ในหลวงพระราชทานสิ่งของถวายพระ ร.ร.มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ในหลวงพระราชทานสิ่งของและอาหารแห้งถวายพระ เณร และมอบ จนท.ร.ร.มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระพันปีหลวง

11 ส.ค.2566 – เวลา 10.20 น. ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงเลื่อมใสและพระราชศรัทธาในพุทธศาสนา ทรงสนับสนุนให้พระสงฆ์และสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งทางโลกและทางธรรม เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เผยแผ่หลักธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนาในระดับชาติและระดับนานาชาติได้อย่างถูกต้อง และทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงสืบสาน “พระราชปณิธานธรรมราชินี” ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานสิ่งของและอาหารแห้งไปถวายพระภิกษุ  สามเณร และมอบแก่เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ณ โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2566  

การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ท่านผู้หญิงภรณี  มหานนท์ เป็นผู้เชิญสิ่งของและอาหารแห้งพระราชทานไปถวายพระภิกษุสามเณร จำนวน 171 รูป และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 29 คน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2566

ทั้งนี้  โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ตั้งอยู่ที่วัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แรกเริ่มใช้ชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย เป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปว่า “วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย” ในปี 2519 ได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ “วัดชูจิตธรรมาราม” เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุล “ชูจิตารมย์” ผู้ถวายที่ดินเพื่อการก่อตั้งครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 20มีนาคม 2520 ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า “มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย” และพระราชทานพระนามาภิไธย “ม.ว.ก.” ภายใต้เสมาธรรมจักร พร้อมทั้งพระราชทานสุภาษิตว่า “วชิรูปมจิตฺโต สิยา” (พึงเป็นผู้มีจิตแกร่งประดุจเพชร) ให้เป็นตราประจำโรงเรียน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ เป็นสถานที่พักอาศัย เล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร  เป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนวิชาการทางพระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศ  เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการชั้นสูงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  เป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม และเป็นสถานที่ศึกษาฝึกอบรมพระภิกษุผู้จะปฏิบัติศาสนกิจในระดับสูง เช่น งานด้าน การปกครอง การเผยแผ่  การสาธารณูปการ เป็นต้น ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สายสามัญ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 –  มัธยมศึกษาปีที่ 6 และหลักสูตรการศึกษาของพระสงฆ์ไทยแผนกนักธรรม และภาษาบาลี  มีนักเรียนพระภิกษุและสามเณร จำนวน 171 รูป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจวันฉัตรมงคล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีฉัตรมงคล พุทธศักราช 2567 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง

ในหลวง ทรงมีพระราชดำรัสแก่รมต.ใหม่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญและคุณธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรี

ในหลวง เสด็จฯพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีฉัตรมงคล พุทธศักราช 2567 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยเสด็จในการนี้ด้วย

ในหลวง พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกฯ นำ ครม.ชุดใหม่ เฝ้าฯ ถวายสัตย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรี

'ในหลวง' ทรงรับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน พร้อมเจ้าชายอับดุล มาติน พระราชโอรส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงรับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม พร้อมด้วย เจ้าชายอับดุล มาติน อิบนี ซุลตัน ฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์