ทะเลร้อน‘ปะการัง’ เสี่ยงสูญพันธุ์

ปัจจุบันแนวปะการังเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่ถูกคุกคามมากที่สุด โดนตั้งแต่มลพิษ การทําประมงเกินขนาด ไปจนถึงการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)  สู่ชั้นบรรยากาศ จนทําให้มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ยิ่งโลกร้อนขึ้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงปะการังสูญพันธ์

จากข้อมูลสหประชาชาติ (UN)  ที่เผยแพร่แสดงให้เห็นว่า 0.5 องศาที่ต่างกัน ในอีก 77 ปีข้างหน้า  น้ำแข็งละลาย น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอีก 1 เมตร เมื่อเทียบกับ 1.5 องศา จะเกิดน้ำท่วมทั้งกรุงเทพฯ และที่ราบลุ่มชายฝั่งต่างๆ ปะการังตายเพราะฟอกขาว 99% แทนที่จะเป็น 70% สิ่งที่ชีวิตที่อาศัยแนวปะการังหายไป ส่วนฤดูร้อนไร้น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก ขั้วโลกเนือ  จะเกิดทุก 10 ปี แทนที่จะเป็นทุกๆ 100 ปี สื่อตัวเลข 0.5 องศามีความหมายต่อสมดุลทะเล

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวมักจะพบในช่วงเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน ช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยในช่วงนี้อุณหภูมิน้ำทะเลจะสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องกันหลายวัน และมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเหล่าปะการัง

อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลปะการังฟอกขาว 

รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ประธานอนุกรรมการจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย กล่าวว่า  จากรายงานข้อมูลของ NASA จากดาวเทียม Sentinel-6 Michael Freilich พบคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในทะเลและมหาสมุทรกําลังก่อตัวและเคลื่อนผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกจากตะวันออกไปตะวันตก คลื่นนี้มีความกว้างหลายร้อยกิโลเมตร ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณของเอลนีโญที่จะทําให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและอุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรร้อนกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาส 90% ที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้ และคาดว่า โอกาสเป็นเอลนีโญระดับปานกลางมีอยู่ 80% และระดับรุนแรงประมาณ 55% โดยจะทําให้อุณหภูมิมหาสมุทรสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส

จากบทเรียนในอดีต ปะการังฟอกขาวรุนแรงที่สุด ปี 2541 ผลจากอุณหภูมิน้ำทะเลร้อนขึ้น ความเสียหายเกิดในพื้นที่กว้าง พบปะการังฟอกขาว  80% และตาย 90%  ปี 2553 เป็นอีกครั้งที่ไทยเผชิญปะการังฟอกขาวรุนแรง ส่วนภาพรวมแนวปะการังไทยขณะนี้อยู่ในภาวะคงที่และฟื้นฟูขึ้นมาตามลำดับ มีบางพื้นที่ถูกรบกวนจากกิจกรรมท่องเที่ยว

ปะการังฟอกขาว สัญญาณเตือนปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

สถานการณ์ปะการังฟอกขาวในปัจจุบันของประเทศไทย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ กล่าวว่า ช่วงฤดูร้อนของทุกปี เป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลจะสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องกันหลายวัน และมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเหล่าปะการัง จากรายงานของกรมอุทยานแห่งชาติฯ  อ่าวไทย  อุณหภูมิน้ำทะเลอยู่ในช่วง 31-33 องศาเซลเซียส พบปะการังเริ่มมีสีซีดจาง ร้อยละ 5-10 ยกเว้นเกาะช้างพบปะการังฟอกขาวในบางพื้นที่ร้อยละ 20  ส่วนทะเลอันดามัน  อุณหภูมิอยู่ในช่วง 31-32 องศาเซลเซียส พบปะการังเริ่มมีสีซีดจาง ร้อยละ 5-20  เห็นชัดที่หมู่เกาะสุรินทร์

แล้วยังมีจากรายงานอื่นๆ จ.ภูเก็ต ตรัง สงขลา ชุมพร ประจวบฯ ระยอง และชลบุรี พบปะการังน้ำตื้นมีสีจางลงในบางพื้นที่ประมาณ 5-30% และพบปะการังฟอกขาวประมาณ 5-10% ในพื้นที่ จ.ระยอง

 “  จากสถิติเห็นแนวโน้มอุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกิน 31 องศาเซลเซียส จะเกิดต่อเนื่องยาวนานขึ้น  ภายใน 5-10 ปี ข้างหน้า อาจจะต่อเนื่องเป็นเดือน ซึ่งอุณหภูมิน้ำทะเลไม่ควรสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส เพราะมีผลต่อการดำรงชีวิตของปะการัง ยิ่งอุณหภูมิสูงผิดปกติต่อเนื่องหลายวัน จะทำให้ปะการังมีสีซีดจาง การเติบโตของปะการังผิดปกติ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้น้อยลง ไม่ตาย แต่ไม่โต ไม่ออกลูกออกหลาน เป็นผลกระทบทางอ้อม แต่บ้านเราดูแค่ฟอกขาวมั้ย ตายมั้ย ไม่ได้วิจัยเชิงลึกติดตามทางวิชาการถึงการสืบพันธุ์ของเหล่าปะการัง ประชากรลดลงมั้ย ยังไม่พูดถึงรายงานหญ้าทะเล ตายไป และไม่ออกดอก“ รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ระบุ

นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเน้นว่า ในเวทีโลกไม่ต้องการให้อุณหภูมิขึ้น 1.5 องศา   เพราะปะการังจะหายไปจากโลก วงเจรจา IPCC  ปะการังเสียงดัง เพราะกระทบรุนแรง ถือเป็นกรณีศึกษาใหญ่สู่การกลับมาทบทวนและกำหนดลดอุณหภูมิโลก หากภาคธุรกิจยังไม่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ชั้นบรรยากาศโลกมีปัญหาขึ้นแน่นอน ปะการังฟอกขาว เป็นสัญญาณเตือนดังๆ อีกทั้งปะการังติดอันดับต้นๆ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการประเมินเสี่ยงสูญพันธุ์ แต่ด้วยอยู่ใต้ทะเล ทำให้คนมองข้ามความสำคัญ

แปลงอนุบาลในแนวปะการังบนพื้นที่นำร่อง จ.ชลบุรี

ความเสียหายของปะการังที่สะสมบวกกับหลากหลายปัจจัย ทำให้ปะการังหลายพื้นที่เสื่อมโทรม แม้จะมีแนวโน้มฟื้นตัว และมีซากปะการังอยู่ แต่การฟื้นฟูตามธรรมชาติใช้เวลา  เป็นที่มาของโครงการฟื้นฟูปะการังของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล หนึ่งในนั้น คือ โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูปะการัง: เทคนิคการทําชิ้นส่วนปะการังขนาดเล็กการเชื่อมโคโลนีปะการัง และการรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรปะการัง โดย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน และคณะ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคําแหง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

จุดเด่นของโครงการนี้ รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ หัวหน้าคณะดำเนินงานโครงการฯ  บอกว่า เป็นการสืบพันธุ์ปะการังแบบไม่อาศัยเพศ ด้วยเทคนิคการทําชิ้นส่วนปะการังขนาดเล็ก (coral micro-fragmentation) และการเชื่อมโคโลนีปะการัง (coral colony fusion) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เริ่มพัฒนาในต่างประเทศกับปะการังบางชนิด แต่ยังไม่มีการทดลองในไทย

การเชื่อมโคโลนีชิ้นส่วนปะการังแต่ละชนิดเทคโนโลยีใหม่

ที่สำคัญมีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปะการังที่มีความทนต่อความเครียดสูง ทนต่ออุณหภูมิและความเข้มของแสงจากปะการังหลายชนิด และรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการังในแปลงฟื้นฟูแนวปะการังให้ใกล้เคียงกับปะการังตามธรรมชาติ แก้จุดอ่อนที่มีข้อโจมตีวิธีไม่อาศัยเพศ ทำให้พันธุกรรมไม่หลากหลาย  ถือเป็นเทคนิคและวิธีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพและความสําเร็จการฟื้นฟูแนวปะการัง นําไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ได้ง่าย  ทำได้ในพื้นที่ขนาดใหญ่และใช้งบประมาณต่ำ

แปลงอนุบาลในโรงเพาะเลี้ยงในโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อฟื้นฟูปะการัง

ส่วนผลการศึกษาอัตราการรอดตายของชิ้นส่วนปะการังขนาดเล็กที่มีความทนต่ออุณหภูมิ ความเค็ม ความเข้มแสง ความโปร่งใส ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนละลาย ปริมาณตะกอนแขวนลอย อัตราการตกตะกอน ใน โรงเพาะเลี้ยงและแปลงอนุบาลในแนวปะการังมีค่าสูงกว่าร้อยละ 80 สำหรับชิ้นส่วนปะการังขนาดเล็กในโรงเพาะเลี้ยงและแปลงอนุบาลในแนวปะการังสามารถเชื่อมกันเป็น โคโลนีขนาดใหญ่ได้ภายในระยะเวลา 9 เดือน

“ ตอนนี้มีการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับจัดทําแปลงอนุบาลในแนวปะการัง  3 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ เกาะค้างคาว เกาะขามน้อย  และเกาะล้าน จ.ชลบุรี   ผลสำเร็จจะมีความสําคัญและเป็นเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพโครงการฟื้นฟูปะการังที่ดําเนินการในไทย และเสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศแนวปะการังให้สามารถรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังคงสภาพบทบาททางนิเวศวิทยาและนิเวศบริการอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสีน้ําเงิน และโมเดลเศรษฐกิจ BCG หน่วยงานที่สนใจสามารถนําเทคโนโลยีใหม่เพื่อการฟื้นฟูปะการังไปใช้ในโครงการฟื้นฟูแนวปะการัง เพิ่มพื้นที่แนวปะการังสมบูรณ์ของไทยได้ “ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลมั่นใจเป็นแนวทางฟื้นฟูปะการังเสื่อมโทรม เพื่อเป็นแนวปะการังที่สมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตและใช้ประโยชน์ด้านต่างๆมากมาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ2566'

11 ส.ค.2566 - เวลา 9.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา

วิจัยผลตอบแทนตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล’อ่าวตราด-ตรัง-เกาะโลซิน’

พื้นที่คุ้มครองทางทะเลถือเป็นแนวทางเยียวยาความเสื่อมโทรมทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศ แต่หลายพื้นที่ยังขาดการศึกษาชัดเจนว่า การที่กำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลนั้นนอกจากอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศที่เปราะบางแล้ว ยังเป็นผลประโยชน์กับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและเศรษฐกิจ

จากคีรีวงสู่แผน’กังหันน้ำชุมชน’เทือกเขานครศรีธรรมราช

ชุมชนคีรีวง อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่อยู่รอบเทือกเขานครศรีธรรมราช นอกจากเป็นหมู่บ้านที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทยปลอดฝุ่นพิษ PM2.5 ยังเป็นหมู่บ้านพลังงานน้ำมีการส่งเสริมกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กกระจายในพื้นที่

วช.จับมือโซเชียลแล็บ ถอดบทเรียน 3 งานวิจัยพัฒนาผู้สูงวัย มีนวัตกรรมพร้อมใช้

วช.จับมือ โซเชียล แล็บ รับมือสังคมอายุยืน ถอดบทเรียน 3 สุดยอดงานวิจัย โชว์นวัตกรรมพร้อมใช้เพื่อขยายผลสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย

มวลน้ำไม่เท่ามหาอุทกภัย แต่ถึงเวลาทำแผนจัดการเฉพาะพื้นที่

ถึงแม้ว่าพายุ”โนรู” จะผ่านพ้นไป แต่ผลกระทบจากพายุ และปริมาณฝนที่ตกหนักมากในพื้นที่ 12 จังหวัด 43 อำเภอของสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังมากกว่า 50 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก