5 ศาสนาร่วมใจช่วยอยุธยาหลังน้ำลด

น้ำท่วมอยุธยาชาวบ้านต้องทนทุกข์ต้องอยู่กับน้ำท่วมนานหลายเดือน หลังจากน้ำลดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกอบกู้เมืองกรุงเก่า พร้อมเร่งเยียวยาชาวบ้าน เพราะไม่อยากให้เดือดร้อนมากไปกว่านี้ ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมผ่านมิติทางศาสนา ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กรมการศาสนา ร่วมกับองค์การศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก วัดนาคปรก และวัดสะพาน จัดโครงการศาสนิกสัมพันธ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ระหว่างวันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2565 มอบเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 1,100 ชุด ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างผู้นำศาสนากับศาสนิกชนในพื้นที่ และเยี่ยมเยียนศาสนสถานต่างๆ โดยนำเครื่องสมณบริขารถวายแด่พระภิกษุ สามเณร จำนวน 400 ชุด และมอบเครื่องอุปโภค บริโภค แก่ผู้นำทางศาสนาและศาสนิกชน (พุทธ อิสลาม และคริสต์) จำนวน 600 ชุด และศิลปินพื้นบ้าน จำนวน 100 ชุด ส่วนใหญ่เป็นผู้ประสบภัยในพื้นที่ หมู่ 4, 6 และ 7 ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา และหมู่ 1, 2 ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติในเบื้องต้น

กิจกรรมรวมพลัง 5 ศาสนาช่วยเหลือผู้ประสบภัย พระครูอนุกูลศาสนกิจ เจ้าคณะอำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้แทนองค์การทางศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์ นายประทีบ การมิตรี รองผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา  เข้าร่วม 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม กล่าวว่า  การจัดโครงการศาสนิกสัมพันธ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ แสดงถึงความห่วงใยของภาครัฐ องค์การทางศาสนาทุกศาสนา และองค์กรเครือข่ายภาคเอกชนที่มีต่อประชาชนชาวไทย เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและศาสนิกชนทุกศาสนา เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการสร้างความรัก ความสามัคคีในสังคมไทย โดยทุกองค์การศาสนาในประเทศไทยต้องร่วมกันส่งเสริมให้ศาสนิกชนนำหลักธรรมทางศาสนาไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ศาสนิกชนเป็นคนดี มีคุณธรรม ร่วมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนต่างศาสนา ทำให้ประเทศมีความสงบร่มเย็นอย่างยั่งยืน

“ นอกจากกิจกรรมศาสนิกสัมพันธ์ ภายหลังน้ำลด กรมศิลปากรจะสำรวจโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีมากกว่า 80 แห่ง โดยจัดลำดับความสำคัญ และความเสียหายของโบราณสถานนั้นๆ จากการที่กรมศิลปากรได้มีการเตรียมการป้องกันลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน ทำให้ปีนี้ไม่มีโบราณสถานใน จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับความเสียหายจนถึงขั้นพังทลายลงมา มีเพียงอิฐ ปูนที่ผุกร่อนจากการถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วธ.ได้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญเขตเกาะเมืองอยุธยาเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งจะตั้งงบประมาณ ดูแล บูรณะ และป้องกันน้ำท่วมระยะยาว เพราะเป็นพื้นที่หลักของแหล่งมรดกโลก สามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้กับประเทศสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ใหม่ของ วธ. ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ การดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จะช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวชม สร้างรายได้สู่ท้องถิ่นมากขึ้น “ รมว.วธ.กล่าว

ผู้แทนศาสนาอิสลาม  อิหม่ามนะวาท ไกรพันธุ์ รองประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า น้ำท่วมส่งผลกระทบวงกว้างในจ.อยุธยา แม้ชาวอยุธยาอยู่กับน้ำ แต่ปีนี้น้ำท่วมสูง  เรายินดีที่กรมการศาสนาร่วมกับ 5 ศาสนา เข้ามาช่วยเหลือดูแล แสดงถึงสังคมพหุวัฒนธรรม ชาวมุสลิมอยุธยามีกว่าหนึ่งแสนคน ส่วนมัสยิดมี 64 แห่ง มัสยิดที่ได้รับผลกระทบอุกทภัยจะอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย

“ สังคมพหุวัฒนธรรมอยุธยามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จังหวัดอยุธยาเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หลายศาสนาอยู่ร่วมกับโดยไม่มีข้ดขัอแย้งทางศาสนา เกื้อหนุนจุนเจือกัน ในการสานสัมพันธ์กับศาสนาอื่นๆ ยึดหลักสร้างสันติสุข สร้างความเข้าใจ ไม่มีเรื่องขัดแย้งทางศาสนา เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน  ผู้นำแต่ละศาสนามีความสัมพันธ์อันดีมาโดยตลอด พุทธ คริสต์ อิสลาม นั่งพูดคุยกันฉันมิตร คุ้นเคยกัน ทำด้วยใจไม่สร้างภาพ เป็นเสน่ห์ของอยุธยาเมืองมรดกโลก นอกจากวัดโบราณ ยังมีมัสยิดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น มัสยิดกุฎีช่อฟ้า มัสยิดภูเขาทอง มัสยิดตะเกี่ยโยคิน เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นของชุมชนมุสลิมที่มีประวัติศาสตร์ มีพิธีกรรม การแสดงอันเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงงานน้ำชาประจำปี  “ อิหม่ามนะวาทระบุ พร้อมเชิญทุกคนมาสัมผัสองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่อยุธยา สถานการณ์ตอนนี้กลับสู่ภาวะปกติพร้อมเปิดพื้นที่ต้อนรับผู้มาเยือน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี ชิล ชิม ช้อป ครบครัน

24 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เที่ยวมิวเซียม ยลวัง ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์242ปี

เปิดงาน”ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” อย่างยิ่งใหญ่และอลังการ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบ 242 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  งานนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน

บวงสรวงเทพยดางาน'ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์'

19 เม.ย.2567 - เวลา 08.19 น.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเทพยดางาน “ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” โดยมี พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย