ไทยพบสายพันธุ์ XBB.1.16 เพิ่มอีก 6 ราย และตัวลูกXBB.1.16.1 อีก 2 ราย

25 เม.ย. 2566 – นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อัพเดทสถานการณ์การเฝ้าระวัง สายพันธุ์โควิด 19 และสายพันธุ์ที่เฝ้าติดตามในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการ ติดตามการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดองค์การอนามัยโลกปรับชนิดสายพันธุ์ที่ติดตามใกล้ชิด ได้แก่ 1) สายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง หรือ Variants of Interest (VOI) 2 สายพันธุ์ ได้แก่ XBB.1.5 และ XBB.1.16 2) สายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง หรือ Variants under monitoring (VUM) 6 สายพันธุ์ ได้แก่ BA.2.75, CH.1.1, BQ.1, XBB, XBB.1.9.1 และ XBF

ส่วนสถานการณ์สายพันธุ์ XBB.1.5 และ XBB.1.16 ทั่วโลกอ้างอิงจากฐานข้อมูลกลาง GISAID ในรอบสัปดาห์ 27 มีนาคม – 2 เมษายน 2566 พบจำนวนเพิ่มขึ้นจากรอบสัปดาห์ 27 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2566 ดังนี้


XBB.1.5 รายงานจาก 96 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 50.8 เพิ่มจากร้อยละ 46.2


XBB.1.16 รายงานจาก 31 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 4.2 เพิ่มจากร้อยละ 0.5


ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์จากความได้เปรียบในการเพิ่มจำนวนและความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกัน XBB.1.16 อาจแพร่กระจายไปทั่วโลกและมีส่วนทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการเพิ่มความรุนแรงของโรค

สำหรับประเทศไทย พบเพิ่ม XBB.1.16 จำนวน 6 ราย XBB.1.16.1 จำนวน 1 ราย ทำให้ขณะนี้ประเทศไทยพบ XBB.1.16 และ XBB.1.16.1 รวมเป็น 34 ราย โดยสัดส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 คิดเป็น 9.8% ของสายพันธุ์ที่ตรวจในสัปดาห์นี้ ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.5 เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด คิดเป็น 28% ในขณะที่ BN.1 ซึ่งเคยเป็นสายพันธุ์หลักในไทยตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2565 มีสัดส่วนลดลง

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า กรณีผู้เสียชีวิตชาวเมียนมาที่มีผลการตรวจ ATK เป็นบวก ผลการตรวจสายพันธุ์ พบเป็นสายพันธุ์ XBB.1.16.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์ T547I เพิ่มเติมจากสายพันธุ์แม่ ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์แรกที่พบในกลุ่ม XBB.1.16 อาจช่วยให้หลบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์แม่ จนถึงขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ XBB.1.16.1 จำนวน 2 ราย ในไทย ในขณะเดียวกัน XBB.1.16 ก็ยังคงพัฒนาต่อไปตามธรรมชาติของไวรัสเพื่อให้มีความได้เปรียบในการเพิ่มจำนวนที่สูงขึ้น ปัจจุบันพบ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์ S494P เพิ่มเติมอีก ซึ่งพบมากขึ้นในอินเดีย และสหรัฐอเมริกา ในไม่ช้าก็อาจจะถูกกำหนดชื่อเป็นสายพันธุ์ย่อยอื่นอีก อย่างไรก็ตาม ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก สำหรับผู้ติดเชื้อชาวเมียนมารายนี้ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 จึงมีความเป็นไปได้ที่การติดเชื้อไม่ว่าสายพันธุ์ใดก็ตามจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าปกติ


“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างใกล้ชิด โดยได้ประสานขอให้โรงพยาบาลทั่วประเทศส่งตัวอย่างผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วประเทศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาตรวจสายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง หรือเสียชีวิต สำหรับประชาชนมาตรการป้องกันส่วนบุคคล การล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปร่วมกิจกรรม ที่มีคนจำนวนมากหรือไปในที่สาธารณะ และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยังมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 จะช่วยลดอาการหนักและเสียชีวิตได้ และขอให้ความมั่นใจว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างสม่ำเสมอ” นพ.ศุภกิจ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

กรมวิทย์ฯ ยันพบสายพันธุ์ HK.3 ในไทยจริง ไม่มีหลักฐานรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อน้อย

ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

'WHO-FDA' ชงใช้สายพันธุ์ XBB ต้นแบบผลิตวัคซีนโควิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA)