มอบรางวัล DEmark  สินค้าออกแบบดีไซน์ไทย

รางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม หรือ รางวัล DEmark ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของนักออกแบบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของนักออกแบบไทย ที่ได้โชว์พลังความคิดสร้างสรรค์ออกแบบผลงานออกมาได้อย่างน่าสนใจและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นำภูมิปัญญาไทยและวัสดุในประเทศมาใช้ สอดแทรกอัตลักษณ์ความเป็นไทยในงานออกแบบ 

ล่าสุด กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ประจำปี 2566 Design Excellence Award 2023 ภายใต้แนวคิด “Brave The Wave of Creation คลื่นพลังสร้างสรรค์งานดีไซน์ไทย” ปีนี้รางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม มี 7 กลุ่มสาขารางวัล ได้แก่ 1.กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์  13 ผลงาน 2.กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น 11 ผลงาน 3.กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและดิจิทัล  9 ผลงาน 4.กลุ่มผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ 13 ผลงาน​​​ ​5.กลุ่มผลงานกราฟิกดีไซน์ 22 ผลงาน​​​​ 6.กลุ่มผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า พื้นที่ทํางานร่วมกัน อาคารชุด  6 ผลงาน 7.กลุ่มผลงานออกแบบระบบบริการและแพลตฟอร์มดิจิทัล จ4 ผลงาน รวมทั้ง78 ผลงาน จากสินค้าทั้งหมดที่นักออกแบบส่งเข้าร่วมประกวด 600 รายการ 

ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  กล่าวว่า เพื่อผลักดันการค้าระหว่างประเทศเชิงรุก และเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการไทย รางวัล DEmark เปรียบเสมือนเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการที่โดดเด่นด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมั่นให้สินค้าของไทย สร้างจุดแข็งให้ตอบสนองความต้องการของตลาดโลกในเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ 

“ ตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา มีสินค้าจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล DEmark แล้ว 1,159 รายการ ได้รับรางวัล Good Design Award (G-mark) จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว 531 รายการ ในปีนี้ผลงานทั้ง 78 รายการที่ได้รับรางวัลจะได้ร่วมการประกวด G-mark  เราเห็นความตื่นตัวของนักออกแบบในกลุ่มกราฟิกดีไซน์มากขึ้นและได้รับรางวัลมากถึง 22 รายการ ทั้งนี้ จากการสำรวจช่วง 4 ปี ก่อนสถานการณ์โควิด19 บริษัทที่ได้รับรางวัล DEmark ประมาณ 50 แห่ง พบว่า ยอดการส่งออกสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 15% และกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ ด้วยการดีไซน์และความสร้างสรรค์ของนักออกแบบไทย สะท้อนถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในต่างประเทศ” ภูสิต กล่าว 

ประอรนุช ประนุช  ผอ.สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กล่าวว่า การออกแบบสินค้าในปีนี้เน้นตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก ให้ความสำคัญกับการออกแบบสินค้าที่มีความสวยงาม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประโยชน์ใช้สอย มีความเป็นนวัตกรรม และคำนึงถึงการออกแบบยั่งยืนตามแนวทาง BCG MODEL ที่ใช้เทคโนโลยีเศรษฐกิจชีวภาพการจัดการทรัพยากรวัตถุดิบหมุนเวียน มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น (JDP) สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากรางวัล G-mark ญี่ปุ่น ร่วมพิจารณาตัดสิน DEmark และสนับสนุนผลงานที่ได้รางวัล DEmark เข้าร่วมประกวดรางวัล G-mark ญี่ปุ่น มาต่อเนื่อง  

สำหรับผู้คว้ารางวัล DEmark  ประอรนุช กล่าว จะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น สามารถใช้โลโก้ DEmark เป็นเครื่องมือทางการตลาดส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการฟรี ได้ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศผ่านการโฆษณาในสื่อระดับโลก รวมทั้งนำสินค้าไปจัดแสดงนิทรรศการ  โดยผู้ที่ได้รับรางวัล DEmark 2023 จะได้เข้ารอบ 2 ของการประกวด G-Mark ญี่ปุ่นทันที และผู้ที่ได้รับรางวัล G-mark จะได้ร่วมจัดแสดงในงาน Good Design Exhibition 2023 ณ กรุงโตเกียว ปีนี้รางวัล G-mark จะประกาศผลต้นเดือนต.ค. 2566 ทั้งยังได้ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ในเวทีสำคัญด้านการออกแบบระดับโลก เช่น งาน Milan Design Week อิตาลี เป็นต้น

ประพล ชนะเสนีย์ ผอ.ด้านธุรกิจ บริษัท ดีเวอร์ฮูด เอชที จำกัด ผู้ออกแบบแอปพลิเคชั่น Get A คว้ารางวัล กล่าวว่า Get A เป็นแอปสำหรับการสอบออนไลน์ ออกแบบระบบการสอบทั้ง on-site และทางไกล เพื่อให้เกิดการวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปิดใช้มา 5 ปี เราออกแบบขั้นตอนการทำงานของแอปฯ ให้มีความเข้าใจง่าย เลือกใช้สีที่โดดเด่น น่าจดจำ เลือกใช้คำประกอบ คำอธิบายที่เตรงไปตรงมา  ที่สำคัญมีระบบป้องกันการทุจริต โดยผู้สอบเข้าสู่ระบบจะไม่สามารถเข้าสู่หน้าเว็บอื่นได้ ขณะนี้มีผู้ใช้งานกว่า 1 แสนคน  GetA รองรับการใช้งานทุกระบบและอุปกรณ์ต่างๆ  ทั้งไอแพด คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ระบบสอบนี้แถบเอเชียยังพบน้อย  เร็วๆนี้ จะทดสอบใช้ระบบ GetA ในฮ่องกง คาดหวังหากเข้าร่วมประกวด G-mark จะถูกใจผู้ใช้งาน และเล็งเห็นถึงประโยชน์การใช้งานในระบบการศึกษา

ด้าน วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ นักออกแบบตัวอักษร คว้า 3 รางวัลการออกแบบฟอนต์ กล่าวว่า ฟอนต์ผัดไทยเป็นบุคลิกของตัวอักษรที่พัฒนามาจากลายเส้นของเส้นผัดไทย อ่านง่าย อ่านชัด ประกอบด้วย 3 น้ำหนัก ได้แก่ Regular SemiBold และ Bold เหมาะสำหรับใช้ในงานพาดหัว เป็นตัวประกาศในงานโปสเตอร์ เมนูอาหาร เป็นต้น ส่วนฟอนต์ 4 ขมัง ออกแบบให้ตอบโจทย์กับธีมภาพยนต์ 4 ขมัง เรื่องเกี่ยวกับเวทมนต์โบราณของภาคอีสาน แรงบันดาลใจจากอักษรไทน้อย ตัวอักษรโบราณอีสานที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว ทำให้รูปทรงที่มีเอกลักษณ์และมีมนต์ขลัง และฟอนต์พรินซิเพิ้ล เป็นฟอนต์อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แชมพูและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกาย ตัวอักษรจะทันสมัย ไม่มีฐานและอักษรไทยไม่มีหัว นำเสนอความเรียบง่ายที่มีความพิเศษ มีเอกลักษณ์ สื่อสารบุคลิกตรงไปตรงมาแต่ดูนุ่มนวล เป็นหญิงสาวที่มีความมั่นใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัฐมนตรีถุงขนม' ๒

เมื่อวาน ........ นำคำสั่งคดี "นายพิชิต ชื่นบาน" ติดคุก ๖ เดือน กรณี "ถุงขนม" ตั้งเป็นโจทย์ให้ศึกษากันไปแล้ว

'ภูมิธรรม' ถกรองผู้ว่าฯเหอหนาน ชวนนักธุรกิจลงทุนไทย พร้อมดันเพิ่มเที่ยวบิน เจิ้งโจว-กรุงเทพฯ

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังหารือกับสมาชิกคณะกรรมการประจำมณฑลเหอหนานแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน

'รัฐมนตรีถุงขนม' ๑

อีกปัญหาหนึ่งของรัฐบาล "เศรษฐา ๒" คือการแต่งตั้ง "นายพิชิต ชื่นบาน" ที่เรียกกันว่า "ทนายถุงขนม" เป็นรัฐมนตรี!

'ผู้กำลังจะมากับดาว'

"ดาวพฤหัสบดี" เทพเจ้าแห่งคุณธรรม "ดาวปราบมาร" ย้ายบ้านจาก "เมษ" ไปอยู่ "พฤษภ" แล้ว เมื่อวาน (๓๐ เม.ย.๖๗) พฤษภ เป็นภพ "กดุมภะ" ของดวงเมือง

"จะแถกไปได้ซักกี่เดือน?"

เรา "เห็นอะไร"..... จากการลาออกจากตำแหน่ง "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ" ของท่าน "ปานปรีย์ พหิทธานุกร"?

ความหวังคนกรุง ยกระดับ'รถเมล์ไทย'

ปัญหารถโดยสารประจำทางหรือ”รถเมล์” ยังเป็นที่พูดถึงมาทุกยุคสมัย โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถเมล์ ผู้โดยสารมีทุกกลุ่มทุกวัย ไม่ว่าจะคนทำงาน นักเรียน นักศึกษา คนต่างจังหวัดมาทำงานในเมือง คนแก่ คนพิการ ที่ใช้บริการรถเมล์ไทยสู่จุดหมายทั่วมุมเมือง