ชาวออสเตรเลีย นำพระพุทธรูปไม้แกะสลัก มอบคืนให้ไทย ผ่านกต.และกรมศิลปากร

25 ม.ค.2566-ที่ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายณัฐพล ขันธหิรัญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)และคณะ ประกอบด้วยนางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศ นายธนวัต ศิริกุล รองอธิบดีกรมสารเทศ นายณัฐพล ณ สงขลา ผู้อำนวยการกองทูตวัฒนธรรม เป็นผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีมอบพระพุทธรูปไม้ที่มีผู้ประสงค์ส่งมอบคืนให้กับประเทศไทยผ่านกระทรวงการต่างประเทศให้แก่กรมศิลปากรเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้มอบหมายให้นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นผู้แทนกรมศิลปากรเข้าร่วมในพิธี

พระพุทธรูปไม้แกะสลักที่ได้รับมอบในครั้งนี้มีจำนวน 9 องค์ เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักขนาดเล็ก ซึ่งนาย Murray Upton ชาวออสเตรเลีย ประสงค์จะมอบคืนให้แก่ประเทศไทย โดยได้ประสานผ่านทางสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตามข้อมูลระบุว่า นาย Upton ได้รับพระพุทธรูปจากบิดาซึ่งเป็นนักสำรวจและวิศวกรของบริษัท Southern Siam ที่ได้สำรวจเส้นทางและก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2454 ในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง ทางกรมศิลปากรได้พิจารณาและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2565 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการรับพระพุทธรูปดังกล่าวกลับคืนสู่ประเทศไทย กรมศิลปากรจึงขอความร่วมมือกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เป็นผู้แทนรับมอบและจัดส่งผ่านถุงเมล์การทูตกลับคืนสู่ประเทศไทย

พระพุทธรูปไม้แกะสลักดังกล่าว ตามประวัติและรูปแบบศิลปกรรมเป็นพระพุทธรูปแกะสลักด้วยฝีมือช่างพื้นถิ่นคงมีแหล่งที่มาจากภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันเหลือจำนวนไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่มักเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนในพื้นที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชาเพื่อประดิษฐานในวัด หรือถ้ำศาสนสถาน จึงเป็นการดีที่ได้นำกลับมาเพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษารูปแบบศิลปกรรมของท้องถิ่นภาคใต้ โดยภายหลังจากที่รับมอบแล้วจะนำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานีต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ เทศกาลสงกรานต์

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์สงกรานต์ กรมศิลปากรขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2567  เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

ส่งมอบเรือพระราชพิธี 16 ลำ ให้ศก.ประดับตกแต่ง

5 เม.ย. 2567 - เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี ส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 16 ลำ ที่กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเรียบร้อยให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำไปประดับตกแต่งตัวเรือ โดยมี

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมเปิดปี 68

28 มี.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็

ขุดค้น'วัดจักรวรรดิ' พัฒนาย่านเมืองเก่า

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า ‘วัดจักรวรรดิ’ เป็นวัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์  มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดนางปลื้ม ต่อมาเรียกว่า วัดสามปลื้ม ขณะนี้มีความจำเป็นสำคัญเร่งด่วนในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีวัดจักรวรรดิฯ