สืบสานปีใหม่เมือง หนุน’สงกรานต์’ขึ้นมรดกโลก

เป็นภารกิจที่ชาวไทยต้องร่วมขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เมื่อองค์การยูเนสโก (UNESCO )   อนุมัติให้ ”ประเพณีสงกรานต์ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น Tentative list เพื่อพิจารณาในที่ประชุมในช่วงปลายปี 2566  ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ( Intangible Cultural Heritage – ICH) ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย   

ก่อนหน้านี้ ไทยเคยได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาแล้ว ได้แก่ โขน ขึ้นทะเบียนปี 2561 นวดไทย ขึ้นทะเบียนปี 2562 และรำโนราห์ของภาคใต้ ขึ้นทะเบียนปี 2564 

ทั้งนี้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นหมวดหมู่ในวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ยังมีอีกหลายรายการเตรียมพิจารณาลงทะเบียนกับ  UNESCO

ประเพณีสงกรานต์ เป็นขนบธรรมเนียมที่งดงามของไทยและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ได้รับพิจารณาให้เข้าสู่ Tentative list  สะท้อนว่าทั่วโลกให้ความสำคัญและเป็นที่ยอมรับระดับสากล โดยตระหนักถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวัฒนธรรมไทย ซึ่งสงกรานต์แต่ละภาคของไทยมีอัตลักษณ์ต่างกัน ซึ่งทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)  กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทจัดทำข้อมูลตามหลักเกณฑ์และนำเสนอ ตลอดจนทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเผยแพร่คุณค่าความสำคัญ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการดำรงรักษาประเพณีสงกรานต์

ล่าสุด นายโกวิท ผกามาศ อธิบดี สวธ. พร้อมด้วยนางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ  รองอธิบดี สวธ. ลงพื้นที่ภาคเหนือเชียงราย-พะเยา โดยพบปะกับพระเมธีวชิโรดม ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2555  ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เพื่อหารือแนวทางการจัดงานประเพณีสงกรานต์ของชาวเหนือหรือชาวล้านนา

นายโกวิท กล่าวว่า แนวทางการส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ ปี 2566 จะเน้นสร้างการรับรู้คุณค่าและสาระของประเพณีสงกรานต์ และแนวปฏิบัติทางสังคม  แต่ละภาคแตกต่างกัน ซึ่งในพื้นที่ล้านนาประเพณีปีใหม่เมืองจะมีวันยาวนานกว่าสงกรานต์ภาคอื่น ๆ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันสังขารล่อง เป็นวันส่งท้ายศักราชเก่า  วันเนาหรือวันเน่า  วันพญาวัน วันปากปี วันปากเดือน และวันปากวัน แต่ละวันจะมีพิธีและความเชื่อตามวิถีวัฒนธรรมล้านนา ตลอดจนแสดงถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำของประเทศไทย   ซึ่งผู้ว่าฯ 2 จังหวัดยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น

“ การท่องเที่ยวมีความสำคัญกับประเทศไทย นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสงกรานต์ล้านนาปีนี้ สิ่งที่จะได้กลับไปเป็นเนื้อหาสาระของประเพณีสงกรานต์ล้านนา นำมาสู่ความเข้าใจคุณค่าและร่วมรักษาประเพณีนี้ ไม่ใช่รู้จักแต่ Water Festival  Thailand อาจจะจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สองภาษาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ขอความร่วมมือหน่วยงานภาคีเครือข่าย  อาทิ  สภาวัฒนธรรมจังหวัด   สภาวัฒนธรรมอำเภอ  เผยแพร่คุณค่าสาระดั้งเดิมของประเพณีปีใหม่เมือง ทั้ง 15 อำเภอของ จ.เชียงราย และ 9 อำเภอของจ.พะเยา เตรียมนำเสนออัตลักษณ์สงกรานต์ของชุมชน หลังเสร็จสิ้นสงกรานต์แล้ว เทศกาลประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ต่างๆ ของจังหวัด จะสร้างการรับรู้คุณค่าเช่นกัน  อย่างพะเยา ตนยังหารือแนวทางการจัดงานเวียนเทียนกลางน้ำเนื่องในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชาและวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2566 ด้วย    “ นายโกวิท กล่าว

การเดินหน้าเผยแพร่คุณค่าที่แท้จริงของประเพณีสงกรานต์ไทยนั้น  ถือเป็นการเตรียมความพร้อมจดทะเบียนสงกรานต์ขึ้นมรดกโลก อธิบดี สวธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้องค์การยูเนสโกจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาสงกรานต์ของประเทศไทยในช่วงปลายปี ระหว่างวันที่  4-9 ธ.ค. นี้ ณ สาธารณรัฐบอตสวานา    “  หากยูเนสโกพิจารณาให้ความเห็นชอบขึ้นทะเบียนสงกรานต์มรดกทางวัฒนธรรมแล้ว จะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมประเพณีสงกรานต์ของไทยในปี 2567 เพิ่มขึ้น ปีนี้เราต้องเตรียมความพร้อมและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์  ป้องกันการทำลายคุณค่าวัฒนธรรมไทย ซึ่งตรงกับเป้าหมายยูเนสโกที่สนับสนุนให้รักษา สืบสานประเพณี ไม่ส่งเสริมด้านธุรกิจท่องเที่ยวอย่างเดียว  เชื่อมั่นทุกประเพณี เทศกาล การละเล่นพื้นบ้านของไทยมีคุณค่า สามารถต่อยอดความสำเร็จ ผ่านการสืบสาน พัฒนา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ในอนาคต “  อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวในท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนชิม 10 เมนูอาหารถิ่น หากินยาก

เหลือเวลาอีก 2 วันที่จะได้ชิม ช้อป เมนูอาหารถิ่นในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" งานนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดเมนูอาหารหาทานยาก ภายใต้โครงการ "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

สวธ.จัดมหกรรมลำกลอนกระหึ่ม‘มหาสงกรานต์ อีสานหนองคาย’ สืบสานประเพณี

17 เม.ย.2567 - หมอลำกลอนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของหนองคาย เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบสานควบคู่กับประเพณีสงกรานต์ไทยในงานเฉลิมฉลอง “มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย สงกรานต์ผ้าขาวม้า สมมาหลวงพ่อพระใส 2567” ที่วัดโพธิ์ชัย วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตลอดการจัดงานระหว่างวันที่

สวธ.จัดเต็มการแสดงพื้นบ้าน เพลงดังจากศิลปินแห่งชาติ ฉลองสงกรานต์วัดสุทัศน์ฯ

16 เม.ย.2567 - เทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 วัดสุทัศน์ฯ เป็นอีกพิกัดฉลองสงกรานต์ มาเรียนรู้คุณค่าประเพณีสงกรานต์ไทย และมาเข้าเสริมบุญเป็นสิริมงคลปีใหม่ไทย

ตระการตา วธ.เปิดประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย ‘เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ขอนเเก่น’

16 เม.ย.2567 - กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkarn in Thailand, traditional Thai New Year festival) "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์จังหวัดขอนเเก่น" ประจำปี 2567