีนยูนนานอพยพมาอยู่บ้านยาง ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์ไทย เกิดเป็นชุมชนชาวจีนยูนนานที่มีความเป็นมา เป็นหนึ่งในชุมชนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามที่พร้อมเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเติมเต็มรูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นที่ที่มีชีวิต (Living SITE MUSEUM) อย่าง เกี๊ยวซ่ายูนนานเจ้าแรกของบ้านยาง โดย เจ๊ฟาง- ศิริวรรณ แซ่ม้า เปิดร้านขายเกี๊ยวซ่ายูนนานแบบโบราณชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
เจ๊ฟางทำเองทุกขั้นตอนตั้งแต่เตรียมวัตถุดิบ ปั้นแป้ง และทอดสดใหม่ ทำให้รสชาติกลมกล่อมเป็นที่ถูกใจผู้มาเยือน ทั้งยังร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านอาหารยูนนานนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถร่วมลงมือปั้นเกี๊ยวด้วยตนเองอีกด้วย

เกี๊ยวซ่ายูนนานเสิร์ฟคู่กับน้ำจิ้มซอสแดง
เจ๊ฟาง -ศิริวรรณ วัย 67 ปี กล่าวว่า พ่อแม่เป็นชาวจีนยูนนานอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ด้วยมีฝีมือเชิงช่าง ตนสืบทอดมาเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้าที่บ้านยางตั้งแต่อายุ 16 ปี จนกระทั่งมีการสร้างโรงงานหลวงฯ ฝาง ช่วยเหลือเกษตรกร ยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และตั้งพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงฯ มีคณะมาศึกษาดูงานและนักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ต่อเนื่อง ดอยคำชวนพัฒนาเรื่องการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ตนนึกถึงอาหารจีนยูนนาน อย่างเกี๊ยวซ่า ปกติทำกินในบ้าน และในเทศกาลสำคัญ เช่น ตรุษจีน เพราะเกี๊ยวซ่าเป็นอาหารมงคลเหมือนมีเงินมีทอง

ศิริวรรณ แซ่ม้า เจ้าของร้านเกี๊ยวซ่าเจ๊ฟางเจ้าแรกของบ้านยาง
สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ ประกอบด้วยเนื้อไก่บด กระหล่ำปลีหรือผักกาดขาว กุ้ยช่าย ขิง แครอท ปรุงรสด้วยซีอิ๋วขาว ซอสหอยนางรม น้ำมันงา น้ำตาลทราย ผงผรุงรส พริกไทย ส่วนแป้งเกี๊ยวทำเองจากแป้งสาลี ตัดเป็นแผ่นวงกลม เมื่อเตรียมวัตถุดิบแล้ว จึงนำมาปั้นเป็นตัวเกี๊ยว และทอดด้วยน้ำมันเล็กน้อยเพื่อให้แป้งกรอบ ชาวยูนนานจะกินจิ้มกับซอสจิ๊กโฉ่ว นอกจากนี้ ร้านพัฒนาน้ำจิ้มสูตรซอสแดงเพิ่มเข้ามา เป็นน้ำส้มหมักเอง เพิ่มความเผ็ดด้วยพริกแดงเพื่อตัดเลี่ยน ไส้เกี๊ยวสามารถปรับเปลี่ยนได้ จะใช้กุ้ง ปลา เนื้อวัว หรือไส้เจ ก็ทำได้
“ เริ่มจากทำเกี๊ยวซ่าต้อนรับคณะต่างๆ ที่มาดูงานโรงงานหลวง และได้รับการเชิญชวนจากดอยคำจัดทำเมนูเกี๊ยวซ่าอาหารพื้นถิ่นขึ้นโต๊ะเสวยกรมสมเด็จพระเทพฯ ในโอกาสเสด็จฯ โรงงานหลวงฯ 2 ครั้ง เกี๊ยวซ่ายูนนานเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก่อนจะเปิดสอนทำเกี๊ยวซ่า และเปิดร้านเกี๊ยวซ่าเจ้าแรกขึ้นในชุมชนบ้านยาง พัฒนากิจกรรมเรียนรู้ขึ้น มีบริการโฮมเสตย์สำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย “ เจ้าของร้านเกี๊ยวซ่าเล่าให้ฟัง

ขั้นตอนการห่อเกี๊ยวซ่า
เจ๊ฟาง ชาวไทยจีนยูนนาน เล่าด้วยใบหน้าเปี่ยมรอยยิ้มว่า ร่วมพัฒนาชุมชนด้วยสำนึกพระมหากรุณาธิคุณที่ได้เข้ามาพึ่งใบบุญบนแผ่นดินไทย ได้เกิดและเติบโตที่นี่ ในหลวงดูแลทุกข์สุข สร้างโรงงาน พัฒนาประปาไฟฟ้า สร้างอาชีพให้คนบ้านยางมีกินมีใช้ มีสัญชาติไทย เถือป็นการทำงานถวายในหลวง ร.9 เคยมีโอกาสรับเสด็จฯ สมเด็จย่า และในหลวง ร.9 ขณะเดียวกันการเปิดร้านเกี๊ยวซ่าก็สร้างอาชีพ สร้างเงินให้กับครอบครัวด้วย ตลอดชีวิตพวกเราก็มีความสุขร่มเย็น

นักท่องเที่ยวเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารผ่านการทำเกี๊ยวซ่า
อาหารจีนยูนนานขึ้นชื่อไม่ได้มีเพียงเมนูเกี๊ยวซ่าเท่านั้น แต่ยังมีจานเด่นขึ้นโต๊ะ อย่างอกเป็ดเนื้อน้ำค้าง,ไก่ดำตุ๋นยาจีน,ไก่ดำตุ๋นยูนนาน,แกงเนื้อ,แกงข้าวแป้ง ,เนื้อต้มแห้งเสิร์ฟคู่น้ำจิ้ม,ไก่ต้มยูนนาน,ยำวุ้นเส้นซีอิ๋วดำ ,ชีสนมวัวทอด ,ขนมก้ามปู ฯลฯ แต่ละเมนูมีภูมิปัญญาการทำอาหารของชาวจีนยูนานที่น่าเรียนรู้ ซึ่งเจ้าของร้านพร้อมแบ่งปันให้กับทุกๆ คน

เกี๊ยวซ่าที่พร้อมทอดให้หอมอร่อย
ด้าน นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด กล่าวว่า ดอยคำ สืบสานพระราชดำริกรมสมเด็จพระเทพฯ เรื่องการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เสนอความรู้ผ่านการเยี่ยมชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ชุมชน อย่างร้านเกี๊ยวซ่ายูนนานเจ้าแรก เป็นอีกแหล่งเรียนรู้ ซึ่งในพื้นที่ยังมีร้านข้าวซอยตัดโบราณ ร้าวข้าวซอยเส้นสด ข้าวซอยจัสมิน ร้านซาลาเปาไส้ผัก บ้านดินเล่าจาง รวมถึงศาลพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมพระราชทาน สุเหร่า ที่นี่มีวัฒนธรรมหลากหลายเป็นเอกลักษณ์
“ คำว่า Living SITE MUSEUM ไม่ใช่แค่พิพิธภัณฑ์ แต่ยังรวมโรงงานหลวงฯ เยี่ยมชมกระบวนการผลิต ด้านหลังโรงงานมีแปลงปลูกกล้วยไม้ไทยในสมเด็จพระพันปีหลวง สวนลิ้นจี่ สวนสมุนไพร ดอยคำเดินหน้าให้ความรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ในหลวง ร.9 สอนไว้อย่างดี นักการเมืองให้ปลา พระราชาให้เบ็ด ยังใช้ได้จนทุกถึงวันนี้ การให้ความรู้ คือ การให้ที่ยั่งยืน “ นายพิพัฒพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายดอยคำพร้อมสนับสนุนชุมชนจัดกิจกรรมเป็นประโยชน์ต่อสังคม ควบคู่กับการยกระดับพิพิธภัณฑ์มีชีวิตให้เป็นที่รับรู้ยิ่งขึ้น



ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดอยคำ รุกตลาดไอศกรีม เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “ICE POP”
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้นำตลาดน้ำผลไม้พรีเมียมอันดับหนึ่งในไทย บุกตลาดไอศกรีม เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “ICE POP”
ชวนเที่ยวงาน'เพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ปี 65'
งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ประจำปี 2565 กลับมาจัดในสถานที่จริงอย่างเต็มรูปแบบที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้และความสวยงามของดอกไม้นานาพันธุ์ ภายใต้แนวคิด“เพื่อนไม่ทิ้งกัน ในยามยาก”ภายในงานฯ มีการถอดแบบโครงสร้าง “
'ฝายดอยคำ’ ชะลอน้ำ ลดภัยพิบัติชุมชน
ชาวบ้านบ้านยาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดอยคำ และเหล่าเยาวชนหัวใจจิตอาสาร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายชะลอน้ำ หรือ”ฝายดอยคำ” จากไม้ไผ่เพื่อขวางกั้นทางเดินของน้ำในลำธารบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ เป็นระยะๆ
ตามกันไปติดๆ! 'ดอยคำ' แบนลาซาด้า แจ้งปิดระบบ ให้ซื้อผ่านช่องทางอื่น
จากกรณีโลกโซเชียลได้เกิดกระแสแบน "ลาซาด้า" แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง หลังจากลาซาด้าได้มีแคมเปญลดราคาสินค้าพิเศษ แต่ปรากฏว่านายอนิวัต ประทุมถิ่น หรือ นารา เครปกะเทย เน็ตไอดอลชื่อดัง ทำคลิปวิดีโอและภาพนิ่งโปรโมทแคมเปญดังกล่าวของลาซาด้า
'ดอยคำ' ชวน 'นิว ฐิติภูมิ' ฉลองเทศกาลคริสมาสต์
ช่วงเทศกาลแห่งความสุขที่กำลังมาถึงนี้ บริษัท ดอยคำ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้นำตลาดสินค้าแปรรูปจากผลผลิตเกษตรกรไทย ร่วมกับ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์กส์ จำกัด ผู้บริหารสื่อโฆษณาและค้าปลีกในระบบรถไฟฟ้า MRT จัดกิจกรรม ดอยคำ ฟรุตทัก เพราะรักคุณ ณ สถานีรถไฟฟ้า MRT เพชรบุรี เนรมิตรพื้นที่บริเวณทางออกหมายเลข 2 ตรงข้ามอาคาร สิงห์คอมเพล็กซ์ ยกขบวนรถฟรุตทักและมินิเทรลเลอร์ พร้อมกองทัพสินค้าจากดอยคำมากมาย มาต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
สินค้าสมุนไพรมาแรง 'ดอยคำ' รุกตลาดนำร่อง 'สารสกัดฟ้าทะลายโจร' เข้าตีตลาด
ดอยคำ เผยกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรเติบโตกว่า 50% เร่งพัฒนาสินค้า ประเดิมนำร่องส่ง “สารสกัดฟ้าทะลายโจร” เข้าตีตลาด ก่อนเดินหน้าเข้าสู่ตลาดสมุนไพรเต็มสูบปี 65